บทคัดย่อ
การศึกษาและวิเคราะห์การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ด้วยวิธีทดสอบย่อยทุกสัปดาห์กับวิธีทดสอบเมื่อจบหน่วยการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 34 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 37 คน ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร)
บทที่ 1
บทนำ
สภาพปัญหา
การพัฒนานักเรียนนั้น ต้องพัฒนาให้ครบทุกด้าน คือ ทั้งด้านอารมณ์ สังคมและสติปัญญา จาก การศึกษาข้อมูลจากการสอบในภาคเรียนที่ผ่านมาพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลการเรียนในวิชาสังคมศึกษา อยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก จัดว่าเป็นปัญหาสำคัญ จำเป็นต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดีขึ้น
สาเหตุของปัญหาการเรียนวิชาสังคมศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นอกจากสาเหตุในเรื่อง เนื้อหาวิชาและความรู้พื้นฐานแล้ว อาจมีสาเหตุอื่นอีก เช่น วิธีการสอนของครู การวัดและประเมินผล ความบกพร่อง ทางสติปัญญา และการฝึกฝนทบทวนบทเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีความรู้และแม่นยำในเนื้อหาวิชามากขึ้น วิธีการ หนึ่งที่จะทำให้นักเรียนได้ฝึกฝนและทบทวนบทเรียนบ่อย ๆ คือ การทดสอบบ่อย ๆ หรือการทดสอบย่อย เพื่อให้ นักเรียนได้เตรียมตัว ตื่นตัวตลอดเวลาโดยการทบทวนบทเรียนก่อนสอน และการทดสอบย่อยทำให้นักเรียนได้พัฒนา และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองตลอดเวลา
จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้ว่า การทดสอบย่อยจะทำให้นักเรียนเตรียมพร้อมในการเรียน อยู่เสมอ และยังช่วยให้นักเรียนได้สำรวจแก้ไขข้อบกพร่องในการเรียนของตนเองอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ต่อเนื่องในการพัฒนาการเรียนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นด้วย ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษา เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มที่มี การทดสอบย่อยทุกสัปดาห์และกลุ่มที่มีการทดสอบเมื่อจบหน่วยการเรียน
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มที่มีการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์และกลุ่มที่มีการทดสอบเมื่อจบหน่วยการเรียน
สมมุติฐานในการวิจัย
การทดสอบย่อยมีประโยชน์ต่อนักเรียนหลายประการคือ
1. ช่วยให้นักเรียนรู้มากขึ้น เพราะการประเมินผลย่อยทำให้นักเรียนต้องเตรียมตัวอยู่เสมอ
2. ทำให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น เพราะต้องแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ และได้รับการแก้ไขส่วน บกพร่องอยู่ตลอดเวลา
3. ทำให้นักเรียนทราบข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขตนเอง และเรียนรู้ที่จะแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้น
4. ทำให้มีความมั่นใจในการเรียนรู้ กล้าเผชิญปัญหา
สวัสดิ์ ปทุมราช ( 2518 : 25 ) กล่าวว่า นอกจากใช้การทดสอบย่อยเพื่อประโยชน์ของผู้เรียนแล้ว ผู้สอนอาจนำผลการทดสอบมาใช้แก้ไขปัญหาวิธีการสอนทำให้ผู้เรียนเข้าใจดีขึ้น หรือนำผลการสอบในหน่วยย่อย ของนักเรียน ชุดนี้เปรียบเทียบกับนักเรียนชุดก่อน เพื่อดูว่า เมื่อได้เปลี่ยนวิธีการสอนบางอย่างแล้ว ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนควร จะต้องดีกว่าเดิมเป็นจริงเพียงใด การทดสอบย่อยทำให้นักเรียนต้องเตรียมตัวอยู่เสมอในการที่จะเรียนรู้สำรวจข้อบกพร่องในการเรียน และได้มีโอกาสแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง ดังนั้นการจัดให้มีการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์จึงจัดว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ ต่อเนื่องในด้านการเรียนรู้และการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนที่ได้รับการทดสอบย่อยอยู่เสมอ มีค่าสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการทดสอบย่อยน้อยครั้งกว่า ผู้วิจัยจึงตั้ง สมมุติฐานในการวิจัยครั้งนี้ว่า ผลการทดสอบย่อยทุกสัปดาห์จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาสูงกว่าการ ทดสอบเมื่อจบหน่วยการเรียน