ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครู เพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย
ผู้วิจัย นายพรเทพ เสนนันตา
ปีการศึกษา 2565-2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูโรงเรียนนาน้อย 2) สร้างรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย 3) ทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย 4) ประเมินผลรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย การวิจัยดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูโรงเรียนนาน้อย ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลรูปแบบ การเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 970 คน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,218 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจรายการ และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบความแตกต่างโดยใช้ t-test (Dependent) ผลการวิจัยพบว่า
1. ครู บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความต้องการจำเป็นในการเสริม สร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูโรงเรียนนาน้อย ใน 4 ด้าน ตามลำดับ ดังนี้
1) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ด้านการวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4) ด้านการสนับสนุนการเรียนรู้
2. รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) สมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ (1) การวางแผนและการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ (2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (3) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (4) การสนับสนุนการเรียนรู้ 4) กระบวนการพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย
3.1 ผลการประเมินระดับการปฏิบัติตามรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ในภาพรวมมีการปฏิบัติตามรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย ในระดับมากที่สุดทุกรายการ
3.2 ผลการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย พบว่า มีการปรับปรุงรายการสมรรถนะ
เทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผนและการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 3 รายการ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 รายการ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4 รายการ และด้านการสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รายการ
4. ผลการประเมินรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย
4.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่ต่อรูปแบบพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครู เพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของครูเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาน้อย พบว่า 1) ครูมีสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ในระดับสูง 2) ครูมีความรู้และความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 75.00 4) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับประเทศ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 4) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในภาพรวมพบว่า นักเรียนร้อยละ 88.34 มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยมและ 5) ด้านประสิทธิผลการพัฒนาเชิงประจักษ์ พบว่า โรงเรียนนาน้อยมีผลงานที่ปรากฏด้านนักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและสถานศึกษา ทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาคและระดับประเทศ