๑. ชื่อผลงาน/กิจกรรมที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดีของโรงเรียน (Best Practice)
สร้างสายใย ร่วมใจพัฒนา สู่นิเทศภายในเพื่อการพัฒนา ภายใต้นวัตกรรม 6 ร........
๒. วิธีการและนวัตกรรมที่เป็น Best Practice/ ขั้นตอนการดำเนินงานจนสำเร็จเป็นผลงานที่ดีเลิศ
......เป็นวิธีการอยู่ในขั้นตอนของการนิเทศภายใน ที่โรงเรียนและคุณครูผู้สอนร่วมกันคิด ร่วมทำ โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน ตามลำดับขั้นตอนและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ภายใต้นวัตกรรม ๖ ร ดังนี้
2.1. ประชุมครูร่วมกัน เพื่อวางแผนและกำหนดปฏิทินการนิเทศภายใน
๒.๑.๑ กำหนดตารางการนิเทศภายใน ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง
๒.๑.๒ ออกแบบสังเกตการนิเทศ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับผู้เข้ารับ
การนิเทศ
๒.๑.๓ ออกแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนการสอนของ
คุณครู
๒.๑.๔ กำหนดบุคลากรการนิเทศ ฝ่ายบริหารนิเทศครูทุกคน หัวหน้ากลุ่มบริหาร
วิชาการนิเทศเพื่อนครู
๒.๒ ภาพแสดงการบริหารระบบการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน สร้างสายใย ร่วมใจพัฒนา สู่นิเทศภายในเพื่อการพัฒนา ภายใต้นวัตกรรม ๖ ร ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ ( ร ๑) ร่วมกันกำหนดสภาพปัจจุบัน มีการประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผู้เรียนและจัดกลุ่มผู้เรียน อีกทั้งวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา จัดหน่วยการเรียนรู้และกำหนดผลการเรียนรู้ร่วมกัน
ขั้นตอนที่ ๒ (ร ๒) ร่วมเตรียมการนิเทศ โดยมีการกำหนดปฏิทินการเข้านิเทศภายใน เตรียมแบบประเมินการนิเทศ
ขั้นตอนที่ ๓ (ร ๓) ร่วมวางแผนการนิเทศ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ขั้นตอนที่ ๔ (ร ๔) ร่วมปฏิบัติตามแผนนิเทศ ดำเนินการนิเทศติดตามการจัดการเรียน การสอนแบบกัลยาณมิตร
ขั้นตอนที่ ๕ (ร ๕) ร่วมประเมินการนิเทศ ผู้นิเทศดำเนินการประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินผลการนิเทศ และประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน
ขั้นตอนที่ ๖ (ร ๖) ร่วมปรับปรุง ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้นิเทศและผู้เข้ารับการนิเทศ โดยอาจมีการพัฒนาปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้/ ซ่อมเสริม หรือนำปัญหาที่เกิดขึ้นทำวิจัยในชั้นเรียน
๓. ปัจจัยเกื้อหนุน หรือปัจจัยแห่งความสำเร็จ/ความภาคภูมิใจ และบทเรียนที่ได้รับ
โรงเรียนแม่ลานวิทยาประสบความสำเร็จในการดำเนินงานตามระบบการเรียนรู้เนื่องจากมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ดังนี้
๓.๑ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนางาน อย่างต่อเนื่องทำให้ระบบการเรียนรู้ ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
๓.๒ ครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เอาใจใส่ต่อนักเรียนเสมือนเป็นลูกหลานของตนเอง จึงทุ่มเท กำลังกายกำลังใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเต็มที่
๓.๓ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการดูแลบุตรหลานมากขึ้น นักเรียนตั้งใจและเอาใจใส่ต่อการเรียน สามารถแสดงศักยภาพในการเรียนรู้และนำสู่ชุมชนอย่างน่าภาคภูมิใจ
๓.๔ นักเรียนเป็นคนดี เป็นคนเก่ง มีความรู้คู่คุณธรรม พึ่งตนเองได้โดยใช้เวลาว่างให้เป็น
ประโยชน์ มีสุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี มีทักษะชีวิตสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง