การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาคน พัฒนาประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะในยุค โลกาภิวัฒน์ที่จะต้องอาศัยกำลังคนที่มีคุณภาพในการพัฒนาการศึกษา การพัฒนาคนให้มีคุณภาพและมีความสามารถ ที่จะปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะมาถึง หากการจัดการศึกษาให้แก่คนในชาติเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมความต้องการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของประเทศ ก็จะสามารถสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่สังคมไทยในการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนได้ โดยยึดระบบการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552) โดยในมาตรา 6 ว่าด้วยการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งเป็นระบบที่ให้บุคคลได้ศึกษาและเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนในด้านต่าง ๆ ของประเทศ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 โดยถือเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงาน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วม
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาองค์ประกอบและกระบวนการทางการศึกษา กระบวนการที่สำคัญประกอบด้วย กระบวนการเรียนการสอน กระบวนการบริหาร และกระบวนการนิเทศ การศึกษา กระบวนการทั้งสามนี้ต้องปฏิบัติงานอย่างประสานสัมพันธ์และสนับสนุนกันและกันเป็นอย่างดีจึงจะช่วยให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามจุดหมายของหลักสูตร ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใด บกพร่อง ไม่เชื่อมโยงกันก็จะทำให้ส่วนอื่นๆได้รับความกระทบกระเทือนไปด้วย ส่งผลให้การศึกษาตกต่ำผิดเป้าหมายที่วางไว้ แม้ว่ากระบวนการสำคัญที่เป็นผลต่อคุณภาพการศึกษาโดยตรง คือ กระบวนการเรียนการสอน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาสภาพที่ไม่พึงประสงค์ในปัจจุบันให้เป็นสภาพที่ประสงค์ในอนาคต คือ เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตร แต่การเรียนการสอนของนักเรียนและครูก็ยังจำเป็นต้องอาศัยการบริหารมาช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่ครูในด้านต่าง ๆ รวมทั้งกระบวนการนิเทศ การศึกษาที่สนับสนุนการเรียนการสอนของครู อีกทางหนึ่งด้วย จะเห็นได้ว่าในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพนั้นการนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องดำเนินงานให้ประสาน สัมพันธ์กับกระบวนการอื่น ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ทำให้ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนถาวร ดังคำกล่าวที่ว่า การจัดการที่ดีเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การ การนิเทศที่ดีนำไปสู่การจัดการที่ดี (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2562)
กระบวนการนิเทศการจัดการศึกษา ถือเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนา การจัดการเรียนการสอนของครู ทั้งนี้เพื่อให้ครูได้รับผลการสะท้อนกลับจากการปฏิบัติหน้าที่จัด การเรียนการสอนเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งการนิเทศการศึกษาเป็นความร่วมมือและประสานงานของบุคลากรทางการศึกษาใน การพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (ชารี มณีศรี. 2552 : 16) ดังนั้นในการบริหารจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา จึงจำเป็นต้องมีระบบการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อให้เกิดการส่งเสริมสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือครูในโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก คือการสอน หรือการเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียนทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นไปตามวัยและเต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของบุคลากรในโรงเรียน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2551 : 51) พัฒนาการทางด้านการศึกษาทำให้เกิดรูปแบบการนิเทศการศึกษาที่หลากหลาย เช่น การนิเทศการสอนแบบคู่สัญญา การนิเทศแบบร่วมพัฒนา และการนิเทศสอนงาน (Coaching) เป็นต้น
จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนในรายวิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ ต่ำกว่า คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกวิชา
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น งานนิเทศภายในสถานศึกษามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอน การนิเทศภายในเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดทับกฤชเหนือดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้ปรับปรุง คุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลังสูตรที่กำหนด ข้าพเจ้าในฐานะผู้อำนวยการสถานศึกษาตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 (3R 8C) เน้นการอ่าน เขียน คิดคำนวณ การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ปัญหาได้รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ จึงได้พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษา รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ โดยใช้รูปแบบ 6 steps for high quality Model
วัตถุประสงค์ของผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
๑.เพื่อให้โรงเรียนมีรูปแบบและกระบวนการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ภายในโรงเรียนอย่างเป็นระบบมีความเข้มแข็ง และเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
๒.เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดทับกฤชเหนือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ ให้สูงขึ้น
๓.เพื่อส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายของผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1.ครู ร้อยละ 100 ได้รับการนิเทศติดตาม และประเมินผล ภายในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ
2.นักเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 3 หรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับเขตและหรือระดับจังหวัดและหรือระดับประเทศ
3.นักเรียน ร้อยละ 80 มีผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรและค่านิยม 12 ประการ อยู่ในระดับคุณภาพดีขึ้นไป
การออกแบบรูปแบบการนิเทศ
โรงเรียนวัดทับกฤชเหนือ ได้พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของสถานศึกษา รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ โดยใช้รูปแบบ 6 steps for high quality Model ขึ้น โดยการศึกษาข้อมูลหลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา บูรณาการกระบวนการนิเทศการสอนแบบร่วมพัฒนา การนิเทศ : เพื่อนคู่คิด (Buddy Supervision) ตอบสนองตามนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 เรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของครูผู้สอน บริบทและสภาพปัญหาอันจะนำไปสู่การยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน คุณภาพ ด้านผู้เรียนอันจะทำให้เกิดสัมฤทธิ์ผลด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอย่างแท้จริง
กระบวนการของการนิเทศภายในโรงเรียนวัดทับกฤชเหนือ
 ขั้นที่ 1 Research problem & Demand (จุดประกายความคิด) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ
 ขั้นที่ 2 Planning and Defining (กำหนดภารกิจ) วางแผนร่วมกันและกำหนดทางเลือก
 ขั้นที่ 3 Create instruction media (พัฒนาเทคนิควิธีการ) สร้างสรรค์ผลิตสื่อและเครื่องมือ
 ขั้นที่ 4 Supervision of teacher (ปฏิบัติงานนิเทศภายใน) ปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา
 ขั้นที่ 5 Evaluation (ร่วมใจสร้างข้อตกลง) ประเมินผลและสร้างข้อตกลงร่วมกัน
 ขั้นที่ 6 Respect ( ชื่นชมยกย่องเชิดชู) ยกย่องเชิดชูเกียรติ ครูผู้สอน
ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
การนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ โดยใช้รูปแบบ 6 steps for high quality Model มีผลการดำเนินงานด้านครู ผู้เรียน และสถานศึกษา ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนี้
1.ครู ร้อยละ 100 ได้รับการนิเทศติดตาม และประเมินผล ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ภาคเรียนละ 2 ครั้ง และมีผลการนิเทศในระดับ ดีเลิศ ขึ้นไป
2.นักเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET สูงกว่าระดับประเทศ ใน 3 รายวิชา ได้แก่ วิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ ส่วนวิชาภาษาอังกฤษ ผลการทดสอบคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย ในปีการศึกษา 2565 ซึ่งถือว่ามีการพัฒนาที่สูงขึ้น