ดนตรีเป็นศิลปะที่ถูกนำไปแปรความหมายต่าง ๆ มากมาย การค้นหาความหมายในเสียงดนตรี นักภาษาศาสตร์ได้พยายามนำเสียงดนตรีมาตีความ ให้นิยายที่ได้ยินทั่วไปว่า “ดนตรีเป็นภาษาสากล” บางครั้งก็จะได้ยินว่า “ดนตรีเป็นภาษาของอารมณ์”
สำหรับสถานศึกษานั้น ไม่ว่าที่ใดก็ตามจะมีหลักสูตรวิชาดนตรี – นาฏศิลป์ อยู่ด้วย ซึ่งจัดเป็นวิชาบังคับที่นักเรียนต้องเรียน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการเรียนบรรเลงเครื่องดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเพื่อส่งผลให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจในรายวิชามากขึ้น และเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ จากปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำงานวิจัยเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมความสนใจในการเรียนต่อวิชาดนตรี – นาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนวัดสุทธาวาส เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความสนใจต่อการเรียนในรูปแบบต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมความสนใจในการเรียนต่อวิชาดนตรี – นาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสุทธาวาส
2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความสนใจในการเรียนวิชาดนตรี – นาฏศิลป์ ระหว่างการร้องเพลงและบรรเลงเครื่องดนตรี
จากการศึกษาพฤติกรรมความสนใจในการเรียนต่อวิชาดนตรี – นาฏศิลป์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
ผู้เรียนมีพฤติกรรมความสนใจต่อการเรียนร้องเพลงสูงกว่าการเรียนบรรเลงเครื่อง โดยค่าเฉลี่ย ของคะแนนความสนใจในการเรียนการร้องเพลงมีค่าเท่ากับ 4.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.64 และค่าเฉลี่ย ของคะแนนความสนใจในการเรียนวาดภาพมีค่าเท่ากับ 3.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.58