การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการสอนแบบโครงงานเป็นฐานวิชาสังคมศึกษา หน่วยการเรียนรู้เรื่องหลักเศรษฐศาสตร์การกำหนดราคา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน วิชาสังคมศึกษา สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จงจินต์รุจิรวงศ์อุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2566 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดการสอน เรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์ การกำหนดราคา และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน วิชาสังคมศึกษา สาระเศรษฐศาสตร์ เรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์การกำหนดราคา และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จงจินต์รุจิรวงศ์อุปถัมภ์
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม จงจินต์รุจิรวงศ์อุปถัมภ์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ทั้งหมด 5 ห้องเรียน จำนวน 131 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 33 คน ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ผู้ศึกษารับผิดชอบในการสอน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) จากทั้งหมด 4 ห้องเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย
1. ชุดการสอนแบบโครงงานเป็นฐานวิชาสังคมศึกษา หน่วยการเรียนรู้เรื่องหลักเศรษฐศาสตร์การกำหนดราคา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 ชุด ได้แก่ 1) การกำหนดราคาและค่าจ้าง 2) การพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) การปรับใช้หลักการกำหนดราคาและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์การกำหนดราคา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก สำหรับใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ
3. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอน เรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์การกำหนดราคา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผลการศึกษา มีดังนี้
1. ชุดการสอนแบบโครงงานเป็นฐานวิชาสังคมศึกษา หน่วยการเรียนรู้เรื่องหลักเศรษฐศาสตร์การกำหนดราคา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.38/89.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์ การกำหนดราคา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้ชุดการสอนแบบโครงงานเป็นฐานวิชาสังคมศึกษา หน่วยการเรียนรู้เรื่องหลักเศรษฐศาสตร์การกำหนดราคา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนแบบโครงงานเป็นฐานวิชาสังคมศึกษา หน่วยการเรียนรู้เรื่องหลักเศรษฐศาสตร์การกำหนดราคา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด