ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศ (PANOM Model) เพื่อส่งเสริมครูปฐมวัย
ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
ผู้ศึกษา นางรุจาภา ประถมวงษ์
ปีที่วิจัย 2562 - 2563
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนารูปแบบการนิเทศ (PANOM Model) เพื่อส่งเสริมครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการนิเทศ ติดตาม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางด้านการคิดเชิงคำนวณของครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศ (PANOM Model) เพื่อส่งเสริมครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีวัตถุประสงค์ (3) เพื่อทดลองใช้และขยายผลการใช้รูปแบบการนิเทศ (PANOM Model) เพื่อส่งเสริมครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีวัตถุประสงค์ และ (4) เพื่อประเมินการพัฒนารูปแบบการนิเทศ (PANOM Model) เพื่อส่งเสริมครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีวัตถุประสงค์ โดยการดำเนินการวิจัยได้แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย กลุ่มเป้าหมายหลักในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางด้านการคิดเชิงคำนวณของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 17 คน และ 2) ครู ระดับปฐมวัย ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางด้านการคิดเชิงคำนวณของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) รูปแบบการนิเทศ (PANOM Model) เพื่อส่งเสริมครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีวัตถุประสงค์ 2) คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ (PANOM Model) เพื่อส่งเสริมครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีวัตถุประสงค์ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการนิเทศ (PANOM Model) เพื่อส่งเสริมครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีวัตถุประสงค์ และ 4) แบบนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานการส่งเสริมครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีวัตถุประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการนิเทศ ติดตาม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางด้านการคิดเชิงคำนวณของครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีประเด็นสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) การขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการจัดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ทางด้านการคิดเชิงคำนวณของครูปฐมวัย 2) การขาดงบประมาณและสื่อ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม และ 3) การขาดผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมทางด้านการคิดเชิงคำนวณของครูปฐมวัยที่ลงมาสู่โรงเรียนโดยตรง เพื่อให้คำแนะนำแก่ครู
2. รูปแบบการนิเทศ (PANOM Model) เพื่อส่งเสริมครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีวัตถุประสงค์ ประกอบไปด้วยหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ แนวทางและวิธีปฏิบัติ และขั้นตอนการดำเนินงานของรูปแบบ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบรูปแบบ พบว่า องค์ประกอบมีความสอดคล้องกันอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศ (PANOM Model) เพื่อส่งเสริมครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีวัตถุประสงค์ พบว่า ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ทางด้านการคิดเชิงคำนวณของครูปฐมวัยอยู่ในระดับมากที่สุด และครูปฐมวัยกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลประเมินกระบวนการพัฒนารูปแบบการนิเทศ (PANOM Model) เพื่อส่งเสริมครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 มีวัตถุประสงค์ พบว่า ทั้งด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกด้าน