1. ความเป็นมา
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 2579 มีหลักการจัดการศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน มีโอกาสในการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้แต่ละบุคคลได้พัฒนาตามพร้อมและความสามารถให้บรรลุขีดสูงสุด มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม รวมทั้งมีสมรรถนะในการทำงานเพื่อการประกอบอาชีพตามความถนัดและความสมัครใจ อันจะนำไปพัฒนาตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ (2560, หน้า 76) แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 2570 เป็นการศึกษาเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน เป็นผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และเป็นพลเมืองที่ที่แข็งของประเทศ ตามวิสัยทัศน์ ผู้เรียนมีความรู้ และสมรรถนะที่จำเป็น มีความสุข และมีเป้าหมาย ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ (2566, หน้า 14) ผลการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านมาพบว่า คุณภาพของคนไทยยังเป็นอุปสรรคต่อการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งเรื่องพัฒนาการและสติปัญญา เด็กกลุ่มอายุ 3 5 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในสถานศึกษาที่ยังมีปัญหาด้านคุณภาพและมาตรฐาน เด็กกลุ่มวัยเรียนของไทยส่วนใหญ่ มี IQ ที่ต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากล ขณะที่ EQ มีคะแนนเฉลี่ยที่ต่ำกว่าปกติ ผลการทดสอบ O-NET ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนใหญ่ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 50 (2566, หน้า 10 - 11)
โรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา) เป็นโรงเรียนที่มีการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้รับโอกาส ความเสมอภาคและมีความเท่าเทียม เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มตามศักยภาพ มีความรู้ ความสามารถ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีทักษะทางสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จากผลการศึกษาผลการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2564 ที่ผ่านมา พบว่า มีผลการทดสอบ O-NET ต่ำกว่าปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 รายวิชา คือ วิชาภาษาไทย และวิชาภาษาอังกฤษ เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนระดับประเทศ พบว่า มีคะแนนต่ำกว่าคะแนนระดับประเทศ จำนวน 3 รายวิชา คือ วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนจึงได้ประชุม ร่วมกันวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ 1) ด้านผู้เรียน ผู้เรียนไม่มีความกระตือรือร้น และไม่เห็นความสำคัญของการสอบ 2) ด้านผู้สอน ผู้สอนจัดกิจกรรมการสอนไม่น่าสนใจ 3) ด้านสถานศึกษา บรรยากาศไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ 4) ด้านอื่นๆ สถานการณ์ของโรคโควิด 19 ทำให้นักเรียนต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน ทำให้เกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา) เห็นความสำคัญของการพัฒนานักเรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้ 5G Model มาใช้ในการพัฒนา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน วัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา) อย่างยั่งยืนต่อไป
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา) ให้เพิ่มสูงขึ้น
เป้าหมายเชิงปริมาณ
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เพิ่มสูงขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. โรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา) มีนวัตกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยใช้ 5G Model
2. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เพิ่มสูงขึ้น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
3. ครูได้ดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยใช้ 5G Model
3. กระบวนการดำเนินงาน
โรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา) มีแนวทางบริหารจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน โดยนำหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จึงออกแบบนวัตกรรมโดยใช้ 5G Model เพื่อนำมาใช้ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ภายใต้กระบวนการบริหารด้วยวงจรคุณภาพ PDCA มาใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อน โดยการบริหารจัดการผ่านทฤษฎีระบบ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นการวางแผน (Plan) สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาความต้องการเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทำให้ทราบบริบทของโรงเรียนเพื่อจัดลำดับความสำคัญและกำหนดกรอบในการพัฒนานวัตกรรม เป็นการออกแบบนวัตกรรม โดยใช้ 5G Model ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน จากผลสรุปของการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค การพัฒนาโรงเรียน
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับบุคลากรทุกฝ่ายเพื่อนำนวัตกรรม 5G Model ไปใช้ดำเนินงาน มีการดำเนินงานเป็นทีม ดำเนินงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดแนวทางที่จะพัฒนางานให้มีคุณภาพสูงขึ้น ระบุขั้นตอนการดำเนินงานแบบ P-D-C-A- อย่างต่อเนื่อง โดยมีกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนี้
5G Model เพิ่มผลสัมฤทธิ์ พิชิต O-NET
G1 = Good Governance หมายถึง การบริหารจัดการที่ดี โดยใช้หลักธรรมาภิบาล ที่มุ่งเน้นผลการปฎิบัติงานขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย
- ผู้บริหารกำหนดนโยบาย เป้าหมายการยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สร้างความตระหนักให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญ
G2 =Good Team หมายถึง ทีมที่ดี การทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน
- แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ประกอบด้วยผู้บริหาร ครูประจำชั้น และครูผู้สอนรายวิชา ร่วมวางแผน กำหนดเป้าหมาย แนวทาง วิธีการในการปฏิบัติ
G3 = Good Activities หมายถึง กิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
1. กิจกรรม ยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยใช้ผลการทดสอบระดับชาติเป็นฐาน
1) วิเคราะห์ผลการสอบ O-NET ย้อนหลัง แยกตามตัวชี้วัด แบ่งข้อสอบออกเป็น ง่าย ปานกลาง และยาก
2) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ K P A และศึกษา Test blueprint โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อบรรลุข้อสอบที่ยาก ข้อง่ายใช้สอน ข้อปานกลางใช้ออกข้อสอบปลายปี/ปลายภาค ส่วนข้อยากที่สุดให้เป็นการบ้านให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และนำมาเรียนรู้ต่อที่โรงเรียนโดยครูอธิบายเพิ่มเติม
3) ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน โดยใช้ Active Learning , Think & share และกระบวนการกลุ่ม
4) สอบ Pre O-NET เพื่อสร้างความคุ้นเคยเกี่ยวกับข้อสอบให้นักเรียน โดยดำเนินการสอบเป็นระยะ
1. กิจกรรมสอนเสริม เติมความรู้
1) กิจกรรมสอนพิเศษช่วงปิดภาคเรียนที่ 1 โดยแบ่งหมวดวิชา ให้นักเรียนเลือกเข้าเรียนตามความสนใจ เพื่อเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายและถาวร
2) กิจกรรมการเรียนแบบเข้มข้นในเวลาเรียนปกติ แต่เน้นใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก โดยมีกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและขั้นตอนจากง่ายไปหายาก คำนึง ส่งเสริมความสามารถตามความเหมาะสม และถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. กิจกรรมสอนเพิ่ม เสริมเทคนิค ให้เทคนิคการทำข้อสอบ ทั้งการฝนข้อสอบ ทำความรู้จักข้อสอบ และฝึกฝนทำข้อสอบ บันทึกคะแนนพัฒนาการ
G4 = Good Environment หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่ดี โดยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น สื่อ มุมหนังสือ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
G5 = Good Achievement หมายถึง ความสำเร็จที่ดี อันประกอบไปด้วย นักเรียนเป็นคนเก่ง ดี มีสุข ครูเป็นครูที่มีคุณภาพ โรงเรียนมีมาตรฐาน
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการประเมินผลและตรวจสอบการบริหารโรงเรียนจากการใช้ 5G Model โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการนำผลการประเมินมาสะท้อนผลจากการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) เกิดนวัตกรรมทั้งด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมนักเรียน ส่งผลให้โรงเรียนประสบความสำเร็จในการดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผลการดำเนินงานและประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา) ให้เพิ่มสูงขึ้น
ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา) มีผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2565 เพิ่มสูงขึ้น
ตาราง 1 แสดงผลการทดสอบ O-NET เปรียบเทียบปีการศึกษา 2564-2564 และ ปีการศึกษา 2564-2565 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดขนุน (พรหมราษฎร์วิทยา)
วิชา คะแนนเฉลี่ย ผลต่างระหว่าง
ปีการศึกษา 2563 -2564 คะแนนเฉลี่ย ผลต่างระหว่าง
ปีการศึกษา 2564 -2565
ปีการศึกษา 2563 ปีการศึกษา 2564 ปีการศึกษา 2564 ปีการศึกษา 2565
ภาษาไทย 59.25 46.66 -12.59 46.66 54.55 +7.89
คณิตศาสตร์ 29.17 33.56 +4.39 33.56 30.87 -2.69
วิทยาศาสตร์ 37.74 40.17 +2.43 40.17 50.36 +10.19
ภาษาอังกฤษ 46.46 38.75 -7.67 38.75 41.74 +2.99
เฉลี่ยรวม 43.15 39.79 -3.36 39.79 44.38 +4.59
*หมายเหตุ ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนต่ำกว่าปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 วิชา และต่ำกว่าระดับประเทศ จำนวน 3 วิชา ปีการศึกษา 2565 สูงกว่าปีการศึกษา 2564 จำนวน 3 วิชา และสูงกว่าระดับประเทศทุกวิชา
4.2 ประโยชน์ที่ได้รับ
ด้านนักเรียน
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความภูมิใจในตนเอง มีความสุขในการเรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
ด้านครู
ครูเป็นครูที่มีคุณภาพ มีทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นแบบอย่างที่ดี มีความภาคภูมิใจในการทำงานและได้รับการยกย่องจากเพื่อนร่วมงาน
ด้านสถานศึกษา
โรงเรียนมีนวัตกรรมการเรียนรู้ 5G Model ยกระดับผลสัมฤทธิ์ พิชิต O-NET ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เป็นที่ยอมรับของชุมชน ส่งผลให้มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี