บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนแผนการเรียนสายวิทย์ คณิต ร้อยละ ๘๐ ได้เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์มากขึ้น และเพื่อวัดความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้แรงจูงให้ให้คะแนนสมรรถนะเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑ โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม ต.ซับสมอทอด อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕
จำนวน ๔๐ คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบข้อตกลงให้คะแนนสมรรถนะ C+๕ ด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมก่อน และหลังการวิจัยเพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงในลักษณะพึงประสงค์เพิ่มขึ้นหรือไม่ และใช้แบบวัดความพึงพอใจกรณีใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะฯ นี้ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̄) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) นำเสนอข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
ตอนที่ ๑ . การใช้กิจกรรมแรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ช่วยให้นักเรียนทุกคนมีคะแนนเพิ่มขึ้นได้ทุกคน คะแนนต่ำสุดคือ ได้คะแนนรวมC+๕ เท่ากับ ๕๓๕ คะแนน แทนคะแนนดิบ ได้ จำนวน ๑.๐๗. คะแนน คะแนนสูงสุด ได้คะแนนสมรรถนะC+๕ เท่ากับ ๑,๔๑๔ คะแนน แทนคะแนนดิบได้ จำนวน ๒.๘๕ คะแนน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ว่าจะมีนักเรียนสามารถมีคะแนนเพิ่มได้ จำนวน ๘๐ % จากจำนวนนักเรียน ๔๐ คน ซึ่งภายหลังมีนักเรียนแจ้งความประสงค์ลาออก จำนวน ๒ คน จึงกำหนดค่าเป้าหมายจาก ๔๐ เป็น ๓๘ คน ซึ่งผลสรุปมีนักเรียนที่มีคะแนนที่ได้จากกิจกรรมเพิ่มขึ้นได้ทุกคน คิดเป็น ๑๐๐ % เพียงแต่ระดับคะแนนมีความแตกต่างกันตามพฤติกรรมที่ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ และผลที่ได้เป็นไปตามเป้าหมาย
ตอนที่ ๒ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมแรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะฯ สามารถจูงใจให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์มากขึ้นเพียงใด ผู้วิจัยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมสังเกตก่อนการวิจัย ได้ผลสรุปว่า นักเรียนม. ๔/๑ จำนวน ๓๘ คน มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ประเมิน ได้ระดับมากที่สุด - คน ระดับ มาก จำนวน ๘ คน ระดับปานกลาง จำนวน ๒๔ คน ระดับน้อย ๖ คน และ ระดับน้อยที่สุด ไม่มี สรุปคือนักเรียนส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแสดงถึงนักเรียนมีพฤติกรรมตามข้อ (๒) แต่มีปฏิกิริยาไม่พอใจ
และผู้วิจัยได้ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมสังเกตผลหลังการวิจัย ได้ผลสรุปว่า พฤติกรรมอันพึงประสงค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑ อยู่ในระดับดีมาก ไม่มี ระดับมาก เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น จำนวน ๒๘ คน ระดับปานกลาง จำนวน ๕ คน ระดับน้อย จำนวน ๕ คน ระดับน้อยที่สุด ไม่มี แสดงถึง การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะ แม้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้นักเรียนมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ได้ ระดับที่สูงขึ้น ถึงระดับดีมาก แต่ก็เห็นผลว่านักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้น ลดความก้าวร้าวลง มีความตระหนักด้านความเป็นระเบียบมากขึ้น นักเรียนที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ดีขึ้น อาจเนื่องด้วยภาคเรียนที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมค่อนข้างมาก และ นักเรียนบางส่วนมีผลกระทบติดโควิด - ๑๙ รอยต่อของความทำความเข้าใจในกิจกรรม ดังพอสังเกตได้จากการแสดงความคิดเห็นจากแบบวัดความพึงพอใจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของกิจกรรมแรงจูงใจที่ใช้นี้ ซึ่งควรต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้มีทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรมอีกครั้ง ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางให้นักเรียนให้ความร่วมมือและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันพึงประสงค์เพิ่มขึ้นด้วย
ตอนที่ ๓ เป็นการสรุปผลการวิเคราะห์การวัดความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับกิจกรรม แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะฯ ภายใต้สมมุติฐานว่า ผู้เรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์และยังไมพร้อมเปลี่ยนแปลงตนเองให้พึงประสงค์ เช่น ขาดเหตุผล ชอบทำผิดระเบียบ ต่อต้านการให้คำแนะนำ ขาดมารยาท ใช้วาจาไม่สุภาพเรียบร้อย ขาดสัมมาคารวะต่อบุคคลอื่น จะมีความพึงพอใจกิจกรรมแรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะฯ น้อย
ผู้วิจัย ได้ข้อสรุปผลการวิจัยว่า
๑. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ๑ หลังสอบหลังเรียน นักเรียนประเมินผลตนเองได้ระดับ ปานกลาง คือได้ระดับ ๒.๐๐ แสดงว่าเข้าใจความสามารถด้านความรู้ที่ได้รับจากการทำแบบทดสอบ
๒. ก่อนใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะ การใช้ชีวิตร่วมกันกับ เพื่อนในห้อง มองด้านความมีวินัย การแต่งกาย รักความสะอาด เป็นระเบียบ มีจิตอาสา มีน้ำใจ การใช้ภาษาต่อเพื่อนและครู มีบรรยากาศและส่งผลต่อสมาธิในการเรียนอย่างไร ได้ระดับมาก ระดับ ๓.๒๑ แสดงถึงพื้นฐานของผู้เรียนมีความประสงค์ให้บรรยากาศในห้องเรียนมีลักษณะที่ดี ตามลักษณะที่เป็นแบบคำถาม
๓. ท่านคิดว่าพฤติกรรมที่ดี ทางวาจา ความมีวินัย ความเป็น ระเบียบ ความสนใจเรียน กล้าแสดงออก มีจิตอาสา มีสัมมาคารวะต่อครูผู้สอน การใช้มารยาทในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และการให้เกียรติผู้อื่น มีความจำเป็นในการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้เพียงใด ได้ระดับ มากที่สุด ระดับ ๔.๑๘ แสดงให้เห็นถึงนักเรียนก็ต้องการบรรยากาศที่ดี ที่มีลักษณะการใช้วาจาที่ดี นักเรียนในห้องมีวินัย มีความเป็นระเบียบ นักเรียนในห้องมีความสนใจเรียน กล้าแสดงออก มีจิตอาสา มีสัมมาคารวะต่อครูผู้สอน การใช้มารยาทในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และการให้เกียรติผู้อื่น
ส่วน แบบคำถามตอนที่ ๒ ข้อ ๔ - ๑๐ เป็นแบบคำถามเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ถามว่า
๔. การใช้แรงจูงในให้คะแนนสมรรถนะเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ นักเรียนมีโอกาสเพิ่มคะแนนด้าน K P A มากขึ้น ได้ผลการประเมินระดับมากที่สุด ระดับ ๔.๓๒ แสดงให้เห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในกิจกรรม และเห็นประโยชน์ที่จะให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
๕. การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะช่วยให้นักเรียนมีสมาธิ ในการเรียนมากขึ้น ได้ผลการระเมินระดับมากที่สุด ระดับ ๔.๐๖ แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมนี้มีส่วนช่วยให้มีสมาธิมากขึ้นในการเรียน
๖. การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะที่ผ่านมาช่วยให้ ห้องเรียนเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดขึ้น มีบรรยากาศการเรียนรู้ดีขึ้น ได้ผลการประเมินระดับมากที่สุด ระดับ ๔.๐๖ แสดงถึงเมื่อนักเรียนตระหนักและจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยการให้ความร่วมมือแล้วเพื่อรับคะแนน C + ๕ ก็จะส่งผลให้ห้องเรียนมีบรรยากาศที่ดีตามไปด้วย
๗. การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะที่ผ่านมาช่วยให้ นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์มากขึ้นได้ผลการประเมินระดับมากที่ ระดับ ๓.๘๒
๘. การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะที่ผ่านมาส่งเสริมให้ กล้าพูด กล้าแสดงออก และกล้าทำความดีมากขึ้นได้ผลการประเมินระดับมาก ระดับ ๓.๘๘
๙. การใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะนี้ให้ประโยชน์กับ นักเรียนและการสร้างบรรยากาศห้องเรียนเพียงใดได้ผลการประเมินระดับมากที่สุด ระดับ ๔.๐๖
๑๐.นักเรียนคิดว่าการใช้แรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะ ควรมีกิจกรรมนี้ต่อหรือไม่ ได้ผลการประเมินระดับมากที่สุด ระดับ ๔.๑๕
สรุปนักเรียนมีความพึงพอใจการใช้กิจกรรมแรงจูงใจให้คะแนนสมรรถนะด้าน K P A เฉลี่ย ได้ระดับมากที่สุด คือ ได้ระดับ ๔.๐๕ แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมดังกล่าวสามารถเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมให้นักเรียนมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์แล้ว ยังช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นได้ด้วย