บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) เปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนด 2) เปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) จำแนกตามร้อยละของจำนวนนักเรียน ที่เข้าสอบต่อจำนวนนักเรียนที่มีสิทธิสอบทั้งหมด และจำแนกตามขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยโดยใช้คู่มือครูภาษาไทย 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนคำภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย และนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จำนวน 98 โรงเรียน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) ปีการศึกษา 2564 โดยใช้แบบประเมินของสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) คู่มือครูภาษาไทย เรื่อง การสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนคำภาษาไทยโดยใช้คู่มือครูภาษาไทย และ 4) แบบสอบถามปลายเปิดเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำภาษาไทย แบบสอบถามความพึงพอใจเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 14 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง .26 - .64 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .80 แบบสอบถามปลายเปิดเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและ การเขียนคำภาษาไทย เป็นแบบสอบถามที่ครอบคลุมคำถาม 8 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ 2) การพัฒนาด้านการเรียนการสอน และการใช้คู่มือครูภาษาไทย 3) การพัฒนาด้านวัสดุและสื่อการเรียนการสอน 4) การพัฒนาด้านวัดผลและประเมินผล 5) การพัฒนาด้านห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ 6) การพัฒนางานนิเทศภายใน 7) การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และ8) การพัฒนาด้านอื่นๆ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบในการศึกษาค้นคว้าและการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประชากรนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 2 ที่เข้ารับการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ยระดับเขตพื้นที่ ของผลการประเมินด้านการอ่านออกเสียง ด้านการอ่านรู้เรื่อง และ รวม 2 ด้าน บรรลุตามค่าเป้าหมายที่เขตพื้นที่กำหนดไว้ (ค่าเป้าหมายคือ สูงกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 5) และไม่มีนักเรียนคนได้มีระดับคุณภาพการประเมินอยู่ในระดับปรับปรุง ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้
2. การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) โดยใช้แบบประเมินของสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 จำแนกตามร้อยละของจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบต่อนักเรียนที่มีสิทธิสอบทั้งหมด โดยภาพรวมพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้
3. การเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) โดยใช้แบบประเมินของสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้
4. ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อครูผู้สอนต่อการใช้คู่มือครูภาษาไทย เรื่อง การสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 อยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้
5. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำภาษาไทยตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 ได้ข้อสรุปครอบคลุม 8 ด้าน แก่ 1) การพัฒนาด้านหลักสูตรและ การนำหลักสูตรไปใช้ 2) การพัฒนาด้านการเรียนการสอน และการใช้คู่มือครูภาษาไทย 3) การพัฒนาด้านวัสดุและสื่อการเรียนการสอน 4) การพัฒนาด้านวัดผลและประเมินผล 5) การพัฒนาด้านห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ 6) การพัฒนางานนิเทศภายใน 7) การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และ 8) การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและประสานความร่วมมือผู้ปกครอง