ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้หนังสือ
ภาพสามมิติประกอบคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาววงเดือน แสนมอม
ปีที่ทำวิจัย 2566
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้หนังสือภาพสามมิติประกอบคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้หนังสือภาพสามมิติประกอบคำคล้องจองสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) ส่งเสริมทักษะการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 4) ประเมินความพึงพอใจของครูและเด็กปฐมวัยหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้หนังสือภาพสามมิติ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน และครูผู้สอนเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสัมภาษณ์ (interview), แบบตรวจสอบความเหมาะสมของการนำรูปแบบไปใช้ แบบตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือการใช้แบประเมินคุณภาพแผนการจัดประสบการณ์ของครูแบบประเมินคุณภาพของครู และแบบประเมินรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้หนังสือภาพสามมิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) และดัชนีการจัดเรียงลำดับความสําคัญของความต้องการความจําเป็น (Modified priority needs index : PNIyndrome)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้หนังสือภาพสามมิติประกอบคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีชื่อเรียกว่า AEE Model มี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (A: Arouse interes) 2) ขั้นสำรวจและค้นหา (E: Explore and search) 3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (E: Explain and draw conclusions) ตามลำดับ
2. จากผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้หนังสือภาพสามมิติประกอบคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประสบความสำเร็จในการนําไปใช้ระดับ มากที่สุด สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในการพัฒนาคุณภาพครูและเด็กปฐมวัย
3. ทักษะการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้หนังสือภาพสามมิติประกอบคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้หนังสือภาพสามมิติประกอบคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นเด็กปฐมวัยเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมาก