ชื่อเรื่อง รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนา
ทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวชนาภา กุลยะ
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) พัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 4) ประเมินความพึงพอใจของครูและเด็กปฐมวัยหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบงคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน และครูผู้สอนเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในจังหวัดนครพนม จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและเด็กปฐมวัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดประสบการณ์ สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง มีขื่อว่า Introduction to development : I ; Introduction to development : I; Learning experience analysis step : L; Summarizing and creating Knowledge : S (IDLS Model) IDLS Model มีกระบวนการจัดประสบการณ์ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่การพัฒนา (Introduction to development : I) ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการพัฒนา (Development process : D) ขั้นที่ 3 ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning experience analysis step : L) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปและสร้างองค์ความรู้ (Summarizing and creating Knowledge : S)
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.24/88.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ทักษะทางสังคมของสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ครูและเด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3