ชื่อผู้ประเมิน นางสาวศศิธร ศรีจันทะ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนภูแลนคาวิทยายน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ปีที่รายงาน 2566
บทสรุปของผู้บริหาร
การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ของโรงเรียนภูแลนคาวิทยายน จังหวัดชัยภูมิ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประชากรที่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน (ไม่รวมผู้ประเมิน) ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 18 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้แทนครู) และนักเรียน จำนวน 228 คน จำนวนทั้งสิ้น 254 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ แบบประเมินโครงการด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ของโรงเรียนภูแลนคาวิทยายน จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context) พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.23) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับพระราชดํารัสของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นโรงเรียนภูแลนคาวิทยายน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35) และ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32) รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 2570) ของรัฐบาล และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปรามและบำบัดรักษายาเสพติด ปี 2566 ของ ปปส. (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32) และ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.34) ความสอดคล้องกับสภาพปัญหายาเสพติดในสังคมปัจจุบัน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37) และ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับ แนวทางการดำเนินโครงการ TO BE NUMBER ONE ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35) ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.21) ผ่านเกณฑ์ การประเมินที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.27) รองลงมา คือ ด้านงบประมาณ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.27) ด้านการวางแผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.25) ด้านบุคลากร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.36) และด้านอาคารสถานที่ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33) ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.23) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า มีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการดำเนินการเมื่อพบข้อบกพร่องขณะดำเนินงานโครงการ และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55) และ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53) รองลงมาคือ มีการประเมินผลแต่ละกิจกรรมในโครงการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66) มีการติดตามประสานงานการจัดกิจกรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และ มีการกำกับ ติดตาม ควบคุมการดำเนินงานโครงการ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52) และ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53) มีการดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนงานที่กำหนดไว้, มีการจัดกิจกรรมโครงการในรูปแบบที่หลากหลายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโครงการ และ มีการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างทั่วถึง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52), (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51) และ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51) มีการกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53) และประชุมเพื่อกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินงาน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61) ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิตของโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ของโรงเรียนภูแลนคาวิทยายน จังหวัดชัยภูมิ
4.1 ด้านผลผลิตของโครงการ โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านผลผลิตที่มีต่อนักเรียน ระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.25) รองลงมา คือ ด้านผลผลิตที่มีต่อผู้บริหาร ระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.27) และด้านผลผลิตที่มีต่อครูผู้สอน ระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.28) ตามลำดับ
4.2 ความพึงพอใจต่อโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ของโรงเรียนภูแลนคาวิทยายน จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.21) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้