ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้ วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัด การเรียนการสอนวิชาเคมี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการเรียน วิธีดำเนินการวิจัย ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา มี 4 ขั้นตอน ตาม คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบ 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ 3) การทดลองใช้รูปแบบ และ 4) การประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์ของโรงเรียนรัตนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวนนักเรียน 38 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ พบว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี ควรมีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่เน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเองมากที่สุด เน้นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนรู้จักกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งคำถามและตั้งสมมติฐาน หาสาเหตุของปัญหาและสรุปผลได้อย่างสมเหตุสมผล

2. รูปแบบการเรียนการสอน มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ หลักการและแนวคิด วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ รูปแบบการเรียนการสอน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และประสิทธิภาพของรูปแบบ เท่ากับ 78.95/78.50

3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี โดยภาพรวม

อยู่ในระดับพึงพอใจมาก

1 ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การจัดการศึกษาของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน คือ มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต ซึ่งความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาระดับนี้หลักสูตรให้เน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ มีทักษะในการใช้วิทยาการ และเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 22)

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นทักษะการคิดระดับสูงและเป็นทักษะที่มีความสำคัญกับผู้เรียน เนื่องจากการที่ผู้เรียนได้มีการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบและมีเหตุผลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาโดยใช้ความรู้ ความคิดจากประสบการณ์ของตนจากข้อมูลที่รอบด้านทั้งข้อมูลเชิงวิชาการ ด้านสิ่งแวดล้อม และข้อมูลส่วนตัวของผู้คิด จะทำให้ผู้เรียนประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ และสามารถลงข้อสรุปได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. 2556 : 92) และที่สำคัญ เนื่องจากการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นการคิดอย่างมีเหตุผลโดยผ่านการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ มีหลักเกณฑ์ มีหลักฐานที่เชื่อถือได้เพื่อนำไปสู่การสรุปและตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพว่าสิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดควรเชื่อ สิ่งใดควรเลือกหรือสิ่งใดควรทำ ดังนั้น การออกแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จะเป็นแนวทางที่ครูผู้สอนสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจธรรมชาติและเป้าหมายของการเรียน ทำให้ผู้เรียนรู้เหตุผลของการค้นคว้าหาความรู้ ทำให้รู้ว่าจะค้นหาอะไร อย่างไร เมื่อใด เรียกว่ารู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่และทำเพื่ออะไร (ชนาธิป พรกุล. 2554 : 9)

การจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นอีกกลุ่มสาระหนึ่งทีได้รับการปรับปรุงและพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลง และความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถที่ทัดเทียมกับนานาชาติ มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 แต่จากการประเมินสภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้สามารถประเมินได้จากรายงานผลการประเมินนักเรียนในโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) ปี 2021 ด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD นอกจากนี้จากการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนรัตนบุรี ย้อนหลังปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ได้แก่ สาระชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และโลกดาราศาสตร์และอวกาศ ยังประสบปัญหาด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้อยู่มาก ทั้งนี้สามารถประเมินได้จากคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รายวิชาเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ช่วงปลายปีการศึกษา 2564 ซึ่งเป็นระดับชั้นที่ผู้วิจัยรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 74.65 ถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 (โรงเรียนรัตนบุรี. 2564 : …...)

จากสภาพปัญหาดังกล่าว แสดงว่า การจัดการเรียนการสอน และกระบวนการเรียนรู้รายวิชาเคมี ยังต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น เพราะฉะนั้นผู้สอนต้องพยายามคัดสรรกระบวนการเรียนรู้ ระบบการเรียนการสอน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร การเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมหรือเลือกประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ดีให้กับนักเรียน เน้นให้นักเรียนได้ฝึกคิดและแก้ปัญหาด้วยตนเอง จะสามารถช่วยให้นักเรียนเกิดการพัฒนาสติปัญญาและความคิดของนักเรียนได้เป็นอย่างดี จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้แนวคิดพุทธิปัญญาและการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นให้มีประสิทธิภาพ เป็นรูปแบบที่มีกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน สามารถนำไปจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาเคมี ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และเป็นแนวทางสำหรับครูนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเคมี เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รู้จักวิเคราะห์ปัญหา วางแผนแก้ปัญหาเพื่อค้นหาคำตอบ ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทำให้นักเรียนรู้จักเชื่อมโยงความคิดก่อนตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ สิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ สามารถนำทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์อื่นในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4. เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิด

พุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอบเขตของการวิจัย

1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากร คือ นักเรียนชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์ ของโรงเรียนรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 6 ห้อง จำนวน 237 คน

1.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์ ของโรงเรียนรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ที่เรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 38 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling)

2. ขอบเขตด้านตัวแปร

2.1 ตัวแปรอิสระ คือ การเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิด

พุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2.2 ตัวแปรตาม คือ

2.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

2.2.2 การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

2.2.3 ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี

3. ขอบเขตด้านเนื้อหา

เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย เป็นเนื้อหาวิชาเคมี เรื่อง สารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งมีเนื้อหาสาระย่อย คือ สารละลายและความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ ความเข้มข้นในหน่วยโมลาริตี (M) และโมแลลิตี (m) ความเข้มข้นในหน่วยเศษส่วนโมล ส่วนในล้านส่วน (ppm) และส่วนในพันล้านส่วน (ppb) การเตรียมสารละลาย และสมบัติบางประการของสารละลาย

วิธีดำเนินการวิจัย

ใช้วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (R&D : Research and Development) โดยมีรายละเอียดวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) การออกแบบและพัฒนา (Design and Development: D&D) เป็นการออกแบบและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน

ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) การนำไปใช้ (Implementation: I) เป็นการนำรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อหาประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองใช้จริง

ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) การประเมินผล (Evaluation: E) การประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอน

เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่

1. แบบวิเคราะห์เอกสาร

2. แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน

3. แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและประเด็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)

4. แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5. เอกสารประกอบรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบ

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบ

2. การสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) กับผู้เชี่ยวชาญ

3. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

4. การหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดยนำเครื่องมือที่สร้างขึ้น ไปทดลองใช้ (Try out) กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง

5. การนำรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างตามแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง (Quasi Experimental Design) มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้

5.1 สัปดาห์ที่ 1 คาบเรียนที่ 1 ชี้แจงทำความเข้าใจและกำหนดข้อตกลงในการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างแล้วทำการทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เรื่อง สารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยกำหนดเวลาในการทดสอบ จำนวน 1 คาบ

5.2 ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในระหว่างการจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง นักเรียนจะได้ทำแบบทดสอบย่อยก่อนเรียน ศึกษาเอกสารประกอบ ทำกิจกรรมหรือใบงานระหว่างเรียน และทำแบบทดสอบย่อยหลังเรียน

5.3 สัปดาห์สุดท้าย เมื่อผู้เรียนศึกษาบทเรียนครบแล้วให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียน จำนวน 40 ข้อ โดยกำหนดเวลาในการทดสอบ จำนวน 1 คาบเรียน

6. การประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิด

พุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

โดยใช้ข้อมูลจากแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและประเด็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ใช้บันทึกข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ

2.1 เปรียบเทียบคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โดยใช้ t-test แบบ Dependent samples

2.2 เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเทียบกับเกณฑ์ ที่กำหนด คือ ต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนและมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 t-test แบบ One Sample

2.3 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2. สถิติในการหาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

ความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยวิธีของโลเวท (Lovett) การหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ของแบบสอบถามโดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha coefficient)

3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test แบบ Dependent samples และ t-test แบบ One Sample

สรุปผล

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี ส่วนใหญ่มีการจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาในหนังสือและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โจทย์คำนวณ มากกว่าส่งเสริมการพัฒนาความเข้าใจของนักเรียน ครูผู้สอนมุ่งสอนให้จำความหมายและการใช้สูตรเพื่อแก้โจทย์ปัญหา การวัดผลประเมินผลเน้นทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคำนวณเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้นักเรียนประสบปัญหาในการทำความเข้าใจในการเรียนวิชาเคมี จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอน พบว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาเคมีนั้น ถ้านักเรียนขาดความคิดรวบยอดที่ถูกต้องในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น สารละลาย การเตรียมสารละลาย เป็นต้น จะส่งผลกระทบต่อความเข้าใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นและในเนื้อหาเรื่องอื่นต่อไป เช่น กรด-เบส สมดุลเคมี อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ดังนั้น ควรมีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่เน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเองมากที่สุด เน้นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรู้จักกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งคำถามและตั้งสมมติฐาน หาสาเหตุของปัญหาและสรุปผลได้อย่างสมเหตุสมผล มีความกระตือรือร้นต่อการเรียนวิชาเคมี มีความมั่นใจในการเรียน สามารถเรียนรู้และแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้

2. ผลการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี พบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ หลักการและแนวคิด วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D.= 0.60) และ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ได้ค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.95/78.50 ดังตาราง

ตาราง 1 คะแนนประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและ การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามเกณฑ์ 75/75

จำนวนนักเรียน (n) ประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) ประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2)

คะแนนที่ได้

E1 คะแนนที่ได้

E2

30 5661 188.70 78.95 942 31.40 78.50

3. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังตาราง

ตาราง 2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

เรื่อง สารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

ตัวแปร

S.D. n t

ก่อนเรียน หลังเรียน ก่อนเรียน หลังเรียน

ผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน 21.03 31.92 1.81 1.53 38 52.925*

* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ตาราง 3 ผลการเปรียบเทียบคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75

ตัวแปร คะแนนที่ได้

S.D. เกณฑ์

ร้อยละ 75 n t

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 1211 31.87 1.40 1.41 38 8.228*

* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.50, S.D = 0.53) ดังตาราง

ตาราง 13 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียน การสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ข้อ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 เฉลี่ย

4.53 4.50 4.47 4.58 4.45 4.55 4.45 4.39 4.63 4.39 4.50 4.58 4.53 4.50

S.D. 0.51 0.51 0.51 0.50 0.55 0.50 0.55 0.59 0.49 0.55 0.65 0.50 0.51 0.53

อภิปรายผล

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบ่งออกเป็น 2 ขั้นย่อย ดังนี้ 1.1) การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 1.2) การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้การสัมภาษณ์ ซึ่งนำมาอภิปรายผล ได้ดังนี้

1.1 จากการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี ส่วนใหญ่มีการจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาในหนังสือและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โจทย์คำนวณ มากกว่าส่งเสริมการพัฒนาความเข้าใจของนักเรียน ครูผู้สอนมุ่งสอนให้จำความหมายและการใช้สูตรเพื่อแก้โจทย์ปัญหา การวัดผลประเมินผลเน้นทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคำนวณเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้นักเรียนประสบปัญหาในการทำความเข้าใจในการเรียนวิชาเคมี สภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี ที่สอดคล้องกันคือ เนื่องมาจากวิชาเคมีเป็นวิชาที่เรียนเข้าใจได้ยาก เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ เช่น ปริมาณสารสัมพันธ์ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สมดุลเคมีและกรด-เบส และรวมทั้งเนื้อหา สารละลาย ดังนั้นในการโจทย์แก้ปัญหาของนักเรียนส่วนใหญ่ คือ นักเรียนมักจะจดจำหลักการต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์ เพื่อแก้โจทย์ปัญหา ดังนั้น เมื่อพบโจทย์ที่ซับซ้อน จึงทำให้นักเรียนเกิดแนวคิดที่คลาดเคลื่อนในการเรียน และไม่สามารถแก้โจทย์ปัญหาที่ยุ่งยากและซับซ้อนได้ ด้วยเหตุผลนี้ ผู้สอนจึงต้องปรับเปลี่ยนเทคนิควิธีการสอน มีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ที่ทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและแนวคิดที่ถูกต้องในการเรียน

1.2 การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการประชุมคณะครูและการสัมภาษณ์ ครูสังกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของโรงเรียน พบว่า จากการสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับประเด็นการสร้างหลักสูตรพบว่าไม่ประสบปัญหา เนื่องจากในการสร้างหลักสูตรที่ใช้สอน ครูมีการศึกษาเอกสารหลักสูตรและแบบเรียน ศึกษาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ก่อน การศึกษาสภาพปัญหาการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ประเด็นด้านการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนเสนอแนะว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาเคมีนั้น ถ้านักเรียนขาดความคิดรวบยอดที่ถูกต้องในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น สารละลาย การเตรียมสารละลาย เป็นต้น จะส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น ผลการศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเรียนการสอนวิชาเคมี ที่นักเรียนและครูต้องการ คือ การจัดการเรียนการสอนวิชาเคมี ควรมีการทบทวนเนื้อหาและความรู้เดิมก่อนเรียนรู้เนื้อหาใหม่ มีการหาแนวทางในการศึกษาหาความรู้ใหม่ มีการกำหนดประเด็นปัญหาในเรื่องที่ศึกษามีการศึกษาค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีการรวบรวมข้อมูลจากการอภิปรายกลุ่มมีการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดด้วยตนเอง

2. ผลการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี พบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ หลักการและแนวคิด วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D.= 0.60) และ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ได้ค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.95/78.50 ซึ่งผลการประเมินองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบที่กำหนดขึ้น มีความสอดคล้องสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เนื่องจากในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีการพัฒนารูปแบบอย่างเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เริ่มตั้งแต่การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น เพื่อกำหนดเป็นหลักการ วัตถุประสงค์และองค์ประกอบอื่น ๆ ของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี รวมถึงการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แนวคิดเกี่ยวกับแนวคิดพุทธิปัญญา (Cognitive) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning : RBL) (จุฑา ธรรมชาติ. 2555 : 187-188) แล้วทำการสังเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน จากนั้นได้มีการนำรูปแบบ ฉบับร่าง ให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ และนำไปทดลองสอน ก่อนนำไปใช้จริง งานวิจัยที่สอดคล้องกับข้อค้นพบนี้คือ งานวิจัยของพงศ์รัตน์ ธรรมชาติ (2564 : 89-90) ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีหน่วยการเรียนรู้ พันธะเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลพบว่า รูปแบบการสอน มีประสิทธิภาพด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เท่ากับ 83.05/82.52 และ 83.10/82.88 ตามลำดับและมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เท่ากับ 0.76 และ 0.77 ตามลำดับ

3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี 2 พบว่า 1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน วิชาเคมี 2 เรื่อง สารละลายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี 2 ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี 2 ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี 2 ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีคะแนนทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เนื่องจากผู้วิจัยได้ออกแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานมาเป็นวิธีการสอนหลัก ซึ่งแนวคิดพุทธิปัญญา เป็นการเรียนที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากภาพรวมไปหาส่วนย่อย การสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ การเน้นการเรียนรู้เกิดจากการลงมือกระทำด้วยตนเอง การคำนึงถึงความพร้อมและพัฒนาการทางติปัญญาของนักเรียน การสร้างความคิดรวบยอดด้วยตนเอง จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงกับโครงสร้างความรู้เดิมของนักเรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการระบุปัญหาหรือตั้งคำถาม เพื่อนำไปสู่การค้นหาคำตอบ การออกแบบวิธีการศึกษาหาความรู้หรือออกแบบวิธีการวิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการแสวงหาคำตอบ การศึกษาค้นคว้าและแสวงหาความรู้การทดลอง ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง สอดคล้องกับรุจิราพร รามศิริ (2556 : 80) กล่าวว่า การเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เป็นการสอนที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการใช้กระบวนการวิจัยในการแสวงหาความรู้โดยใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้และพัฒนาเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียน ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหา อันจะพัฒนาให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีที่สูงขึ้นได้สอดคล้องกับงานวิจัยของงานวิจัยของภิญโญ วงษ์ทอง (2563 : 277-278) ได้ทำการศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เรื่อง แบบจำลองอะตอม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่เน้นให้นักเรียนได้ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ การโต้แย้งอย่างมีเหตุผล สะท้อนคิด และนำเสนอผลการศึกษาอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในระดับดี

4. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิด พุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการเรียนอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.50, S.D = 0.53) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่านักเรียน พึงพอใจมากที่สุดคือ มีการประเมินผลโดยการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเอง รองลงมา คือ กิจกรรมการเรียนรู้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและได้คิดวิเคราะห์ปฏิบัติกิจกรรม มีสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนเหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งนี้เป็นเพราะว่าในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ออกแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี ตามแนวคิดพุทธิปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน มาเป็นวิธีการสอนหลักและใช้องค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณมาบูรณาการใช้แก้ปัญหาภายใต้สถานการณ์และเงื่อนไขที่กำหนดให้ผ่านใบกิจกรรมที่ได้ออกแบบวิธีดำเนินกิจกรรมขั้นตอนตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยลำดับความคิดของนักเรียนให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้ ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น ให้ความสนใจในการจัดกิจกรรม และรู้สึกพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สอดคล้องกับงานวิจัยของพงศ์รัตน์ ธรรมชาติ (2564 : 89-90) ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีหน่วยการเรียนรู้ พันธะเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51 และ S.D. = 0.50)

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1.1 ผู้สอนที่นำรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีนี้ไปใช้ต้องดำเนินการศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้เรียน หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อกำหนดกิจกรรรมให้สอดคล้องกัน จึงจะทำให้การใช้รูปแบบการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน

1.2 ผู้สอนที่นำรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีนี้ไปใช้จะต้องกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหารายวิชา ระยะเวลาการดำเนินกิจกรรม และการใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผลในการเก็บผลการเปลี่ยนแปลงหรือผลการเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบการดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบการเรียนการสอนได้

2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

ควรมีการวิจัยรูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนโดยใช้แนวคิดอื่น ๆ เช่น แนวคิด การเรียนรู้โดยใช้บริบทและปัญหาเป็นฐาน แนวคิดการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เป็นต้น

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุฑา ธรรมชาติ. (มกราคม-มีนาคม, 2555). การวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน

ในรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และ

มนุษยศาสตร์, 18(1), 183-214.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

วี พริ้นท์ จำกัด.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วน

จำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พงศ์รัตน์ ธรรมชาติ. (กุมภาพันธ์, 2564) การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมี

วิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีหน่วยการเรียนรู้ พันธะเคมี สำหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 : 89-103.

รุจิราพร รามศิริ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

เพื่อเสริมสร้างทักษะการวิจัย ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และจิตวิทยาศาสตร์

ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ

การสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โพสต์โดย นางสาวจุฑามาศ พุดหอม : [5 ส.ค. 2567 (15:46 น.)]
อ่าน [971] ไอพี : 61.19.68.230
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 9,784 ครั้ง
ออกกำลังหนักช่วงสั้นๆ หนีโรคหัวใจได้ดีกว่าออกกำลังระยะยาว
ออกกำลังหนักช่วงสั้นๆ หนีโรคหัวใจได้ดีกว่าออกกำลังระยะยาว

เปิดอ่าน 20,028 ครั้ง
จำนวนเต็ม (Integer) คืออะไร
จำนวนเต็ม (Integer) คืออะไร

เปิดอ่าน 71,019 ครั้ง
วิธีลดธงครึ่งเสาที่ถูกต้อง
วิธีลดธงครึ่งเสาที่ถูกต้อง

เปิดอ่าน 5,698 ครั้ง
สพฐ.พลิกโฉมโรงเรียน มุ่งเป้า ป.1 อ่านเขียนได้
สพฐ.พลิกโฉมโรงเรียน มุ่งเป้า ป.1 อ่านเขียนได้

เปิดอ่าน 11,006 ครั้ง
การทำงานของ"รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์"ในสายตาประชาชน
การทำงานของ"รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์"ในสายตาประชาชน

เปิดอ่าน 18,456 ครั้ง
อาหารต้องเลี่ยง ภาชนะต้องห้าม อย่านำเข้าไมโครเวฟ
อาหารต้องเลี่ยง ภาชนะต้องห้าม อย่านำเข้าไมโครเวฟ

เปิดอ่าน 33,277 ครั้ง
ว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้

เปิดอ่าน 23,234 ครั้ง
วัคซีนที่ผู้ใหญ่ควรฉีด
วัคซีนที่ผู้ใหญ่ควรฉีด

เปิดอ่าน 12,132 ครั้ง
กล้ามเนื้อน้อยจะอ้วนง่าย... จริงหรือ ?
กล้ามเนื้อน้อยจะอ้วนง่าย... จริงหรือ ?

เปิดอ่าน 82,539 ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้ผล
รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้ผล

เปิดอ่าน 13,792 ครั้ง
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 เมษายน 2552

เปิดอ่าน 14,384 ครั้ง
วิธีคั้นมะนาวให้ได้น้ำมาก-ไม่ขม
วิธีคั้นมะนาวให้ได้น้ำมาก-ไม่ขม

เปิดอ่าน 9,889 ครั้ง
สอนลูกรู้จักใช้จ่าย
สอนลูกรู้จักใช้จ่าย

เปิดอ่าน 9,702 ครั้ง
แค่เครียด ก็ป่วยแล้ว
แค่เครียด ก็ป่วยแล้ว

เปิดอ่าน 9,319 ครั้ง
ห้องเรียนสีดำ : ตูนส์ศึกษา โดย ครรชิต มนูญผล
ห้องเรียนสีดำ : ตูนส์ศึกษา โดย ครรชิต มนูญผล

เปิดอ่าน 8,592 ครั้ง
ยันแก๊สโซฮอล์ ไม่ได้ก่อมลพิษฯ ทำให้เกิดมะเร็ง
ยันแก๊สโซฮอล์ ไม่ได้ก่อมลพิษฯ ทำให้เกิดมะเร็ง
เปิดอ่าน 13,707 ครั้ง
ดูพี่ตำรวจเค้าทำ รถเกือบชนกันระนาว !
ดูพี่ตำรวจเค้าทำ รถเกือบชนกันระนาว !
เปิดอ่าน 45,999 ครั้ง
Verb Tenses (Future Tenses )
Verb Tenses (Future Tenses )
เปิดอ่าน 15,620 ครั้ง
ADSL Technology
ADSL Technology
เปิดอ่าน 15,354 ครั้ง
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ