หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติ โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในด้านความสามารถในการสื่อสารความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหาความสามารถในการใช้ทักษะความคิดและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพ และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัย และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์
การจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันและอนาคตจะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และสอดคล้องกับความต้องการทางสังคมและโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นสำคัญ นั่นคือ การเตรียมผู้เรียนให้มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสารและการร่วมมือ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม สามารถแข่งขันและอยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้
กระบวนการสอนแบบ Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลากหลายเทคนิคที่สามารถนำมาจัดการเรียนรู้ได้
จากผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระที่ 1 ตัวชี้วัดที่ 1.1 ยังมีผลการทดสอบต่ำกว่าระดับประเทศ ผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่วางไว้ และเล็งเห็นว่า เรื่องเลขยกกำลังเป็นพื้นฐานในการเรียนในหน่วยอื่นๆทางคณิตศาสตร์ต่อไป อีกทั้งนักเรียนยังขาดความกระตือรือร้นในการเรียน ผู้สอนจึงมีความสนใจใช้เทคนิคการสอนแบบ Active Learning เลือกใช้สื่อในเว็บไซต์ OBEC Content Center ทั้งคลิปการเรียนการสอนจากเว็บไซต์ OBEC Content Center การนำสื่อการเรียนรู้และนำใบงาน เรื่อง เลขยกกำลัง จากเว็บไซต์ OBEC Content Center มาช่วยจัดการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนในเรื่องเลขยกกำลังต่อไป
วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กิจกรรมแบบ 5E โดยใช้สื่อจากระบบ OBEC Content Center
2.2 เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
บทเรียนที่ได้รับ
จาการใช้งานคลังสื่อคลิปการเรียนการสอนจากเว็บไซต์ OBEC Content Center เรื่อง เลขยกกำลัง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) รูปแบบกิจกรรม 5E เป็นการเรียนรู้ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อสร้างความสนุกสนานหรือความบันเทิงเพียงเท่านั้นแต่ยังช่วยในเรื่องการพัฒนาทักษะทางด้านความคิดและการวางแผนในการแก้ปัญหาด้วยการเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม การเรียนรู้แบบร่วมมือ ทำให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะการคิดแก้ปัญหาตามเป้าหมายของรายวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ในการนำนวัตกรรมสื่อคลิปการเรียนการสอนจากเว็บไซต์ OBEC Content Center เรื่อง เลขยกกำลัง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) รูปแบบกิจกรรม 5E ไปใช้นั้น ครูต้องจัดการเรียนรู้แบบให้นักเรียนปฏิบัติจริง นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่ใช้สื่อประสมและกระบวนการกลุ่มเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีชีวิตชีวาช่วยให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การสอน การลงมือปฏิบัติจริง จะช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ (K) ทักษะการทำงาน(P) และเกิดเจตคติที่ดี (A) ในการทำงานที่ครูมอบหมาย