รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนวัดควนลังมิตรภาพที่ 11 เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยใช้ DLTV ข้าพเจ้าได้ยึดหลักสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบการบริหารจัดการ ๓ ประการ ดังนี้
๑. ศาสตร์พระราชา ศาสตร์แห่งแผ่นดิน ข้าพเจ้าได้น้อมนำและสานต่อโครงการพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่ทรงห่วงใยเรื่องการศึกษาของเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ
ให้มีความเสมอภาคเท่าเทียม
๒. Distance Learning (DLTV) คือ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หมายถึง ระบบการศึกษา ที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกันทั้งทางสถานที่และเวลา แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยงในการเรียนการสอน
๓. จุดเน้น สภาพบริบท ความต้องการ นโยบายต่างๆ ของโรงเรียนวัดควนลังมิตรภาพที่ 11 โดยได้วิเคราะห์สภาพปัญหาที่เป็นปัญหาสำคัญ คือโรงเรียนขนาดเล็กไม่สามารถจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโรงเรียนขนาดกลาง ขนาดใหญ่ที่มี
ความพร้อมกว่าได้
ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่เป้าหมายใช้หลักการ ๗ ประการ ดังนี้
๑. สร้างความตระหนักเห็นคุณค่าความสำคัญ ด้วยการประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจทุกฝ่าย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา
๒. จัดหาทรัพยากรสนับสนุน วางแผนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมอย่างจริงจังและอำนวยความสะดวกให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
๓. จัดสภาพภูมิทัศน์ให้เอื้ออำนวย ผู้บริหาร ครู ต้องจัดสภาพภูมิทัศน์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือห้องเรียนให้เหมาะสมกับเอื้อต่อการปฏิบัติกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้
๔. พัฒนาครูด้านความรู้ความเข้าใจ พัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจและ สามารถพัฒนาตนเอง โดยการใช้สื่อการศึกษาทางไกลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLTV) ไปใช้ใน
การจัดกระบวนการเรียนการสอน มาผสมผสานในการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
๕. ดำเนินการขับเคลื่อนตามแผนร่วมกัน ขับเคลื่อนนโยบายสูการปฏิบัติโดยกําหนดเปนวิสัยทัศน หรือกลยุทธ เปาหมายอยาง สอดคลองพรอมปฏิบัติไดจริง โดยการร่วมมือกัน
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
๖. วัดประเมินผลและความพึงพอใจ ติดตามและการสะท้อนผลที่มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งผลที่ได้จาการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) นำมารวบรวมข้อมูลและ วิเคราะห์สรุปรายงานผล
๗. วิพากษ์ ทบทวน เพื่อปรับปรุงพัฒนา นำผลที่ได้จากการวัดประเมินผล มาวิพากษ์ ทบทวนเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาการ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
จากหลักการทั้ง ๗ ประการ สามารถขับเคลื่อนไปสู่
๑. การพัฒนา (Development)
๒. ที่เหนือกว่า (Extra)
๓. ผลยอดเยี่ยม (Excellent)
กิจกรรม PLC เป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรม
เป็นการผนวกรวมกับกระบวนการบริหารจัดการ ๗ ประการ ซึ่งสามารถทำให้นวัตกรรมบรรลุไปสู่เป้าหมายให้เกิดการพัฒนา (Development) ที่เหนือกว่า (Extra) และได้ผลยอดเยี่ยม (Excellent) ซึ่งกิจกรรม PLC (Professional Learning Community) หรือชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(ทางการศึกษา) เป็นการสร้างเครือข่ายทั้งภายในโรงเรียน และภายในเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต ๒ โดยการรวมตัวกันของกลุ่มครู ผู้บริหารโรงเรียนผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมมือร่วมใจกันเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ผู้เรียนให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการทำงานอย่างมืออาชีพเรียนรู้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันตลอดจนร่วมดำเนินการวางแผนอย่างเป็นระบบ ตั้งเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ร่วมกัน ร่วมกันดำเนินงาน ร่วมสะท้อนผล การทำงานร่วมพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ผลของการขับเคลื่อนนวัตกรรม ด้วยนวัตกรรม 7 DEE+ by PLC Model ส่งผล
ให้เกิด
๑. โอกาสทางการศึกษา ผู้เรียนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่ทันยุคทันสมัยกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมนุษย์ สามารถพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ได้อย่างเต็มที่เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ มีสภาพภูมิทัศน์ที่เหมาะสมเอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ และความรู้ด้านวิชาชีพสามารถเสริมสร้างให้ผู้เรียนพึ่งตนเองได้
๒. คุณภาพงาน ผู้เรียนมีทักษะความพร้อมด้วย 3R8C อย่างแรกคือ 3R คือทักษะพื้นฐานที่จำเป็น ต่อผู้เรียนทุกคน มีดังนี้ Reading คือ สามารถอ่านออก (W)Riteing
คือ สามารถเขียนได้ (A)Rithmatic คือ มีทักษะในการคำนวณ และอีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้
3R คือ 8C ซึ่งเป็นทักษะต่างๆที่จำเป็น มีดังนี้
Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรม Collaboration teamwork and leadership คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะความเป็นผู้นำ
Communication information and media literacy คือ มีทักษะในการสื่อสาร
และการรู้เท่าทันสื่อ
Computing and IT literacy คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี Career and learning skills คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้
Compassion คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย
นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง เป็นนักคิด สิ่งที่จะต้องเกิดในตัวผู้เรียนคือ คนดีและคนเก่งสังคมคนเก่งไม่ได้หมายถึงเพียงคนที่เรียนเก่งหรือแม่นยำวิชาการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสังคมของคนที่เป็นนักคิด นักปรับปรุงนักแสวงหา นักถ่ายทอด นักแบ่งปัน และนำความรู้ความสามารถที่มีมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของของตนเองและส่วนรวม
ครูมีความเชื่อมั่น ศรัทธาในวิชาชีพ ความรักและเชื่อมั่นในอาชีพของตนย่อมทำให้ทำงานอย่างมีความสุขอันจะส่งผลให้อาชีพนั้นเจริญรุ่งเรือง
๓. ประสิทธิผลของนวัตกรรม จากการเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพทำให้นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีผลงานเด่นเป็นที่ยอมรับ ด้วยคุณภาพของนักเรียนปรากฏเชิงประจักษ์ทำให้ครูและโรงเรียนเป็นที่เชื่อมั่นศรัทธาของสังคม ได้รับความไว้วางใจของชุมชน หน่วยงานต้นสังกัด และอื่นๆ