ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในระดับปฐมวัย โดยใช้รูปแบบ BANGMUN MODEL

1. ความสำคัญของผลงาน/วิธีปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ (ความเป็นมาและสภาพปัญหา /

แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ในหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศมาตรา ๒๕๘ ให้มีกลไกและระบบการผลิตคัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณ ของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครูปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัดและจัดการเรียนรู้การสอนที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ โดยมุ่งเน้นผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้และมีใจใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา มีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนบทบาทครู การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาและการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๐–๒๕๗๙ ในยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาศักยภาพคน ทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีเป้าหมายให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทยทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะความรู้ความสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษา มาตรฐานวิชาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ สิ่งหนึ่งที่เป็นคุณภาพของผู้เรียน ที่เชื่อมั่นว่าคุณภาพผู้เรียนจะเกิดได้และบรรลุหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัด (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ นั้น จะต้องมีกระบวนการสู่ความสำเร็จ มีองค์ประกอบและปัจจัยคือ คุณภาพของผู้เรียน ที่โรงเรียนต้องประกันคุณภาพต่อผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโรงเรียนต้องประกันคุณภาพต่อผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่า ผู้เรียนจะต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามหลักสูตร มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจะต้องมีกระบวนการสู่ความสำเร็จในการพัฒนา ๓ กระบวนการ คือ กระบวนการบริหาร กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศการศึกษา ซึ่งกระบวนการนิเทศการศึกษา เป็นภารกิจจำเป็นต่อการจัดการศึกษาที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้าน การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน บุคลากรที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานจัดการศึกษา จำเป็นต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนิเทศการศึกษา เป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือ ชี้แนะและพัฒนางานให้ประสบผลสำเร็จ ทันต่อสภาพ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อีกทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเหลือสนับสนุนให้กระบวนการบริหาร และกระบวนการเรียนการสอนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของประเทศ ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษา ที่ต้องพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อเข้าสู่การปฏิรูปการศึกษาและการจัดการศึกษาในยุคประเทศไทย ๔.๐

จากสภาพปัจจุบัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารที่ไร้พรมแดน

การเข้าถึง แหล่งข้อมูลสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาทำให้การจัดการศึกษาได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้น แต่ถึงแม้ว่าการจัดการศึกษาไทยได้รับการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขมาตลอด แต่ยังมีปัญหาอุปสรรคในการจัด การศึกษา และการบริหารการศึกษาหลายประการ กล่าวคือ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542) 1) คุณภาพการจัดการศึกษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ ที่พอจะสู้ประเทศอื่นในเวทีโลกได้ 2) การบริหารการศึกษาและการจัดการศึกษายังรวมศูนย์อำนาจไว้ส่วนกลาง กอปรทั้ง ขาดเอกภาพ ทั้งด้านนโยบายและมาตรฐาน 3) การขาดประสิทธิภาพของการประกันคุณภาพการศึกษา 4) การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน 5) การขาดการพัฒนานโยบายอย่างต่อเนื่อง 6) การขาดความเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน จากปัญหาดังกล่าวซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของ ผู้บริหารการศึกษานั่นก็คือ การนิเทศ โดยเฉพาะการนิเทศการสอนของครูให้มีการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพราะการนิเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง ในบางครั้งแม้ครูหรืออาจารย์ที่จะได้ใช้ความสามารถในการจัดกิจกรรมตามที่วางแผนไว้แล้วก็ตาม อาจจะ มีบางสิ่งบางอย่างขาดตกบกพร่อง ทำให้การสอนขาดความสมบูรณ์ดังนั้นหากมีบุคคลอื่นได้ชี้แนะ แนะนำ ให้ความช่วยเหลือก็ย่อมเกิดผลดี การนิเทศจึงเปรียบเหมือนกระจกเงาที่คอยส่องให้เห็น ภาพการสอนของครูและเป็นกระบวนการที่เสริมสร้างการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็น ข้อมูลในการวางแผนในการพัฒนาการศึกษา การสร้างสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสม ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ถูกต้องตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา โดยเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญและยังเป็นการสร้างความตระหนักให้กับครูถึงปัญหาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ และสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูผู้สอนอีกด้วย นอกจากนี้ยังมุ่งให้เกิดความร่วมมือและประสานงานกันเป็นอย่างดีภายใต้ระบบการบริหารงานของโรงเรียน เพื่อควบคุม มาตรฐานและพัฒนางานด้านการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการก้าวสู่ระบบการประกัน คุณภาพการศึกษารอบที่ 3 กล่าวโดยรวมก็คือ การจัดการนิเทศการศึกษา ก็เพื่อหาแนวทาง ปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานด้านการสอนของครู การทำงานเป็นทีม การสร้างเจตคติที่ดีในการทำงาน ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยรวม ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในที่สุด (สุรศักดิ์ ปาเฮ. 2545: 25-27) สำหรับ Active Learning ได้พัฒนาการมาจากระบบการสอนแบบ Active Teaching ซึ่งในอดีตเน้นครูเป็นศูนย์กลาง จากนั้นพัฒนามาเป็น Active Participation เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย โดยเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว ผู้เรียนรู้เป็นผู้จัดกระทำต่อสิ่งเร้า (สิ่งที่เรียนรู้) ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง และควรเป็นการตื่นตัวอย่างรอบด้าน ทั้งทางกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์“ปัญหาที่ทำให้การเรียนการสอนไม่ได้ผล เพราะมุ่งหวังให้เด็กอนุบาล อ่านออกเขียนได้มากเกินไป แต่แท้ที่จริงแล้ว ในช่วง 0-5 ปี เด็กจะมีพัฒนาการทางด้านสมองสูงสุด ถ้าจัดสภาวะแวดล้อมที่ดีให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง หาคำตอบเองเป็น จะช่วยส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดที่ดี ส่วนเรื่องอ่านเขียนได้ ใช่ว่าไม่สำคัญ แต่อาจจะเป็นช่วงหนึ่งที่เมื่อเด็กพร้อมจะสามารถเรียนทันกันได้หมดอีกปัญหาหนึ่งคือ ครูส่วนใหญ่ไม่ได้จบครูมาโดยตรง โดยเฉพาะครูอนุบาล ทำให้การสอน และการเข้าถึงเด็กยังไม่เต็มที่ โดยเฉพาะจิตวิทยาการสอนเด็ก บางครั้งยังขาดความอดทน และใช้คำพูดกับเด็กไม่เหมาะสม ทำร้ายความรู้สึกของเด็กโดยไม่รู้ตัว เด็กจึงไม่อยากเรียน และเรียนอย่างไม่มีความสุข”งานวิจัยทางการศึกษาจำนวนมากยืนยันว่า การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนมี ส่วนร่วมในการปฏิบัติการเรียนรู้นั้นอย่างจริงจัง (actively involved) แม้แต่การเรียนรู้จากการฟัง ผู้เรียนก็ต้องได้ปฏิบัติการฟังจริงๆ อย่างตั้งใจจึงจะเกิดการเรียนรู้ได้ อย่างไรก็ตามผลการ วิเคราะห์งานวิจัยที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่าสองทศวรรษให้ข้อเสนอว่าผู้เรียนต้อง “ทำ” มากกว่า เพียงแต่ฟัง กล่าวคือ ผู้เรียนต้องอ่าน เขียน อภิปราย หรือแก้ปัญหา ที่สำคัญที่สุดต้องปฏิบัติ อย่างจริงจัง ในงานที่ใช้การคิดขั้นสูงในระดับวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมิน (Chickering and Gamson, 1987) จึงได้มีการเสนอว่า กลวิธีที่สนับสนุนการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) คือกระบวนการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้ทำและคิดในสิ่งที่ทำ (Bonwell and Eison, 1991) รวมทั้งช่วยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพและแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดปรัชญาการศึกษาระดับปฐมวัยไว้ว่า การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้เต็มตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ จากความสำคัญดังกล่าว จึงจำเป็นจะต้องจัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัยตามหลักจิตวิทยาพัฒนาเด็กในช่วงอายุ 3-6 ปี จะเรียนรู้ซึมซับลักษณะพฤติกรรมจากบุคคลใกล้ชิด และสิ่งแวดล้อมจนเกิดเป็นคุณลักษณะที่ถาวร หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ได้รับความรักความอบอุ่นจะทำให้เด็กเป็นคนสดชื่นแจ่มใส มองโลกในแง่ดี รู้จักรักคนอื่น เด็กจะมีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

สถานศึกษาเป็นหน่วยงานในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อพัฒนาคนให้มีความสมดุลโดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ให้ความสำคัญต่อความรู้เกี่ยวกับตนเองได้และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม สถานศึกษาจึงต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหา ฝึกปฏิบัติให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จากประสบการณ์จริง ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน สมดุล ปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน การบริหารสถานศึกษาให้ความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคม จะต้องมีการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เกิดผลตามเป้าหมายตลอดจนการนำความรู้ที่มีอยู่หรือเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษา ซึ่งต้องอาศัยความรู้ และทักษะในการบริหารจัดการของผู้บริหาร

ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจากปัญหาความต้องการดังกล่าว โรงเรียนบ้านบางมัน จึงได้จัดทำแผนนิเทศภายใน ระดับปฐมวัยขึ้น และได้จัดทำการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในระดับปฐมวัย โดยใช้รูปแบบฺ Bangmun Model เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียน ในการพัฒนาการศึกษาและคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อไป

2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน (การกำหนดจุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน)

จุดประสงค์

1. เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตามในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของ

ครูให้กับนักเรียนระดับปฐมวัย ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็ก

2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูเพื่อ

ยกระดับพัฒนาการความพร้อมของเด็กในห้องเรียน

เป้าหมาย ของการดำเนินงาน

1. ครูผู้สอนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านบางมัน ร้อยละ 100 จัดประสบการณ์การเรียนรู้

เชิงรุก (Active Learning) ให้กับนักเรียนระดับปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ครูผู้สอนระดับปฐมวัย กับผู้บริหารโรงเรียนบ้านบางมัน ร้อยละ100 มีความสัมพันธ์ที่ดีในการร่วมมือในการพัฒนาหน่วยการจัดประสบการณ์และแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับพัฒนาการความพร้อมของเด็กในห้องเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (PLC)

3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน (การออกแบบ/การดำเนินงาน/ประสิทธิภาพ/การใช้ทรัพยากร)

3.1 การออกแบบผลงาน

ขั้นตอนของ กระบวนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ มีดังนี้

การนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในระดับปฐมวัย

โดยใช้รูปแบบฺ BANGMUN MODEL ซึ่งใช้กระบวนการ PDCA ในการดำเนินการ ประกอบด้วย

1. B (Basic Data and brain storming) – การระดมความคิด

2. A (Action and Assessment) – ปฏิบัติ ตรวจสอบและประเมินผล

3. N (Network and Cooperation) – การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ

4. G (Good Goverment) – การยึดหลักธรรมาภิบาล

5. M (Management) – การบริหารจัดการที่ดี

6. U (Unique) – เอกลักษณ์ อัตลักษณ์

7. N (Niceness) – คนดีมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม

B (Basic Data and brain storming) – การระดมความคิด

ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน คณะครู ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิด วางแผนอย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนานักเรียน และกำหนดทิศทางไปสู่เป้าหมาย

U (Unique) – เอกลักษณ์ อัตลักษณ์

ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน คณะครู ร่วมกันกำหนดเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ของนักเรียน

N (Network and Cooperation) – การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ

มีการทำงานร่วมกับเครือข่าย สถานศึกษา หน่วยงาน นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ในการทำกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมาย ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

M (Management) – การบริหารจัดการที่ดี

ผู้บริหารมีการจัดการบริหารงาน มีการจัดสรรบุคลากรไปอบรมพัฒนาตนเองและส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน

N (Niceness) – คนดีมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม

มีการสร้างคนดีในสังคม ให้เพียบพร้อมไปทั้งความรู้ควบคู่คุณธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

A (Action and Assessment) – ปฏิบัติ ตรวจสอบและประเมินผล

มีการตรวจสอบ และประเมินผลร่วมกัน เพื่อนำผลไปสู่การปรับปรุง แก้ไขพัฒนา

G (Good Goverment) – การยึดหลักธรรมาภิบาล

การปฏิบัติงานของผู้บริหาร คณะครู ได้ยึดหลักการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในการควบคุมดูแลกิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามครรลองครองธรรม เน้นความโปร่งใสตรวจสอบได้

3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ

1.1 ประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะกรรมการทำงาน

1.2 ชี้แจงทำความเข้าใจการวางแผนการเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตชั้นเรียน

1.3 กำหนดปฏิทินและบุคลากรเพื่อการนิเทศแบบสอนงาน (Coaching) ชุมชนแห่งการ

เรียนรู้วิชาชีพครู (PLC)

2 .ขั้นดำเนินการ

2.1 ดำเนินการเยี่ยมชั้นเรียน สังเกตการสอนเพื่อศึกษาความรู้เดิมของครู

2.2 ดำเนินการนิเทศ โดยใช้รูปแบบการให้คำชี้แนะ (Choching) ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในระดับปฐมวัย

3. ขั้นประเมินและตรวจสอบ

3.1 ประเมินผล เป็นการทบทวนและสะท้อนผลการดำเนินงาน โดยการทำ AAR (After Action Review) เป็นการพูดคุยหลังจากการนิเทศการสอนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู (PLC)

3.2 สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงาน

4. ขั้นปรับปรุง

4.1 นำผลการปรับปรุงแก้ไขมาพัฒนาต่อไป

โพสต์โดย แกน : [12 ส.ค. 2567 (15:39 น.)]
อ่าน [511] ไอพี : 58.11.88.19
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 11,910 ครั้ง
ดูวิวัฒนาการใบหน้าบรรพบุรุษสู่มนุษย์ยุคใหม่ - 6 ล้านปีใน 1 นาที
ดูวิวัฒนาการใบหน้าบรรพบุรุษสู่มนุษย์ยุคใหม่ - 6 ล้านปีใน 1 นาที

เปิดอ่าน 15,529 ครั้ง
ชา จริงๆ แล้วดีกว่าน้ำ
ชา จริงๆ แล้วดีกว่าน้ำ

เปิดอ่าน 176,269 ครั้ง
สาระดีๆ สำหรับครูที่ต้องการจัดทำผลงาน(คศ.3)
สาระดีๆ สำหรับครูที่ต้องการจัดทำผลงาน(คศ.3)

เปิดอ่าน 82,830 ครั้ง
"ครูผู้เสียสละ" ภาพยนตร์สั้นเชิดชูพระคุณครู เนื่องในวันครู พ.ศ.2563 โดย เซเว่นอีเลฟเว่น
"ครูผู้เสียสละ" ภาพยนตร์สั้นเชิดชูพระคุณครู เนื่องในวันครู พ.ศ.2563 โดย เซเว่นอีเลฟเว่น

เปิดอ่าน 9,117 ครั้ง
Professor Switch ชั้นเรียนสุดอลังการ เวทีหมุนเปลี่ยนคลาสเรียน
Professor Switch ชั้นเรียนสุดอลังการ เวทีหมุนเปลี่ยนคลาสเรียน

เปิดอ่าน 183,422 ครั้ง
ดนตรีไทย
ดนตรีไทย

เปิดอ่าน 14,596 ครั้ง
ชมย้อนหลังรายการ ตอบโจทย์ ช่องไทยพีบีเอส เรื่อง ม.44 ล้าง "ขั้วอำนาจ" ยกเครื่อง "กระทรวงศึกษาธิการ" (24 มี.ค. 59)
ชมย้อนหลังรายการ ตอบโจทย์ ช่องไทยพีบีเอส เรื่อง ม.44 ล้าง "ขั้วอำนาจ" ยกเครื่อง "กระทรวงศึกษาธิการ" (24 มี.ค. 59)

เปิดอ่าน 16,490 ครั้ง
8 นิสัยที่ฉุดให้การทำงานของคุณย่ำอยู่กับที่
8 นิสัยที่ฉุดให้การทำงานของคุณย่ำอยู่กับที่

เปิดอ่าน 10,889 ครั้ง
ขับรถอย่างฉลาด ปลอดภัย และประหยัดน้ำมัน
ขับรถอย่างฉลาด ปลอดภัย และประหยัดน้ำมัน

เปิดอ่าน 32,648 ครั้ง
ถอดบทเรียน ครอบครัว-การศึกษา สร้าง “เด็ก” เเตกต่าง “เก่ง” ในทางของตัวเอง
ถอดบทเรียน ครอบครัว-การศึกษา สร้าง “เด็ก” เเตกต่าง “เก่ง” ในทางของตัวเอง

เปิดอ่าน 25,013 ครั้ง
อิทธิบาท 4
อิทธิบาท 4

เปิดอ่าน 10,474 ครั้ง
เที่ยวมหกรรมนวดนานาชาติ ในงานแฟร์สุขภาพ
เที่ยวมหกรรมนวดนานาชาติ ในงานแฟร์สุขภาพ

เปิดอ่าน 16,067 ครั้ง
ไหว้ "ตรุษจีน" อย่างถูกต้อง รวม "เคล็ด-ของ" ทำพิธีไหว้เจ้า!!
ไหว้ "ตรุษจีน" อย่างถูกต้อง รวม "เคล็ด-ของ" ทำพิธีไหว้เจ้า!!

เปิดอ่าน 10,094 ครั้ง
Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์  มูลค่าของความสามารถ
Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์ มูลค่าของความสามารถ

เปิดอ่าน 14,969 ครั้ง
20 เรื่องเหลือเชื่อทางวิทยาศาสตร์
20 เรื่องเหลือเชื่อทางวิทยาศาสตร์

เปิดอ่าน 17,136 ครั้ง
ประวัติจังหวัดนครพนม
ประวัติจังหวัดนครพนม
เปิดอ่าน 16,379 ครั้ง
SEO กับ SEM คืออะไร...ต่างกันแค่ไหน?
SEO กับ SEM คืออะไร...ต่างกันแค่ไหน?
เปิดอ่าน 151,894 ครั้ง
คริส ไรท์ โพสต์แฉ"การศึกษาไทยไม่ไปไหน"เพราะใคร
คริส ไรท์ โพสต์แฉ"การศึกษาไทยไม่ไปไหน"เพราะใคร
เปิดอ่าน 10,872 ครั้ง
ปรับการเรียนแนวใหม่สู้ "โอเน็ต" ให้ได้ผล
ปรับการเรียนแนวใหม่สู้ "โอเน็ต" ให้ได้ผล
เปิดอ่าน 37,084 ครั้ง
วิธีตั้งชื่อมิให้เป็นกาลกิณี
วิธีตั้งชื่อมิให้เป็นกาลกิณี

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ