ชื่อผู้นำเสนอนวัตกรรม: นางธัญญา คำแสน ตำแหน่งครู โรงเรียนโคกเครือวิทยา อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2
1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ในการฝึกทักษะการพูดยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเด็กไทยยังไม่ สามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ในสถานการณ์จริงได้เนื่องจากผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฝึกฝนให้ใช้ทักษะ ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเท่าที่ควร ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องมีความรู้และฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษให้เกิด ความชำนาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการพูด นักเรียนขาดความมั่นใจ ส่งผลต่อการเรียนในรู้ระดับสูงขึ้น การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มุ่งพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์จริง ให้ผู้เรียนมีความ รู้และความสามารถทางภาษาอังกฤษพื้นฐาน มีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรม และความสามารถในการใช้ ภาษาเพื่อสื่อความอย่างถูกต้องตามหลักภาษาและเหมาะสมกับสถานการณ์ การจะเรียนรู้ภาษาให้ได้ดีนั้นผู้เรียนควรจะเรียนทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนให้สัมพันธ์ ทักษะต่างๆ จึงมีความสำคัญในการที่ควรจะ ได้รับการฝึกฝนอยู่เสมอเพื่อให้ใช้ได้อย่างถูกต้อง ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนโคกเครือวิทยา พบว่า มีปัญหาด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการเรียนการสอนของครู สื่อ อุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนไม่จูงใจผู้เรียน ทำให้นักเรียนขาดความกระตือรือร้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนไม่สามารถพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ส่งผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในรายวิชาภาษาอังกฤษค่อนข้างต่ำ นวัตกรรม One Student One Sentence By Using Application Duolingo เป็นวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนสามารถพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นโดยการนำแอพริเคชั่น Duolingo มาช่วยในการฝึกการฟัง พูดสื่อสาร โดยดาวน์โหลดแอพพริเคชั่นลงในโทรศัพท์มือถือ เราใช้วิธีการสอนที่ได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัย และมีเนื้อหาสร้างสรรค์ที่ทำให้การเรียนในหลักสูตรเห็นผลได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ผสมความเป็นเลิศด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผสานเข้ากับหลักภาษาศาสตร์ โดยบทเรียนต่างๆ นี้ออกแบบปรับความยากง่ายช่วยให้คุณเรียนรู้ในระดับที่ถูกต้องและจังหวะที่เหมาะสม แล้วนักเรียนนำประโยคที่ได้จากการเรียนรู้นำมาพูดสื่อสารกับครูวันละ 1 ประโยค ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักเรียนให้ความสนใจ สนุกสนานเพลิดเพลิน มีเจตคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ และสามารถพัฒนาทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารของนักเรียนได้เป็นอย่างดี
1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดทำนวัตกรรม
1. เพื่อเพิ่มทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษให้นักเรียนโรงเรียนโคกเครือวิทยา
2. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อพูดสื่อสารในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
3. เพื่อให้นักเรียนเกิดความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น
4. เพื่อให้โรงเรียนมีสื่อ นวัตกรรมที่มีคุณภาพในการเรียนการสอน
1.3 เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ (ผลผลิต Outputs)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโคกเครือวิทยา จำนวน 14 คน ได้รับการฝึกทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ
เป้าหมายเชิงคุณภาพ (ผลลัพธ์ Outcomes)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนโคกเครือวิทยา จำนวน 14 คน สามารถพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น
1.4 ขอบเขตของการศึกษา
1. ประชากรที่ใช้ในการพัฒนา เป็นนักเรียนโรงเรียนโคกเครือวิทยา จำนวน 14 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
2. ระยะเวลา คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
Duolingo หมายถึง แอปพลิเคชัน แพล็ตฟอร์มที่ใช้ในการเรียนรู้ ฝึกฟัง พูดภาษาอังกฤษฝึกภาษาในรูปแบบการแข่งขันหรือเกม (Gamification)
แอพริเคชั่น
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) ประโยชน์ต่อนักเรียน
1. นักเรียนพัฒนาความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น
2. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ
3. นักเรียนเกิดความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษและเรียนรู้อย่างมีความสุข
4. โรงเรียนมีนวัตกรรมที่ทันสมัยและเหมาะสมกับผู้เรียน
2) ประโยชน์ต่อครูผู้สอน :
(1) ได้ผลงานนวัตกรรม One Student One Sentence By Using Application สำหรับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
(2) ทราบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้และเลือกใช้และพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมให้เหมาะสมและสนองตอบความต้องการของนักเรียน
2) ประโยชน์ต่อโรงเรียน ทำให้โรงเรียนมีนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ สามารถประยุกต์และปรับใช้ให้ตรงกับเนื้อหาและระดับชั้นที่สอน อันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนานวัตกรรมให้เหมาะสมกับเนื้อหาและระดับชั้นของผู้เรียนต่อไป
4) ประโยชน์ต่อหน่วยงานต้นสังกัด ทำให้มีนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ เป็นแบบอย่าง ให้แก่ โรงเรียนในสังกัด อันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนานวัตกรรมให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนต่อไป