ขั้นตอนดำเนินงาน
สมุนไพรไทยก้าวไกลสู่อาชีพในยุคดิจิทัล จากปราชญ์ท้องถิ่น
รูปแบบนวัตกรรม การพัฒนาทักษะอาชีพ ให้ผู้เรียนมีงานทำ น้อมนำพระบรมราโชบายฯ
โดยใช้ PAPPA MODEL
P : Physical participation การช่วยให้ผู้เรียนมีบทบาท
A : Application การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
P : Process Learning การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้
P : Production กำกับติดตาม ประเมินผล เพื่อตรวจสอบปัญหา และอุปสรรค
A : Analysis ปรับปรุงแก้ไขปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น หลังจากการติดตาม ประเมินผล
เพื่อพัฒนากิจกรรมและนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ
4. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
โรงเรียนมีผลสำเร็จของการดำเนินงานที่เกิดจากการนำไปใช้ คุณค่าของนวัตกรรมที่ส่งผลต่อ การพัฒนา ผู้เรียน และประโยชน์ที่ได้รับจากนวัตกรรม ดังนี้
ด้านนักเรียน
1. นักเรียนมีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ มีทักษะชีวิตและ เห็นคุณค่าในการปฏิบัติจริงจาก ปราชญ์ท้องถิ่น มีความพร้อมสู่การดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
2. นักเรียนได้ใช้ความรู้บนฐานของการปฏิบัติจริงจากปราชญ์ท้องถิ่น เข้าถึงและต่อยอดความรู้เกี่ยวกับ เกษตรอินทรีย์ของชุมชนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและบ่มเพาะประสบการณ์จนกลายเป็น Soft Power
ด้านครู
ครูผู้สอนมีแนวทางการทำงานที่พัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ไปสู่ศตวรรษที่ 21 ในการ ทำงานเป็นทีม บูรณา การองค์ความรู้ของแต่ละศาสตร์เข้าด้วยกัน เน้นให้นักเรียนปฏิบัติจริง
ด้านโรงเรียน
1. โรงเรียนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนที่มีลักษณะ ใกล้เคียงกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน
2. โรงเรียนมีหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการใช้แหล่ง เรียนรู้ท้องถิ่นบูรณาการกับหลักสูตรสถานศึกษา
3. สามารถพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีความยั่งยืนต่อไป
ด้านผู้ปกครอง
นักเรียนสามารถขยายผลจากความรู้ที่ได้ศึกษาไปยังผู้ปกครอง ในการประกอบอาชีพได้
ด้านชุมชน
ชุมชนสามารถใช้แหล่งเรียนรู้ภายในของโรงเรียน เป็นศูนย์การเรียนรู้ของ ชุมชน และมีส่วนร่วมในการเป็น ส่วนหนึ่งของความสำเร็จ จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน
5. ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยภายใน
1. ผู้บริหารและคณะครูให้ความเห็นชอบและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมมีวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัด กิจกรรมอย่างเพียงพอ
2. ครูและนักเรียนกล้าที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดของตนเองกล้าคิดกล้าลงมือทำเพื่อพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ ในการเรียนรู้ร่วมกัน
3. นักเรียนมีความรู้มาใช้ในการอธิบายเชื่อมโยงและบูรณาการองค์ความรู้ทั้งทางด้านสังคมศาสตร์เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน
ปัจจัยภายนอก
ผู้ปกครองชุมชนและหน่วยงานภายนอกให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และให้ความช่วยเหลือใน ด้านต่างๆเป็นอย่างดี
6. บทเรียนที่ได้รับ ( Lesson Learned)
บทเรียนที่ได้รับจากการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐานกับ การใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นบูรณาการกับหลักสูตรสถานศึกษา ทำให้นักเรียนได้นำเสนอ ผลงานจากการเรียนรู้ของ ตนเองด้วยความภาคภูมิใจ นักเรียนยังได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงาน แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ผู้ปกครอง ครู ที่มาเยี่ยมชม ที่เกิดจากความพยายามคิดค้นนวัตกรรมการเรียนการสอน และการ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ของครู ตลอดจนการนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ ทำให้การดำเนินงาน ประสบผลสำเร็จส่งผลต่อ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถือเป็น บทเรียนที่ได้รับ ดังนี้
- นักเรียนมีความรู้ มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ
- ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความภาคภูมิใจ และชื่นชมในผลที่เกิดแก่นักเรียน
- ชุมชนมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ
โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม โดยใช้รูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาอาชีพ ให้
นักเรียนมีงานทำ น้อมนำพระบรมราโชบายฯ โดยใช้ PAPPA MODEL ผ่านสื่อออนไลน์ ทางเว็บไซด์ของโรงเรียน มีการจัดทำวารสารเผยแพร่ผลงาน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรม
8. การขยายผลต่อยอดสู่ความยั่งยืน
การนำนวัตกรรม การพัฒนาอาชีพ ให้นักเรียนมีงานทำ น้อมนำพระบรมราโชบายฯ โดยใช้ PAPPA MODEL นำไปจัดกิจกรรมของโรงเรียน ตามแผนงานโครงการของแผนปฏิบัติการประจำปี และกิจกรรมที่สนองนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงเป้าประสงค์ของการจัดกิจกรรมของโรงเรียนในการพัฒนาทักษะอาชีพด้านต่างๆ โดยทำงานในเชิงบูรณาการภายใต้การสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานภายนอก
9. ข้อเสนอแนะในการนำผลงาน/นวัตกรรมไปใช้
ควรมีการดำเนินกิจกรรม โครงการอย่างต่อเนื่อง สร้างองค์ความรู้ ขยายเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานทักษะชีวิตให้ผู้เรียนและต่อยอดเป็นอาชีพที่ยั่งยืน