1. ความสำคัญของนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ (ระบุเหตุผล ความจำเป็น ปัญหาหรือความต้องการ ความสำคัญ แนวคิด หลักการสำคัญในการออกแบบนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จ)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกของความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลกยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐานรวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษา ต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการวัดผลประเมินผลของโรงเรียนบ้านบางมัน พบว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ ในหลายวิชาจำนวนหลายคนซึ่งทำให้นักเรียนและนักเรียนมีผลการเรียนลดลง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้นักเรียนในสภาพดังกล่าว อาจมีสาเหตุมาจาก ความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนเอง หรือการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนใช้สื่อที่ไม่เกิดความน่าสนใจ
ไม่กระตุ้นให้มีแรงจูงใจในการเรียนรู้ การติดตามดูแลของครูที่ปรึกษาไม่ต่อเนื่อง ตลอดถึงการเอาใจใส่และการให้ความร่วมมือ ในการแก้ปัญหาของผู้ปกครองเกี่ยวกับตัวนักเรียน ด้วยปัญหาดังกล่าว
โรงเรียนบ้านบางมันมีแนวคิดว่า บริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาโดยใช้รูปแบบ BANGMUN MODEL ยึดหลักวงจรการทำงานแบบ PDCA ในการขับเคลื่อน ตามกระบวนการเรียนรู้ Project Approach จัดประสบการณ์เรียนรู้แบบ Project Integration learning : PILจัดการเรียนการสอนรู้แบบบูรณาการสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียน และให้คำปรึกษาในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น เกิดทักษะการเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติ คิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีอุปนิสัยที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้อื่นมีผลงานเชิงประจักษ์มีผลสัมฤทธิ์และคุณภาพทางการศึกษาสูงขึ้น
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน (ระบุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินการพัฒนา นวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จ)
1. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านบางมัน
2. เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโรงเรียนบ้านบางมัน
3. เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียนในด้านต่าง ๆให้ดีขึ้น
4. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
เป้าหมายของการดำเนินการพัฒนา
1. ผู้เรียนได้รับรางวัลจากการประกวด แข่งขันในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น
2. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( RT , NT และ O - Net ) เพิ่มขึ้น
3. ผู้เรียนเกิดทักษะ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงาน ผลงาน สื่อ ได้ด้วยตนเอง
4. นักเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน (ระบุขั้นตอนการดำเนินงาน/กระบวนการ/วิธีการจัดทำและการนำนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติ ที่ประสบผลสำเร็จไปใช้)
วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
โรงเรียนมีเป้าหมายให้บุคลากรได้ทราบจุดเด่นและจุดที่ต้องปรับปรุงในด้านการจัดการเรียนการสอน ด้วยการเปรียบเทียบ ค้นหา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ให้เป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยโรงเรียนบ้านบางมันได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบของนักเรียนให้สูงขึ้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
- จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารแนะแนวทาง ใบงาน แบบทดสอบ เป็นต้น
- จัดทำชุดฝึกทักษะให้นักเรียนในระดับชั้นต่างๆ เพื่อพัฒนาความสามารถทางในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนให้สูงขึ้น สำหรับนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินขั้นต่ำจัดสอนเสริมนอกเวลา โดยมีเอกสารแนะแนวทาง, แบบฝึกทักษะ, ใบงาน, แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน ส่งเสริมความชำนาญยิ่งขึ้น
2. โครงการพัฒนาการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพัฒนามุ่งสู่การสอบแข่งขัน หรือพัฒนาความสามารถต่อไป
3. ชุมนุมคณิตคิดสนุก เป็นการสร้างเจตคติที่ของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการศึกษาเล่าเรียนวิชาคณิตศาสตร์
4. จัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ ร่วมกับกลุ่มสาระอื่นที่มีการเชื่อมโยงในรายวิชาอื่นๆ ทุกวันพฤหัสบดีของสัปดาห์ เวลา 8.30 น. 9.50 น. เช่น การตอบปัญหาคณิตศาสตร์, เกม 180 ไอคิว, ทักษะการฟังนับคำจากเพลง, ทายคำจากวาดภาพทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
5. ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันระดับเขตพื้นที่ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ตามศักยภาพของผู้เรียน โดยการสอนเสริม ใน ชั่วโมงที่ 7
6. จัดแสดงและประกวดโครงงานต่าง ๆ ในงานสรุปผลงานทางวิชาการ ในงานจัดแสดงผลงาน OPEN HOUSE โรงเรียนบ้านบางมัน
7. จัดกิจกรรมสอนเสริมภาษาไทย ในตอนเช้าของทุกวัน เขียนตามคำบอก เขียนเรื่องจากภาพ ฝึกการอ่าน
ขั้นตอนการดำเนินงานโดยใช้โมเดล
โรงเรียนบ้านบางมัน นำเสนอกระบวนการ/วิธีการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจด้วยวิธีการที่หลากหลาย ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการบริหารจัดการเรียนรู้เชิงบวก สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ รวมทั้งมีการประเมินผลการเรียนรู้ และนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลมาใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และมีการบริหารจัดการโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง รูปแบบ active learning ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่ต่อการเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โดยนำนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง มาสร้างความตระหนักแก่ครูผู้สอนโดยเน้นในเรื่องการมอบหมายงานและให้การบ้านนักเรียน การสอนซ่อมเสริม การบริหารจัดการชั้นเรียน และแหล่งเรียนรู้และการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา สอดคล้องกับความสนใจและความแตกต่างของนักเรียนโดยจัดกิจกรรมบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ เช่น กระเป๋าสานเส้นพลาสติก ไม้กวาด เกษตรอินทรีย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำขนม สืบค้นข้อมูล ICT ผู้บริหารและคณะครูมีการประชุมจัดทำแบบบันทึกข้อตกลงในการปฏิบัติงานในหน้าที่เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระหว่างผู้อำนวยการโรงเรียนกับครูและบุคลากรทางการศึกษา (MOU) เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาผู้เรียนมีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน คณะครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิด และจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับนโยบายของ สพฐ.ต่อไป
โรงเรียนบ้านบางมันมีเป้าหมายที่จะดำเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ ด้วยความร่วมมือของคณะครูและบุคลากรในโรงเรียนบ้านบางมันทุกท่าน ซึ่งมีครูที่ปรึกษาเป็นหลักสำคัญ ในการดำเนินการ ติดตาม กำกับดูแลให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียน มีกระบวนการทำงานเชิงระบบโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (RT) (NT) (O-NET) ได้แก่ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นดำเนินการตามแผน (Do) ขั้นการตรวจสอบ (Check) และขั้นการรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา (Action)และบริหารงานโดยใช้รูปแบบ ดังนี้
1. การบริหารงานโดยใช้รูปแบบ BANGMUN MODEL ซึ่งนางกาญจนาวดี หวังดีกลาง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางมัน เน้นระบบการนิเทศภายใน โดยใช้เป็นหลักในการบริหารจัดการระบบคุณภาพ
2. ประชุม รับนโยบายจากท่านผู้อำนวยการโรงเรียน เรื่องการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 ตามนโยบายของท่านผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และนโยบายของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ท่านผู้อำนวยการโรงเรียน ทำบันทึกข้อตกลง ร่วมกับกับครูและบุคลากรทุกคน
4. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบและดำเนินการติดตาม ขณะนักเรียนอยู่ที่บ้าน ในการเรียนซ่อมเสริมและทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม
5. ครูที่ปรึกษาตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับต่ำ
6. ครูที่ปรึกษาติดตามให้นักเรียนดำเนินการซ่อมเสริมในแต่ละรายวิชาจนแล้วเสร็จโดยกำหนดเวลาในการซ่อมให้เสร็จสิ้น
7. สรุปรายงานผลเสนอผู้บริหารทราบ
ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
มีการวิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด วิเคราะห์ผู้เรียน ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลการสร้างสื่อ/นวัตกรรม โดยวางแผนการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นให้นักเรียนเกิดความรู้ตามผลการเรียนรู้และมีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คือ การให้เหตุผล การแก้ปัญหา และการสื่อสาร สื่อความหมายและการนำเสนอ อย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการของนวัตกรรม BANGMUN MODEL ในการบริหารจัดการดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานกิจกรรม ของสถานศึกษารวมไปถึงบุคลากรให้มีเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจนและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด มีประสิทธิภาพส่งผลให้นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 ขึ้นไป และมีผลการทดสอบระดับชาติ (RT, NT , O - Net ) เพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับประเทศ
4. ผลสำเร็จของการดำเนินงาน (ระบุผลสำเร็จของการดำเนินงานที่เกิดจากการนำนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่ประสบ ผลสำเร็จไปใช้ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน)
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
1. ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (การสอบ RT ) การออ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่อง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รวมทั้ง 2 ด้าน สูงกว่าระดับประเทศ
2. ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (การสอบ NT ) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าระดับประเทศ
3. นักเรียนได้รับเกียรติบัตร ได้รับรางวัลเหรียญทอง ชนะเลิศ การประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ ประเภทบูรณาการความรู้ในคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ ระดับชั้น ป.4 - 6
งานศิลปะหัตกรรมนักเรียน ประจำปี 2566 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง
4. นักเรียนได้รับเกียรติบัตร ได้รับรางวัลเหรียญทอง ชนะเลิศ การประกวดแปรรูปอาหาร ระดับชั้น ป.4 - 6 งานศิลปะหัตกรรมนักเรียน ประจำปี 2566 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง
5. นักเรียนได้รับเกียรติบัตร ได้รับรางวัลเหรียญทอง ชนะเลิศ การประกวดโครงงานอาชีพ ระดับชั้น ป.4 - 6 งานศิลปะหัตกรรมนักเรียน ประจำปี 2566 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง
6. นักเรียนได้รับเกียรติบัตร ได้รับรางวัลเหรียญทอง การประกวดโครงงานคุณธรรม ระดับชั้น ป.4 - 6 งานศิลปะหัตกรรมนักเรียน ประจำปี 2566 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง
7. นักเรียนได้รับเกียรติบัตร ได้รับรางวัลเหรียญทอง การประกวดโครงงานคุณธรรม ระดับชั้น ป.1 - 3 งานศิลปะหัตกรรมนักเรียน ประจำปี 2566 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง
8. นักเรียนได้รับเกียรติบัตร ได้รับรางวัลเหรียญเงิน การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
แบบทดลอง ระดับชั้น ป.4 - 6 งานศิลปะหัตกรรมนักเรียน ประจำปี 2566 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง