การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัด การเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการทำงาน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการทำงาน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการทำงาน และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัด การเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการทำงาน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัด การเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะบาตู อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 3) คู่มือการใช้รูปแบบ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ 7) แบบประเมินทักษะกระบวนการทำงาน และ 8) แบบสอบถาม ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test แบบ Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการทำงาน พบว่า สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 4) การวัดและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ โดยขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นการตั้งคำถาม ขั้นที่ 3 ขั้นจัดกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอและสรุป และขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผลและเห็นคุณค่าการเรียนรู้ ผลการประเมินคุณภาพความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมระดับมาก และมีความสอดคล้องกันทุกขั้นตอน
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการทำงาน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ พบว่า
3.1 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ภาพรวมในระดับดี คิดเป็นร้อยละ เท่ากับ 84.90 และมีคะแนนทักษะกระบวนการทำงาน ภาพรวมในระดับดี คิดเป็นร้อยละ เท่ากับ 80.94
3.2 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามรูปแบบการจัดการเรียน การสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และ ทักษะกระบวนการทำงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 85.97/83.33 ถือว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
4. ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและโครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะกระบวนการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.51)