1.ที่มาและความสำคัญ
วิชาเคมีนั้น ส่วนใหญ่เป็นปรากฏการณ์ที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น โครงสร้างอะตอม พันธะเคมี กลไกการเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นต้น จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ในวิชาเคมีที่คลาคเคลื่อนส่วนใหญ่คือเรื่อง พันธะเคมีเนื่องจากพันธะเคมี เป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและการเกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ไอออน หรืออะตอมของสารเป็นปรากฏการณ์ระดับจุลภาค ไม่สามารถสังเกดได้ด้วยตาเปล่า มีความเป็นนามธรรมสูง ทำความเข้าใจได้ยาก ส่งผลให้เกิดแนวความคิดที่คลาดเคลื่อนขึ้นได้
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นผู้สอนจึงได้จัดทำชุดกิจกรรมฝึกทักษะตามกระบวนการ GPAS 5 Steps เนื่องจากเป็นโมเดลการคิดขั้นสูงในเรียนรู้แบบ Active Learning ที่มีการเน้นกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning พร้อมทั้งเป็นเจ้าของการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) แสวงหาข้อมูลรอบด้านเพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ 2) คิด วิเคราะห์สรุปความรู้เพื่อวางแผนเตรียมปฏิบัติ3) ลงมือทำจริง แก้ปัญหาจริง เพื่อพัฒนาหาแนวทางที่ดีที่สุด 4) สื่อสารและนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลาย 5) สร้าง
คุณค่าให้ผลงาน ต่อยอดประโยชน์สู่สังคม ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิรูปการศึกษาที่มีเป้าหมายให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะความสามารถที่คงทนผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้นักเรียนเกิดความแม่นยำและมีความคงทนในการจำเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน ในระดับสูงขึ้นไป และให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 และสามารถนำความรู้ไปใช้สร้างนวัตกรรม ใหม่ ๆ ได้ในอนาคตต่อไป
2.วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
2.1 เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชื่อมโยงการคิดขั้นสูง โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ Active
Learning ตามรูปแบบ GPAS 5 Steps เรื่อง พันธะเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการ
เรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS 5 Steps เรื่อง พันธะเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2.3 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง พันธะเคมี
2.4 เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อกระบวนการจัดการ
เรียนรู้ Active Learning ตามรูปแบบ GPAS 5 Steps เรื่อง พันธะเคมี
3. กระบวนการผลิตผลงาน
3.1 ขั้นวางแผนปฏิบัติงาน(Plan)
3.1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระกลุ่มการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอบข่ายเนื้อวิชา จุดมุ่งหมายของวิชาเคมีพื้นฐาน รวมทั้งจุดประสงค์
การเรียนรู้ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3.1.2 การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน
3.1.3 ศึกษาปัญหา ทฤษฎี และวิเคราะห์หลักการเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้และ
นวัตกรรม และรูปแบบการสอน GPAS 5 Steps
3.1.4 ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้
กระบวนการ GPAS 5 Steps เรื่อง พันธะเคมี
3.2 ขั้นการทำงานตามแผน (Do)
3.2.1 นำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวน
การ GPAS 5 Steps เรื่อง พันธะเคมีรหัสวิชา ว30111 วิชาเคมีพื้นฐาน ไปจัดการเรียนรู้กับกลุ่ม
เป้าหมาย ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่
1) ขั้นรวบรวมข้อมูล (Gathering)
- ให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
ทำแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน วิชาเคมีพื้นฐาน (ว30111) เรื่อง พันธะเคมีซึ่งเป็น
ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน
- นักเรียนดูสื่อพาวเวอร์พ้อยและคลิปวีดีโอจาก YouTube อธิบายเรื่องพันธะเคมี
- ครูถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงยึดเหนี่ยวว่า จากความรู้เรื่อง ธาตุหมู่ 8A จัดเป็นธาตุที่
เฉื่อยต่อการเกิดปฏิกิริยากับธาตุอื่นๆ เพราะอะไร ให้นักเรียนสืบค้นจาก Google (เพราะแก๊สเฉื่อยมีการ
จัดเรียงอิเล็กตรอนในวงนอกสุดเป็น 8 (ยกเว้นHe เป็น 2) ทำให้โครงสร้างอะตอมของแก๊สเฉื่อยมีความ
เสถียร ดังนั้น การสร้างพันธะของอะตอมของธาตุอื่น ๆ จึงพยายามที่จะทำให้ตัวเองเสถียรเหมือนกับแก๊ส
เฉื่อย โดยอาจจะมีให้อิเล็กตรอนออกไปหรือรับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้ามา หรือนำเอาอิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกับ
อะตอมอื่น เพื่อทำให้อิเล็กตรอนวงนอกสุดครบ 8 ซึ่งเป็นไปตามกฎที่ใช้สร้างพันธะเคมี เรียกกฎนี้ว่า กฎ
ออกเตต (Octet rule)
2) ขั้นคิดวิเคราะห์และสรุปความรู้ (Processing)
- ครูตั้งคำถาม เรื่องพันธะเคมี โดยให้นักเรียนศึกษาข้อมูลของพันธะเคมีแล้วลองตั้งชื่อว่า
ถ้าพันธะเคมี คือ พันธะโคเวเลนต์ พันธะไอออนิก และพันธะโลหะ มีอีกชื่อหนึ่ง นักเรียนจะตั้งชื่อว่าอะไร
พร้อมทั้งบอกเหตุผล เพื่อให้นักเรียนจัดกระทำข้อมูลโดยการวิเคราะห์ อภิปรายร่วมกัน นักเรียนจะ
ทำการศึกษาข้อมูลให้เข้าใจ เพื่อนำไปสู่การตั้งชื่อให้เข้ากับพันธะนั้น
- ครูทิ้งช่วงให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้คิด และทำใบงานร่วมกัน
3) ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the
Knowledge, A1)
- ครูให้นักเรียนในกลุ่มช่วยกันคิดว่าสารประกอบต่อไปนี้ เป็นพันธะอะไร NaCl, F2,
Cu, CaO, NO2
- ครูให้นักเรียนเล่นการ์ดเกมพันธะเคมี เพื่อให้นักเรียนอาศัยการสังเกตธาตุชนิดต่างๆบน
การ์ดที่เปิดมาเพื่อนำมาสร้างพันธะ โดยใช้ความเร็วและความเข้าใจในการแข่งขัน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจใน
เรื่องการสร้างพันธะเคมีมากยิ่งขึ้น
4) ขั้นสื่อสารและนําเสนอ (Applying the Communication Skill, A2)
- ครูให้นักเรียนสร้างสถานการณ์จำลองโดยการแสดงละครเป็นพันธะเคมีทั้ง 3 พันธะ คือ
พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์ และพันธะโลหะ โดยครูให้อิสระนักเรียนในการนำเสนอผลงาน และให้
นักเรียนได้บันทึกเป็นคลิปวีดีโอเพื่อนำไปเผยแพร่
5) ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่าบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Self-Regulating)
- นักเรียนนำคลิปวีดีโอเรื่องละครพันธะเคมีไปเผยแพร่ลงในเฟสบุ๊คแบบสาธารณะ
เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคคลในโรงเรียนสามารถรับชมและร่วมกันแสดงความคิดเห็นได้
3.3 ขั้นการตรวจสอบและประเมินผล (Check)
3.3.1 ให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ทำ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน วิชาเคมีพื้นฐาน (ว30111) เรื่อง พันธะเคมีซึ่งเป็น
ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน
3.3.2 ให้นักเรียนประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการ
จัดการเรียนรู้ Active Learning ตามรูปแบบ GPAS 5 Steps เรื่อง พันธะเคมี
3.3.3 นิเทศการจัดการเรียนการสอน โดยใช้จัดการเรียนรู้ Active Learning ตาม
รูปแบบ GPAS 5 Steps เรื่อง พันธะเคมี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งจะเป็นการนิเทศแบบ
กัลยาณมิตร โดย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอนรายวิชาเคมี เช่นเดียวกันทำการเยี่ยมชมการ
จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนในชั่วโมงสอน และให้คำแนะนำในการจัดการเรียนการสอน
3.3.4 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนน
นักเรียน และทดสอบค่าที (Paired samples t-test) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
3.3.5 ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน โดยใช้จัดการเรียนรู้ Active Learning ตาม
รูปแบบ GPAS 5 Steps เรื่อง พันธะเคมี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีการประเมินในประเด็น
ต่อไปนี้
- ครูผู้สอนประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิชาเคมีพื้นฐาน (ว30111) เรื่อง พันธะเคมี
- ครูผู้สอนประเมินระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการ
จัดการเรียนการสอน โดยใช้จัดการเรียนรู้ Active Learning ตาม รูปแบบ GPAS 5 Steps เรื่อง พันธะ
เคมี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
- ผู้นิเทศประเมินผลการนิเทศจากการเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน
3.4 ขั้นการปรับปรุงพัฒนา (Action)
3.4.1 รวบรวมข้อมูล การการจัดการเรียนการสอน โดยใช้จัดการเรียนรู้ Active
Learning ตามรูปแบบ GPAS 5 Steps เรื่อง พันธะเคมี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อแยกประเด็น
ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
3.4.2 สรุปผลการนิเทศการจัดการเรียนการสอน โดยวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน
กิจกรรม PLC ของกลุ่มสารการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สมาชิกที่เข้าร่วมประชุม PLC นั้นได้
รับทราบแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังกล่าว เพื่อเป็นวิทยาทานให้กับเพื่อนครูที่เข้าร่วม
ประชุม และนำประเด็นในการพัฒนาการเรียนรู้มาแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาแนวทางการพัฒนาตาม
ประเด็น
3.4.3 ปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และอื่นๆตาม
คำแนะนำของผู้นิเทศการจัดการเรียนการสอน
3.4.4 สรุปผลการดำเนินงาน แล้วจัดทำเป็นสารสนเทศเพื่อใช้แก้ปัญหาในรอบปีถัดไป
4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์
-นักเรียนมีค่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเฉลี่ย 7.78 จากคะแนนเต็ม
20 คะแนน และมีค่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ย 15.19 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน และ
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียน สูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
-นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียน 15.07 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20
คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์15.19 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ GPASS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 มี
ประสิทธิภาพเท่ากับ 75.36/75.95 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์75/75
-ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
Active Learning ตามรูปแบบ GPAS 5 Steps เรื่อง พันธะเคมี เฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.54 ซึ่งอยู่ใน
ระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจใน 3 อันดับแรก คือ ครูให้
นักเรียนฝึกกระบวนการคิด คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ ครูใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนที่เหมาะสม
และหลากหลาย ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้สนุกและน่าสนใจ
5. บทเรียนที่ได้รับ
5.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้Active Learning ตามรูปแบบ GPAS 5 Steps เรื่อง พันธะเคมี
เป็นกระบวนการสร้างความรู้ที่มีประสิทธิภาพ และเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
และเป็นการบริหารจัดการความรู้แท้ (Knowledge Management) อีกด้วย นอกจากนี้กระบวนการสร้าง
ความรู้แบบ GPAS 5 Steps ยังมีแนวทางที่สอดคล้องกับ การพัฒนาและการเรียนรู้ของสมอง (Brainbased Learning) ของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของแต่ละคน จึงทำให้
กระบวนการนี้ถือเป็นเครื่องมือสำคัญ สำหรับการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ที่น่าจะช่วยยกระดับการศึกษา
ไทย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย ให้มีอุปนิสัยที่ดีในการเรียนรู้ตามแนวทางของโลกในยุค
สมัยใหม่ได้
5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้Active Learning ตามรูปแบบ GPAS
5 Steps เรื่อง พันธะเคมี หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนมีทักษะการเรียนรู้สูงขึ้นกว่าก่อน
เรียน เนื่องจากในกิจกรรมการเรียนการสอนจะมีการใช้เทคนิคการตั้งคำถามให้นักเรียนคิดตามอย่างเป็น
ระบบ มีหลักการคิดวิเคราะห์ในสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นจากประสบการณ์ใกล้ตัวแล้วสามารถนำมาคิดพิจารณา
ประมวลผล และเชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากการเรียนในเนื้อหาและการลงมือปฏิบัติจนสามารถนำความรู้มา
ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้
5.3 ครูผู้สอนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหา จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้Active Learning ตามรูปแบบ GPAS 5
Steps เรื่อง พันธะเคม