1. ความเป็นมาและสภาพปัญหา
เนื่องจากนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 บางส่วนยังอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้อยู่มาก ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาภาษาไทยต่ำกว่าเป้าหมาย จึงได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะวิชาภาษาไทยซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนในวิชาอื่นๆ นักเรียนจำเป็นต้องอ่านออกเขียนได้ทุกคน และเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเรื่อง การอ่านออกเขียนได้ และการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จึงได้ดำเนินกิจกรรมนี้เพื่อเป็นการแก้ไขและพัฒนาการอ่านและการเขียนให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ทุกคน
2. วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรม
2.1 วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
1) เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3
2.2 เป้าหมายของการจัดกิจกรรม
1) เชิงปริมาณ
1.1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ทุกคน มีผลการประเมินทักษะการอ่านการเขียน อยู่ในระดับดีขึ้นไป
2) เชิงคุณภาพ
2.1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 มีทักษะการอ่านการเขียน อยู่ในระดับดีขึ้นไป
3. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ปีการศึกษา 2567
4. ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม
ระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 31 กรกฎาคม 2567
5. ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
(P:ขั้นวางแผน)
1. กำหนดกิจกรรมการส่งเสริมการอ่านการเขียน เป็นการกำหนดวิธีการและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียน เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเขียนของนักเรียนให้มากขึ้น คือ กิจกรรมภาษาไทยวันละคำ
(D: ขั้นดำเนินงาน)
2. ดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมการอ่านการเขียน ตามกิจกรรมที่กำหนด ดังนี้
1) ครูผู้รับผิดชอบแจกสมุดบันทึกภาษาไทยวันละคำให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3
2) ตัวแทนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ผลัดกันออกมานำเสนอคำศัพท์ภาษาไทยวันละคำ ที่กิจกรรมหน้าเสาธง โดยนำเสนอวันละ 1 คำ ตั้งแต่วันจันทร์ วันศุกร์
3) ครูผู้รับผิดชอบให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 บันทึกคำศัพท์ภาษาไทยวันละคำลงในสมุดบันทึกภาษาไทยวันละคำที่คุณครูจัดทำขึ้น ในชั่วโมงเรียนวิชาภาษาไทยทุกวัน พร้อมทั้งฝึกอ่านคำศัพท์กับคุณครูเป็นรายบุคคล
(C: ขั้นติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล)
3. ทดสอบการอ่านการเขียนของนักเรียน เพื่อดูผลการอ่านและการเขียนของนักเรียน
1) แบบบันทึกคะแนนการอ่านการเขียนของนักเรียน
4. รวบรวมสรุปผลข้อมูล เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ทุกคน ผ่านเกณฑ์การอ่านการเขียนระดับดีขึ้นไป
(A: ขั้นพัฒนา แก้ไข / ปรับปรุง)
5. นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไข โดยตรวจสอบกิจกรรมที่ควรปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่ ฝึกให้นักเรียนอ่านและเขียนคำบัญชีพื้นฐานของแต่ละระดับชั้นในชั่วโมงเรียนวิชาภาษาไทย
6. ผลการดำเนินกิจกรรม
6.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ทุกคน ได้รับการส่งเสริมทักษะด้านการอ่านการเขียนภาษาไทยจากการจัดกิจกรรมตามที่กำหนด
6.2 ผลสัมฤทธิ์
1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ทุกคน ผ่านเกณฑ์การอ่านการเขียนระดับดีขึ้นไป
6.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
1) คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียนมีคุณภาพสูงขึ้น
2) เสริมสร้างความสามัคคี ความร่วมมือในหมู่คณะครู ผู้บริหาร และนักเรียน
3) โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
7. ปัจจัยความสำเร็จ
1) ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและเอาใจใส่กับการดำเนินงาน
2) การดำเนินกิจกรรมมีเวลาที่เพียงพอ
3) บุคลากรทุกคนให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม
4) การร่วมกิจกรรมของนักเรียนมีความพร้อมทุกครั้ง
8. บทเรียนที่ได้รับ
1) การดำเนินงานที่เป็นระบบจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนที่ยั่งยืน
2) การดำเนินกิจกรรมต้องอาศัยปัจจัยหลายประการที่สำคัญคือปัจจัยด้านบุคลากรในโรงเรียน
3) การดำเนินกิจกรรมที่บรรลุผลสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่าย
9. การเผยแพร่
1) จัดนิทรรศการเผยแพร่แก่นักเรียนและคุณครูในโรงเรียน