นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศโดยใช้ BTS 4S MODEL โรงเรียนบ้านทุ่งเสียน จ.สุราษฎร์ธานี
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศโดยใช้ BTS 4S Model
๒. เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งเสียนสู่ความเป็นเลิศ
๓. เพื่อประเมินผลความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ครู และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานโดยใช้ BTS 4S Model
ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพและการศึกษาเชิงปริมาณ เก็บรวบรวม ข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้อง ส่วนการศึกษาเชิงปริมาณด้านความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ครู และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานโดยใช้ BTS 4S Model โรงเรียนบ้านทุ่งเสียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เก็บรวบรวมข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling)
๑. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย
๑.๑ ผู้นำชุมชน ครู ผู้ปกครองเครือข่าย และนักเรียน
๑.๒ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้นจำนวน ๗ คน
๒. ขอบเขตด้านเนื้อหา
ศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามตามรูปแบบการบริหารงานโดยใช้ BTS 4S
Model โรงเรียนบ้านทุ่งเสียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กำหนดขอบข่ายการศึกษาผลการดำเนินงานโดยประเมินผลผลิต
และผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำนวัตกรรมไปใช้ ดังนี้
ด้านผลผลิต ประเมินผลการดำเนินงาน จากประเด็นต่อไปนี้
- ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามเป้าหมายการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานโดยใช้
BTS 4S Model
- ความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานตามแนวทางรูปแบบการบริหารงานโดยใช้ BTS 4S
Model โรงเรียนบ้านทุ่งเสียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ด้านผลลัพธ์ ประเมินผลการดำเนินงานจากประเด็น ดังนี้
๑.ด้านวิชาการ ได้แก่
๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
๑.๒ พัฒนาด้านวิชาการต่อเนื่อง
๑.๓ ผลงานหรือรางวัลเกียรติยศที่ได้รับเป็นที่ยอมรับจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง
๑.๔ การจัดการเรียนการสอน ตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
๒. ด้านงบประมาณ ได้แก่
๒.๑ บริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล
๒.๒การบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
๓. ด้านบริหารบุคคล ได้แก่
๓.๑ ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาวิชาชีพ
๓.๒ ครูและบุคลากรมีความรักในองค์กร
๓.๓ ใช้หลักตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารบุคคล
๔. บริหารงานทั่วไป ได้แก่
๔.๑ พัฒนาอาคารสถานที่ต่อเนื่อง
๔.๒ ชุมชน และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านอาคาร สถานที่
๔.๓ งานทุกด้านสำเร็จเป็นไปตามยุทธศาสตร์
๓. ขอบเขตด้านระยะเวลา
ระยะเวลาศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๒๕๖๖
รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศโดยใช้ BTS 4S MODEL โรงเรียนบ้านทุ่งเสียน
B Brainstorm (การระดมความคิด)
หมายถึง การระดมพลังสมอง การระดมความคิดจากทุกๆมุมมอง โดยไม่มีการตัดสินถูกผิด ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อหาทางเลือกในการตัดสินใจ ความคิดใหม่ๆ และใช้ในการการวางแผน
T Team work (การทำงานเป็นทีม)
หมายถึง สร้างทีมงานให้มีความเข้มแข็ง มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม หลัก
ประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน และการทำงานเป็นทีม โดยสร้างทีมงาน ในด้านต่างๆตามความ
ถนัด เพื่อให้ร่วมกันขับเคลื่อนงานและกิจกรรมตามแผนงานที่วางไว้ พร้อมกันนี้ยังสร้างและพัฒนาทีมงานสภา
นักเรียน เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทั้งการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาสถานศึกษา และสร้างเครือข่ายเพื่อประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรและหน่วยงานต่างๆ
S Supervision (การนิเทศติดตาม)
หมายถึง กระบวนการจัดการบริหารการศึกษาเพื่อชี้แนะให้ความช่วยเหลือ และร่วมมือกับครู และบุคลที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการศึกษา เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของครู และเพิ่มคุณภาพของบทเรียนให้เป็นไปตามจุดมุงหมาย
ของการศึกษา
เพื่อนำไปสู่คุณภาพการศึกษาได้แก่
S Smart Student นักเรียนคุณภาพ
หมายถึง ๑. ผู้มีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัย (Well Being Person)
๒. บุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learner Person)
๓. ผู้คิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม (Initiative and Innovative)
๔. ผู้มีความเป็นพลเมืองและพลโลกที่ดี (Good Citizen And Glogal Citizen)
๕. ผู้มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ( 21st Century Skills.
3Rs8Cs)
๖. ผู้มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (Self Reliance)
S Smart Teacher ครูคุณภาพ
หมายถึง ๑. ครูผู้เรียนรู้ ( Learner Person)
๒. ครูผู้ยึดมั่นในวิชาชีพครู (Engaged Teacher)
๓. ครูผู้มีภาวะผู้นำทางวิชาการ (Instructional Leadership)
๔. ครูผู้จัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Colaborative Teaching and Learning SKills)
๕. ผู้มีทักษะด้านวิชาการและด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน (Academic and
Instructional Skills)
๖. ครูผู้ใช้ไอที ดิจิทัล (IT Digital Skills)
S Smart School โรงเรียนคุณภาพ
หมายถึง ๑. โรงเรียนที่บริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance School)
๒. โรงเรียนนวัตกรรมรูปแบบใหม่ (Innovative School) การบริหารจัดการโดยใช้ระบบ ICT (ICT for Management)
๓. โรงเรียนที่จัดสภาพแวดล้อมทางด้านสังคมและอารมณ์ที่ดี (Socail and inmotional
Learning environment)
S Safety School สถานศึกษาปลอดภัย
หมายถึง สถานศึกษาที่ปลอดภัย ๔ ภัย ตามมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการ
๑.ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence) เช่น
▫️การทะเลาะวิวาท
▫️การล่อลวงลักพาตัว
▫️การล่วงละเมิดทางเพศ
๒.ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) เช่น
▫️ภัยจากยานพาหนะ
▫️ภัยธรรมชาติ
▫️ภัยจากอาคารเรียนและสิ่งก่อสร้าง
๓.ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ (Right) เช่น
▫️การถูกทอดทิ้ง
▫️การไม่ได้รับความเป็นธรรม
๔.ภัยที่เกิดจากผลกระทบต่อสุขภาวะทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) เช่น
▫️ติดเกม
▫️ยาเสพติด
▫️โรคระบาดมนุษย์