การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการในการใช้แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 3) เพื่อทดลองใช้แนวทาง
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่วิถีอนาคต
วิถีคุณภาพ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการในการใช้แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาฯ โดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และแบบบันทึกการประชุมระดมพลังสมอง (Brainstorming) ขั้นตอนที่ 2 เป็นการพัฒนาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่วิถีอนาคต
วิถีคุณภาพ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 โดยจัดทำร่างแนวทางฯ และร่างคู่มือฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของแนวทาง ขั้นตอนที่ 3 เป็นการทดลองใช้แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ซึ่งดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลตามเป้าหมาย 4 ด้าน คือ ด้านคุณภาพนักเรียน (Smart Student) โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพนักเรียน ด้านคุณภาพสถานศึกษา (Smart School) โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพสถานศึกษา ด้านคุณภาพบุคลากร (Smart People) โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และแบบบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพบุคลากร ด้านคุณภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Smart Office) โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขั้นตอนที่ 4 เป็นการประเมินประสิทธิผลของ
แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ดังนี้ 1) นำพัฒนาการด้านคุณภาพนักเรียน (Smart Student)
ปีการศึกษา 2565 เปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2564 2) นำพัฒนาการด้านคุณภาพสถานศึกษา (Smart School) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เปรียบเทียบกับเกณฑ์ 3) นำพัฒนาการด้านคุณภาพบุคลากร (Smart People) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เปรียบเทียบกับเกณฑ์ 4) นำพัฒนาการด้านคุณภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Smart Office) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เปรียบเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 5) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการให้บริการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เปรียบเทียบกับเกณฑ์ 6) ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา
ต่อแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาฯ เปรียบเทียบกับเกณฑ์
ผลการวิจัยพบว่า
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด และทฤษฎี 1) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2) นโยบายกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สภาพปัญหา
ที่พบ 1) นักเรียนมีปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และการคิดเลขไม่เหมาะสมกับระดับชั้น
และนักเรียนบางส่วนมีพฤติกรรมเสี่ยง 2) สถานศึกษาอยู่ในถิ่นทุรกันดาร จึงมีความเสี่ยงในเรื่องอุบัติเหตุ 3) ครูบางส่วนขาดเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และย้ายบ่อย 4) ผู้บริหารการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการย้ายบ่อย ส่งผลให้ขาดความต่อเนื่องในการบริหารงานและ
การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 5) การดำเนินงานตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินการ และการศึกษาผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ที่เป็นแบบอย่าง ในการปฏิบัติงานของนายวัฒนชัย ถิรศิลาเวทย์ เมื่อดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 ซึ่งได้พัฒนางานที่รับผิดชอบประสบผลสำเร็จ ได้แก่ การพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น การจัดระบบความปลอดภัยในสถานศึกษา การขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จึงถือว่าเป็นเรื่องที่ได้คิดค้นและปรับเปลี่ยนขึ้น เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นของต้นสังกัด ความต้องการในการใช้แนวทางพัฒนาคุณภาพการศึกษาฯ พบว่า ควรพัฒนานักเรียน สถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีความเข้มแข็งและ
มีความสามารถในการแข่งขัน ที่สอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด มีตัวชี้วัดการพัฒนา และตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน มีวิธีการพัฒนาที่สถานศึกษานำไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาการอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น การจัดระบบความปลอดภัยในสถานศึกษา และการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ที่พัฒนาขึ้น เป็นนโยบายฟื้นฟู ดูแล และพลิกโฉมการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ที่ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดความสำเร็จ และวิธีดำเนินการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับ
มากที่สุด
ผลการทดลองใช้แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ด้านคุณภาพนักเรียน (Smart Student) พบว่า ในปีการศึกษา 2565 1) ค่าเฉลี่ยร้อยละผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 69.13 2) ค่าเฉลี่ยร้อยละผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 52.43 3) ค่าเฉลี่ยร้อยละผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 31.74 4) นักเรียนมีคุณภาพ โดยได้รับเกียรติบัตรหรือรางวัลต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับจังหวัดขึ้นไป
หลายรายการ ด้านคุณภาพสถานศึกษา (Smart School) สถานศึกษาที่ได้รับเกียรติบัตรหรือรางวัลต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับจังหวัดขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 76.32 แสดงว่าสถานศึกษามีคุณภาพ ด้านคุณภาพบุคลากร (Smart People) 1) ผลการประเมินความสามารถในการจัดทำแผนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 2) ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูในภาพรวมอยู่ในระดับดี บุคลากรมีคุณภาพ โดยได้รับเกียรติบัตรหรือรางวัลต่างๆ ตั้งแต่ระดับจังหวัดขึ้นไปหลายรายการ ด้านคุณภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Smart Office) พบว่า 1) ผลการดำเนินงานมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มีคะแนนภาพรวมดีเยี่ยม 2) ผลการติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีระดับคุณภาพ ดีมาก 3) ผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (ITA Online) มีผลคะแนน 97.08 อยู่ในระดับ AA สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีคุณภาพ โดยได้รับเกียรติบัตรหรือรางวัลต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับจังหวัดขึ้นไป
หลายรายการ
การประเมินประสิทธิผลของแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 พบว่า 1) พัฒนาการด้านคุณภาพนักเรียน (Smart Student) ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 สูงกว่าปีการศึกษา 2564 ทุกรายการ 2) ด้านคุณภาพสถานศึกษา (Smart School) พบว่า มีสถานศึกษาในสังกัดได้รับเกียรติบัตรหรือรางวัลต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับจังหวัดขึ้นไป ร้อยละ 76.32 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี
ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) ด้านคุณภาพบุคลากร (Smart People) พบว่า ความสามารถในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู โดยภาพรวม
ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 4) ด้านคุณภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Smart Office) พบว่า มีการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ผลการประเมินการดำเนินงานมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2) ผล
การติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (ITA Online) 4) การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการให้บริการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ 5) การประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาต่อแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาฯ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
จากผลการดำเนินงานแสดงว่าแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ได้จริง
คำสำคัญ แนวทาง การพัฒนาคุณภาพการศึกษา วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ