หัวข้อวิจัย การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยหลิบ ตามแนวทฤษฎีการสอนของคาร์ล ออร์ฟ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดอนชัยวิทยา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ผู้วิจัย นางสาวเมธิกา รัตนรังษี
สถานศึกษา
สังกัด โรงเรียนดอนชัยวิทยา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยหลิบ ตามแนวทฤษฎีการสอนของคาร์ล ออร์ฟ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยหลิบ ตามแนวทฤษฎีการสอนของคาร์ล ออร์ฟ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อหาค่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยหลิบ ตามแนวทฤษฎีการสอนของคาร์ล ออร์ฟ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5 โรงเรียนดอนชัยวิทยา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยหลิบ ตามแนวทฤษฎีการสอนของคาร์ล ออร์ฟ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง การเป่าขลุ่ยหลิบ ตามแนวทฤษฎีการสอนของคาร์ล ออร์ฟ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยหลิบ ตามแนวทฤษฎีการสอนของคาร์ล ออร์ฟ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการหาค่าประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยหลิบ ตามแนวทฤษฎีการสอนของคาร์ล ออร์ฟ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ (E1/E2) เท่ากับ 82.00/82.25 เป็นไปตามตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75
2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยหลิบ ตามแนวทฤษฎีการสอนของคาร์ล ออร์ฟ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน (Post test) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ผลการหาค่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยหลิบ ตามแนวทฤษฎีการสอนของคาร์ล ออร์ฟ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับดีมาก
(x ̅ = 4.78, S.D. = 1.16)