บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ โดยการจัดการเรียน
การสอนแบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวศิรินันท์ สุรสันติวรการ
รายวิชา การงานอาชีพ 4 รหัสวิชา ง22104 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังโดยการจัดการเรียนการสอนแบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการกลุ่มตัวอย่างที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิค STAD ตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 และวัดผลการเรียนรู้ด้วยแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่า t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง โดยการจัดการเรียนการสอนแบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิค STAD พบว่า การทดสอบก่อน และหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 คะแนน และ 8.55 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนของนักเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิค STAD พบว่า ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิค STAD นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.68
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้
1. การจัดการเรียนการสอนแบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิค STAD เป็นเทคนิคการสอนที่มุ่งเน้นการใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในทุกขั้นตอน ดังนั้นครูผู้สอนควรจะอธิบายในแต่ละขั้นตอนให้ผู้เรียนทราบอย่างชัดเจน เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิค STAD ได้เป็นอย่างดี ครูต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับบทเรียนก่อนเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้า เพื่อให้การปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนในแต่ละขั้นตอนมีความชัดเจน
2. การจัดการเรียนการสอนแบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิค STAD ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการค้นคว้าหาความรู้จากกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งทำให้นักเรียนเกิดทักษะความรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงควรนำการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับเทคนิค STAD ไปส่งเสริมทักษะอื่น ๆ