1. ที่มาปัญหา
วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นวิชาที่มีเนื้อหาจำนวนมาก และต้องอาศัยการอ่าน และการท่องจำมากที่สุดถึงจะได้คะแนนสูง เป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างมาก และยากต่อการเข้าใจ จึงทำให้นักเรียนเกิดความน่าเบื่อหนาย สำหรับนักเรียนในยุคปัจจุบัน ที่อยู่ในยุคไอซีที ที่เต็มไปด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมไปถึงสิ่งเร้าความสนใจให้การเรื่องอีกมากมาย จากการสังเกตนักเรียนในการเรียนเรื่อง กฎหมายกับการดำเนินชีวิตประจำวัน พบว่านักเรียน ไม่ค่อยเข้าใจในเนื้อหา จำเนื้อหาไม่ได้ และผลการสอบได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นผู้วิจัยจึงออกแบบเอกสารประกอบการสอน ได้แก่ แบบฝึกหัดที่มีความหลากหลาย ใบความรู้คู่กับแบบฝึกหัด เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นกว่าเดิม
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาวิธีการทำให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง กฎหมายกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม รหัสวิชา ส22103 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
3. ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
ผลการวิจัยจะทำให้ได้แบบฝึกหัด ที่ทำให้นักเรียนมีทักษะและผลสำเร็จทางการเรียนเรื่อง กฎหมายกับการดำเนินชีวิตประจำวัน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม รหัสวิชา ส22103 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นกว่าเดิม
4. หลักการ/แนวคิด/ทฤษฎี
๑. การเสริมแรง
๒. การสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
๓. การเน้นกระบวนการเรียนรู้
5. ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 43 คน
6. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบทอดสอบท้ายหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
7. การดำเนินการวิจัย
1. กำหนดกิจกรรม ผลงาน และกำหนดเวลาในการทรงงาน หรือกิจกรรมที่กำหนดให้ทำช่วงต้นคาบ ในเวลาเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
2. ชี้แจงเกี่ยวกับการส่งงาน ตามกำหนดเวลา จะได้คะแนนสูง และส่งงานช้า จะได้คะแนนน้อย โดยการกำหนดเวลาการส่งงาน
3. มีการติดตามงานของนักเรียน โดยซักถามในคาบเรียนทุกคาบ กรณีที่นักเรียน ไม่ส่งงาน จนหมดเวลาในการส่งงาน
4. นักเรียนที่ไม่ทำกิจกรรม หรือ ผลงานส่งจนหมดเวลาส่ง ต้องได้รับการติดตามงาน
5. กำหนดกิจกรรมเสริม เพื่อให้นักเรียนทำเพื่อเพิ่มคะแนน โดยอยู่นอกเหนือจากกิจกรรมปกติ เพื่อ
6. มีการเสริมแรงบันดาลใจ ให้โอกาส และให้ความเป็นกันเองกับนักเรียน เมื่อนักเรียนมาติดต่อขอซ่อมงานหรือสอบแก้ตัว