พรชัย คำรพ และคณะ. (2567). รายงานรูปแบบการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพตามแนวทาง
SAMING Model ของโรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม “จงจินต์รุจิรวงศ์อุปถัมภ์”
ปีงบประมาณ 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพ ตามแนวทาง SAMING Model 2) เพื่อเปรียบเทียบความเป็นครูมืออาชีพของครูเมื่อได้รับการพัฒนาตามแนวทาง SAMING Model กับเกณฑ์ และ 3) เพื่อพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพตามแนวทาง SAMING Model ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม“จงจินต์รุจิรวงศ์อุปถัมภ์” ปีงบประมาณ 2566 ประกอบด้วย ข้าราชการครู พนักงานราชการและครูอัตราจ้าง จำนวน 52 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม ฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีงบประมาณ 2566 ประกอบด้วย ข้าราชการครู พนักงานราชการและครูอัตราจ้าง จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขั้นที่ 1 ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ 2) แบบประเมินรูปแบบการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพตามแนวทาง SAMING Model เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขั้นที่ 2 ประกอบด้วย 1) แบบประเมินประสิทธิภาพความเป็นครูมืออาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการครูตามแนวทาง SAMING Model และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพตามแนวทาง SAMING Model
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพตามแนวทาง SAMING Model มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45
2) ผลการวัดประสิทธิภาพความเป็นครูมืออาชีพของครูภายหลังได้รับการพัฒนาตามรูปแบบการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพตามแนวทาง SAMING Model กับเกณฑ์ (ร้อยละ 80) ปรากฎว่า คะแนนประสิทธิภาพเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ระดับความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพ ตามแนวทาง SAMING Model ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64