ชื่อผลงาน รายงานประเมินโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอน (นุ้ยนิธยาคาร)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1
ผู้รายงาน นายกำธร ศรีแสน
ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
¬ รายงานประเมินโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอน (นุ้ยนิธยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์และความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ อาคารสถานที่และ แหล่งเรียนรู้ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินการ (Process Evaluation) ของโครงการเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการและการประเมินผลการดำเนินงาน และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการประกอบด้วย การประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ของโครงการ การประเมินด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ของโครงการ การประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) ของโครงการ และการประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation)
การประเมินโครงการใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้ มีจำนวนทั้งหมด 106 คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 37 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 54 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 8 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 จำนวน 18 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .855 ฉบับที่ 2 จำนวน 26 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .905 ฉบับที่ 3 จำนวน 24 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .911 ฉบับที่ 4 จำนวน 12 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .864 ฉบับที่ 5 จำนวน 12 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .834 ฉบับที่ 6 จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .860 ฉบับที่ 7 จำนวน 12 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .863 และฉบับที่ 8 จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .840 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) สรุปผลการประเมินโครงการได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทในการดำเนินการโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอน (นุ้ยนิธยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 พบว่า ความต้องการจำเป็นของการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, = .312) ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, = .278) ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, = .406) สรุปมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินการโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน บ้านดอน (นุ้ยนิธยาคาร) พบว่า ด้านบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, = .133) ด้านวัสดุอุปกรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, = .177) ด้านงบประมาณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, = .211) และด้านอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, = .241) สรุปมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอน (นุ้ยนิธยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 พบว่า ด้านการวางแผน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, = .197) ด้านการดำเนินงานตามโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, = .192) ด้านการประเมินผลการดำเนินงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, = .205) สรุปมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตในการดำเนินโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านดอน
(นุ้ยนิธยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 พบว่า ด้านผลผลิตของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, = .225) องค์ประกอบย่อยด้าน ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, = .218) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, = .220) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, = .117) และด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, = .164) สรุปมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์