ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ PCCAE MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง วัสดุมหัศจรรย์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางนิฟติมา หมาดทิ้ง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง วัสดุมหัศจรรย์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง วัสดุมหัศจรรย์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง วัสดุมหัศจรรย์ 4) พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง วัสดุมหัศจรรย์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5) ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง วัสดุมหัศจรรย์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน และครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาในจังหวัดสตูล จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เรื่อง วัสดุมหัศจรรย์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีชื่อว่า Preparation ; Critical thinking ; Construction ; Application ; Evaluation Model (PCCAE MODEL) มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมพร้อมเรียนรู้ (Preparation : P) 2) ขั้นมุ่งสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking : C) 3) ขั้นสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ (Construction : C) 4) ขั้นใฝ่นำความรู้ไปใช้ (Application : A)และ 5) ขั้นใส่ใจประเมินผล (Evaluation : E)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.25/88.14 ซึ่งสูงกว่า
เกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนนักเรียนที่
ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 87.50 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้
4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการ
สอนตามรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อ
ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมาก