การอ่าน มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ มีประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง เช่น พัฒนาการศึกษา พัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้รู้เท่าทันเหตุการณ์และมีความทันสมัย การที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าได้ต้องอาศัยประชาชนที่มีความรู้ ความสามารถ ซึ่งความรู้ต่างๆ ก็ได้มาจากการอ่าน ปัจจุบันทุกภาคส่วนตะหนักถึงความสำคัญของการอ่านที่จะเป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมในชีวิต
ประจำวัน จึงเร่งส่งเสริมรักการอ่านทั้งภาครัฐและเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดนโยบายและจุดเน้น ปีการศึกษา 2567 โดยน้อมนำพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาเพื่อให้เยาวชนไทยเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ 4 ด้าน คือ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม 3) มีงานทำ มีอาชีพ 4) เป็นพลเมืองที่ดี สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 รวมถึงนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ประกาศนโยบายและจุดเน้น ประจำปีงบประมาน พ.ศ.2567 ด้านการส่งเสริมการอ่าน เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
โรงเรียนบ้านใหม่พนมทองได้ดำเนินการคัดกรองการอ่านออกเขียนได้ ตามนโยบาย เด็กไทยวิถีใหม่อ่านออกเขียนได้ทุกคน ในปีการศึกษา 2566 จากแบบคัดกรองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ผลการคัดกรองการอ่านออกเขียนได้ ตามนโยบายของผู้เรียนโรงเรียนบ้านใหม่พนมทองต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้
จากความสำคัญที่กล่าวมา กลุ่มสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาคอมพิวเตอร์ ได้จัดทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ซึ่งการอ่านออกเขียนได้จะส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มความ
สามารถ เต็มศักยภาพ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนบ้านใหม่พนมทอง จึงจัดกิจกรรม คอมพิวเตอร์แสนสนุก ส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้เทคโนโลยีวิทยาการคำนวณ (Computing science) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) มีพื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) และมีพื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and information literacy) ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาทักษะสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 3R8C ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม คือ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6
เป้าหมายของการจัดกิจกรรม
1) เชิงปริมาณ
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 ร้อยละ 70 มีผลการประเมินทักษะการอ่านและทักษะการคิดเชิงคำนวณ อยู่ในระดับดี ขึ้นไป
2) เชิงคุณภาพ
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะการอ่านและทักษะการคิดเชิงคำนวณ อยู่ในระดับดีขึ้นไป