รายละเอียดเอกสารการนำเสนอผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice )
1. ความสำคัญของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
1.1 เหตุผลที่เกิดแรงบันดาลใจ ความจำเป็น ปัญหาหรือความต้องการที่จะให้ทำผลงาน/
นวัตกรรมท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้สังคมไทยต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้าน ที่เกิดจากปัญหาด้านจิตใจของคนในสังคมที่เสื่อมลงทั้ง ทางด้านศีลธรรม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น
ที่มีสาเหตุมาจากปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรมที่สั่งสมโดยไม่รู้ตัวตั้งแต่วัยเยาว์ และเมื่อกล่าวถึง
การทุจริต หรือ การคอร์รัปชั่นมักเข้าใจกันง่าย ๆว่าหมายถึงการโกง นั่นเอง หรือ การไม่ซื่อสัตย์สุจริต ของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่ร่วมมือกันทำความชั่วโดยเจตนา มีการไตร่ตรอง วางแผนอย่างมีขั้นตอน ปัจจุบันปัญหาคอรัปชั่นจึงถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่ด้อยพัฒนา และการคอรัปชั่นได้กลายมาเป็นปัญหาที่มีความสำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย โดยปัญหานี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะหมดไปอีกทั้งยังทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าหลายประเทศได้ก้าวเข้าสู่ความทันสมัยมีระบบการบริหารราชการสมัยใหม่มีการรณณรงค์เพื่อแก้ปัญหาก็ตาม จึงทำให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการศึกษาได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรคุณธรรม โดยต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้ผู้เรียนเป็น คนดี เพราะถ้าผู้เรียนเป็นคนดีตั้งแต่เด็ก เขาก็จะคิดดี ทำดี สร้างประโยชน์ให้สังคมและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง และพระราชกระแสรับสั่งของในหลวงรัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ที่ว่า เพื่อสืบสาน พระราชปณิธาน และเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทั้งปวง ซึ่งทรงรับสั่งให้ดำเนินตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยต้องการให้ทุกคนทำเพื่อบ้านเมืองและประชาชน โดยมีพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์
บดินทรเทพยวรางกูรทรงมีกระแสรับสั่งให้จัดการศึกษาโดยต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ใน
4 เรื่อง คือ 1.ทัศนคติที่ถูกต้อง 2.พื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง 3.มีอาชีพ มีงานทำ และ 4.เป็นพลเมืองดี ดังนั้น หน่วยงานทางการศึกษาจึงได้กำหนดนโยบาย แผน หลักสูตร ล้วนมุ่งที่จะเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทยยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) ยุทธศาสตร์ ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญในกระบวนการปรับสภาพสังคมให้เกิดภาวะที่ ไม่ทนต่อการทุจริต โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในทุกระดับช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัยเพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต และปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริตยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เป็นการดำเนินการผ่านสถาบันหรือกลุ่มตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการกล่อมเกลาสังคมให้มีความเป็นพลเมืองที่ดี
มีจิตสาธารณะ เสียสละเพื่อส่วนรวม และเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับ และต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบและได้กำหนดกลยุทธ์ 4 กลยุทธ์ กล่าวคือ กลยุทธ์ที่ 1 ปรับฐานความคิดทุกช่วงวัย ตั้งแต่ปฐมวัยให้สามารถแยกระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต กลยุทธ์ที่ 3 ประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเครื่องมือต้านทุจริต และกลยุทธ์ที่ 4 เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน(Community) และบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต
โรงเรียนบ้านบางมันได้ตระหนักถึงเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว จึงได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทั้ง 4 ด้าน มาสู่การปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การจัดการศึกษาและพัฒนาผู้เรียนสู่วิถีคนดีอย่างยั่งยืน ตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเจตนารมณ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง ปีทอง ลูกเมืองนอง อ่านเขียน เรียนดี มีคุณธรรม โดยการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนา คนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรม
โรงเรียนบ้านบางมันมีความมุ่งมั่นในการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม มีความรู้ มีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพสุจริต ด้วยการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนตลอดจนการดำเนินงานในด้านต่างๆ ยึดหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม คือ ยึดหรือปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบขอบังคับและกติกาต่าง ๆ
2) หลักคุณธรรม คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม 3) หลักความโปรงใส คือ การทำให้สถานศึกษาเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไป ตรงมา และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ 4) หลักความมีส่วนร่วม คือ การให้บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมรับรู้และร่วมเสนอความเห็นในการบริหารสถานศึกษา และการตัดสินใจสำคัญ ๆ 5) หลักความรับผิดชอบ บริหาร และครูต้องตั้งใจปฏิบัติงานตามหน้าที่ อย่างดียิ่ง มีความรับผิดชอบต่อ ความบกพร่องในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่ และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
6) หลักความคุ้มค่า ผู้บริหารต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด ดังนั้นในการบริหารจัดการจำเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่าให้มากที่สุด
ดังนั้น โรงเรียนบ้านบางมันจึงพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ภายใต้ชื่อผลงาน การบริหารจัดการสร้างคนดีศรีบางมัน โดยใช้รูปแบบ BANGMUN MODEL ขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สร้างคนเก่ง คนดี
มีคุณภาพ ให้กับสังคม และประเทศชาติสืบไป
1.2 แนวคิด หลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลงานหรือนวัตกรรม สามารถอ้างอิงถึงแนวคิด
หลักการ ทฤษฏี รูปแบบ วิธีการ ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการออกแบบผลงานหรือนวัตกรรม
1. หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
(สานักงาน กปร.2550 : 5)
หลักการสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
1) กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
2) คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้น การปฏิบัติ บนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3) คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
- ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง
และผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
- ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมี
เหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
- การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้าน
ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4) เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความ
รอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
- เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน มีความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังใน ขั้นปฏิบัติ
- เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต
มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ ไม่ตระหนี่
5) แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยีแนวความคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ เข็มทิศเพื่อการดำรงอยู่และปฏิบัติตนหรือการขับเคลื่อนการพัฒนาให้ประเทศเจริญอย่างมั่นคงและยั่งยืนในมิติต่างๆ เป็นการดำเนินตามทางสายกลาง ก้าวทันต่อโลก โดยใช้ได้ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ประเทศ เป็นการมองโลกในลักษณะที่เป็นพลวัต มีการเปลี่ยนแปลง มีความไม่แน่นอนเป็นการปฏิบัติมุ่งผลทั้งระยะสั้นและระยะยาว ความพอเพียง เป็นทั้งผลและวิธีการ(End and mean) จากการกระทำโดยผล คือ การพัฒนาที่สมดุลในทุก ๆ ด้าน และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ในขณะเดียวกัน วิธีการนำความรู้ไปใช้ ต้องมองทั้งในด้านเหตุและผลควบคู่กันไป ภายใต้พลวัตทั้งภายใน และภายนอกประเทศการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ สามารถดำเนินการโดยผ่านการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีระดับต่าง ๆ และนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคม(ภูมิ-สังคม) ของตนเอง
2. หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การบริหารการจัดการตามความต้องการและ
จำเป็นของสถานศึกษา โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำและร่วมประเมิน โดยใช้หลักการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษา 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณด้านการบริหารงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป บนพื้นฐานของหลักการมีส่วนร่วม หลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน หลักการบริหารตนเอง และหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล
3. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การบริจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด การแบ่งอำนาจหน้าที่การบริหารให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ในอีกประเด็นหนึ่ง เป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบริหาร เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ และร่วมดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนด
4. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) เป็นการกระจายอำนาจด้านการบริหารจัดการด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารบุคคลและการบริหารทั่วไป ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ
5. วงจรควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle) P-D-C-A ของเดมมิ่ง คือ การควบคุมคุณภาพของการบริหาร มีดังนี้
1) Plan (วางแผน) หมายถึง การส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนทางานแบบมีส่วนร่วม โดยมีการ
ร่วมคิดร่วมวางแผน
2) Do (ปฏิบัติตามแผน) หมายถึง ร่วมปฏิบัติร่วมดำเนินการ
3) Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) หมายถึง ร่วมประเมินตรวจสอบ
4) Action (ปรับปรุงแก้ไข) หมายถึง ร่วมกันนำผลที่ได้จากการประเมินตรวจสอบไปปรับปรุง
พัฒนาการดำเนินงาน
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
1.วัตถุประสงค์
1. เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
2. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะ
กระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ
3. เพื่อพัฒนานวัตกรรมระบบการบริหารจัดการ
2. เป้าหมายโครงการ
1. เป้าหมายเชิงปริมาณ :
1. นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมด้านการป้องกันการทุจริต 5 ประการ
2. ครูและบุคลากรร้อยละ 100 เป็นแบบอย่างที่ดีและสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน
2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ :
3. นักเรียนโรงเรียนบ้านบางมันทุกคนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง จิตสาธารณะ และมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานและการประกอบอาชีพสุจริต
3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 การออกแบบผลงาน / นวัตกรรม นำเสนอผลงานนวัตกรรมในรูปแบบผังงาน (Flowchart)
การสร้าง BANGMUN MODEL ดำเนินตามขั้นตอน
1.) ศึกษาแนวคิด หลักการ การจัดกิจกรรมที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นแนวทางให้แก่นักเรียน
2.) ศึกษาเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับ ความรู้ความเข้าใจต่อโครงการโรงเรียนสุจริตให้แก่นักเรียน
3.) กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด ด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม อธิบายรายละเอียดตามขั้นตอนของกิจกรรมที่ออกแบบไว้ในผังงาน (Flowchart)
วิธีดำเนินงานตามกิจกรรม ซึ่งขับเคลื่อนด้วย วงจร PDCA
1. ขั้นเตรียมการ (Plan)
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ จุดประสงค์การเรียนรู้ สมรรถนะผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเนื้อหาในสาระการเรียนรู้ เพื่อกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมให้แก่นักเรียน
ขั้นที่ 2 ออกแบบการทำกิจกรรมที่เน้นนักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาด้วยตนเอง ปลูกฝังความมีคุณธรรม ให้แก่นักเรียน เสริมสร้างความเป็นผู้นำในการทำความดี เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น เพื่อนำมา สร้างนวัตกรรม
2. ขั้นดำเนินการ (Do)
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์รูปแบบ แนวทางการดำเนินงานและจัดกิจกรรม เพื่อจัดทำนวัตกรรม BANGMUN MODEL
3. ขั้นตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนางาน (Check)
ขั้นที่ 6 นำนวัตกรรม BANGMUN MODEL ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วจนสมบูรณ์ไปทดลองใช้ในการจัดกิจกรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านบางมัน เพื่อหา ข้อบกพร่องเบื้องต้นในการจัดกิจกรรม ความเหมาะสม และการสื่อความหมายในการสอดแทรกคุณธรรมในกิจกรรมนั้น ๆ ผลของการจัดกิจกรรมนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ขั้นที่ 7 แก้ไขปรับปรุงตามความเหมาะสม
4. ขั้นสรุปและรายงาน (Act)
ขั้นที่ 8 สรุปผลการดำเนินการใช้ นวัตกรรม BANGMUN MODEL เพื่อสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักเรียนในการมีจิตอาสา และรายงานผลการใช้นวัตกรรมดังกล่าว
3.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
การจัดกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการปฏิบัติจริง มีวิธีการ นวัตกรรม องค์ความรู้ และการสร้างการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายโรงเรียน หน่วยงานๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง ส่งผลให้โรงเรียนได้รับรางวัลระดับประเทศในการจัดการขยะและรางวัลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมนักเรียน บุคลากรในด้านคุณธรรมนำชีวิต