ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหาร PATBE MODEL เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดควนสามโพธิ์
ผู้วิจัย นายจักริน จันทขันทร์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดควนสามโพธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
ปีที่ทำวิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหาร PATBE MODEL เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดควนสามโพธิ์ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 4 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหาร PATBE MODEL ในการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนวัดควนสามโพธิ์ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการบริหาร PATBE MODEL ในการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนวัดควนสามโพธิ์
3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหาร PATBE MODEL ในการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนวัดควนสามโพธิ์ และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหาร PATBE MODEL ในการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนวัดควนสามโพธิ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสถานศึกษา โรงเรียนวัดควนสามโพธิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ได้มาโดยกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ตารางของ Krejcie and Morgan ในการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 1 คน ครู จํานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสํารวจรายการ (Check list) แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสัมภาษณ์ (Indepth interview) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าความถี่ (Frequency) และดัชนีการจัดเรียงลําดับความสําคัญของความต้องการความจําเป็น (Modified priority needs index : PNIyndrome)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานและระดับความต้องการ และความจําเป็นในการบริหาร PATBE MODEL เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดควนสามโพธิ์ ตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโดยรวม พบว่า เมื่อเรียงอันดับตามค่าเฉลี่ย 3 ด้าน จากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านพัฒนาความรู้เกี่ยวกับลูกเสือ 2) ด้าน
การพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมลูกเสือ และ 3) ด้านการพัฒนาหลักสูตรลูกเสือ ตามลำดับ
2. รูปแบบการบริหาร PATBE MODEL เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดควนสามโพธิ์ (คู่มือการบริหาร PATBE MODEL เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดควนสามโพธิ์) ซึ่งประกอบด้วย 1) สำรวจสภาพปัญหา (Proble survey : P) 2) พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude development : A) 3) ทำงานเป็นทีม
อย่างมั่นคง (Team work : T) 4) เชื่อมโยงพัฒนากิจกรรมลูกเสือ (Boyscout network : B) และ
5) ประเมินผลอย่างเที่ยงตรง (Evaluation : E) ตามลำดับ
3. ผลจากการประเมินการบริหาร PATBE MODEL เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาของโรงเรียนวัดควนสามโพธิ์ ที่ได้จากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สอดคล้องและเป็นแนวทางเดียวกันในด้านความสำเร็จของการนําไปใช้ มากที่สุด นําไปสู่การปฏิบัติจริงได้ต่อไป
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหาร PATBE MODEL เพื่อส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนวัดควนสามโพธิ์ มีความพึงพอใจต่อการนำความรู้ไปใช้ในการจัด การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด