นวัตกรรม รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย WTT Model โรงเรียนวัดถ้ำเต่า
นวัตกรรม รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย WTT Model โรงเรียนวัดถ้ำเต่า เป็นนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีกระบวนการของรูปแบบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) 2) กระบวนการ (Process) 3) ผลผลิต (Output)
4) ผลลัทธ์ (Outcome )และ 5) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ดังนี้
1. ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ ปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่
1.1 นโยบาย (Policy) โรงเรียนวัดถ้ำเต่ามีการศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546นโยบาย คู่มือ แนวทาง ของหน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
1.2 วิสัยทัศน์ (Vision) โรงเรียนวัดถ้ำเต่ามีการนำวิสัยทัศน์ มาวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อ ปรับให้มีความเหมาะสมกับการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1.3 พันธกิจ (Mission) คือสิ่งที่โรงเรียนจะทำเพื่อพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ไปสู่เป้าหมาย
1.4 เป้าประสงค์ (Goal) คือ สิ่งที่โรงเรียนวัดถ้ำเต่าต้องการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่จะสามารถจะดำเนินการได้ตาม และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการ ซึ่งเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ แต่การกระทำเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายต่างหาก ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะสำเร็จหรือไม่
2. กระบวนการ (Process) ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผน กระบวนการการดำเนินกิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้นวัตกรรม รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย WTT Model โรงเรียนวัดถ้ำเต่า ดังนี้
2.1 ศึกษากระบวนการและขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การป้องกันและแก้ไขปัญหา 4) การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน และ 5) การส่งต่อ
2.2 ใช้ WTT Modelของโรงเรียนวัดถ้ำเต่า มาพัฒนาเป็นนวัตกรรม รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย WTT Model โรงเรียนวัดถ้ำเต่า คือ 1) W คือ Willingness หมายถึง การดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของครูทุกคนต้องทำด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และทำด้วยความเต็มใจ 2) T คือ Teamwork หมายถึง ครูทุกคนมีการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ ด้วยระบบทีมงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) T คือ Technology หมายถึง ครูทุกคนต้องนําเทคโนโลยี นวัตกรรมใหมๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อลดเวลาและภาระงาน โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้
2.2.1 หลักกการใช้ WTT Model ในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
W คือ Willingness หมายถึง การดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของครูทุกคนต้องทำด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และทำด้วยความเต็มใจ
T คือ Teamwork หมายถึง ครูทุกคนมีการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ ด้วยระบบทีมงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
T คือ Technology หมายถึง ครูทุกคนต้องนําเทคโนโลยี นวัตกรรมใหมๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อลดเวลาและภาระงาน
2.2.2 การดำเนินงานด้วยกระบวนการ PDCA คือ
ขั้นที่ 1 (P) Plan การวางแผน ได้แก่ การศึกษา เอกสาร แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วีดีโอการดำเนินงาน คู่มือ แนวทางในการดำเนินงาน และสอบถามผู้เชี่ยวชาญในประเด็นต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ขั้นที่ 2 (D) Do การปฏิบัติ ได้แก่ การลงมือปฏิบัติงานพัฒนาระบบการดูแล
ครบองค์ประกอบทั้ง 5 ประการ คือ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การป้องกันและแก้ไขปัญหา 4) การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน และ 5) การส่งต่อโดยมุ่งเน้นการดำเนินงาน ด้วยระบบทีมงาน ตามรูปแบบของ WTT
3. ผลผลิต (Output)
3.1 Good Students (นักเรียนดี) นักเรียนทุกคนได้รับการดูแลตามขั้นตอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3.2 Good Teachers (ครูดี) ครูทุกคนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และทำด้วยความเต็มใจ มีการทำงานแบบร่วมแรง ร่วมใจด้วยระบบทีมงาน นําเทคโนโลยี นวัตกรรมใหมๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3.3 Good Directors (ผู้บริหารดี) ผู้บริหารสถานศึกษา มีนวัตกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3.4 Good School (สถานศึกษาดี) สถานศึกษาได้รับการยอมรับและมีความมั่นใจในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน
4. ผลลัทธ์ (Outcome ) คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ดีขึ้น ได้รับการส่งเสริม เข้าถึงแหล่งข้อมูล และเครื่องมือเทคโนโลยี การให้คำปรึกษา การพัฒนาทักษะ การสร้างเครือข่ายทางสังคม เพื่อเพิ่มโอกาสในทางเลือกการศึกษาต่อ และการใช้ชีวิตประจำวันที่หลากหลาย
5 ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) คือ ข้อมูลหรือความคิดเห็นที่ได้รับเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนวัตกรรม รูปแบบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วย WTT Model โรงเรียนวัดถ้ำเต่า เกิดผลผลิต หรือการปฎิบัติงาน เพื่อใช้ในการปรับปรุง พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ในการดำเนินงานตามขั้นตอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 5 ด้าน คือ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การป้องกันและแก้ไขปัญหา 4) การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน และ 5) การส่งต่อ ข้อมูลย้อนกลับสามารถเป็นทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น