การพัฒนาสื่อประกอบการเรียนวิชา วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนควบคู่ กับสื่อในระบบคลังสื่อ OBEC Content Center เรื่อง การใช้งานโปรแกรมสแคช
1.ความเป็นมาและความสำคัญ
การจัดการศึกษาโดยใช้สื่อการเรียนรู้ จัดเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบัน เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้สอนจะต้องมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสื่อการเรียนรู้ให้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ เพื่อกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น และความสนใจให้กับผู้เรียน ซึ่งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สำหรับการศึกษาจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นเรียนได้เร็วขึ้น เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจึงมีความสำคัญต่อสังคมปัจจุบันเป็นอย่างมาก
การจัดการเรียนการสอนสาระเทคโนโลยีในปัจจุบัน มุ่งให้นักเรียนมีความรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร โดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่รอบตัวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เรียนรู้จากสื่อการเรียนการสอนทั้งเอกสารแบบเรียน คู่มือเอกสารการสอนทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ตามความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล และการสอนให้ได้ผลดีนั้น ควรจะต้องเริ่มที่หลักการและจัดกระบวนการสอนให้สอดคล้องกับหลักการโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน วิธีการสอน และเทคนิคการสอน ซึ่งมีอยู่หลากหลายเข้ามาช่วยให้กระบวนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด"(ทิศนา แขมมณี)
คลังเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือ OBEC Content Center คือ โปรแกรมสำหรับให้บริการเผยแพร่เนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์แก่นักเรียน ครู ศึกษานิเทศ และบุคลากรทางการศึกษา รองรับการเข้าถึงเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 7 ประเภท ได้แก่ แอพลิเคชั่น, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Pdf, ePub), วีดิทัศน์ (Mp4), รูปภาพ (Jpg, Png), เสียง (Mp3), สื่อมัลติมีเดีย (Flash)และ งานวิจัยทางการศึกษา สามารถใช้งานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ที่รองรับระบบปฏิบัติการ iOS เวอร์ชั่น 8.0 ขึ้นไปหรือ Android เวอร์ชั่น 4.3 ขึ้นไป หรือ Windows เวอร์ชั่น 8.1 ขึ้นไป ซึ่งถือว่าทันสมัยสอดคล้องกับการใช้งานในปัจจุบัน นักเรียนสามารถดาวน์โหลดติดตั้งลงในอุปกรณ์สมาร์ทโฟนเพื่อเข้าไปดูได้จากทุกที่ที่ต้องการ โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลไม่สะดวกในการใช้งานอินเทอร์เน็ต สามารถดาวน์โหลดลงในเซิร์ฟเวอร์ทำเป็นระบบออฟไลน์ให้นักเรียนได้ จึงได้เลือกใช้สื่อจาก OBEC Content Center มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
จากประสบการณ์ของผู้จัดทำสื่อนวัตกรรม เป็นครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนเมืองพาลุกากรภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร พบว่าในปี ที่ผ่านมานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ส่วนใหญ่มีปัญหา เรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยโปรแกรม สแคช ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ ผู้จัดทำได้แก้ปัญหาโดยการปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆแต่ก็สามารถแก้ปัญหาได้เพียงบางส่วน ปัญหาดังกล่าวถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะเป็นอุปสรรคในการเรียนชั้นสูงต่อไป โดยใช้รูปแบบการสอน ADDIE ดังนี้ ADDIE เป็นรูปแบบการสอนที่ออกแบบขึ้นมา เพื่อใช้ในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยอาศัยหลักของวิธีการระบบ (System Approach) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสามารถนำไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี และกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมสแคช บนระบบคลังสื่อ OBEC Content Center เป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีความสนุกในการเรียน ไม่เบื่อหน่าย ผู้เรียนเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาตามความเหมาะสมและ ความต้องการของผู้เรียนในโอกาสต่อไป และสามารถเลือกรูปแบบการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้คอยชี้แนะ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนเท่านั้น ตามหลักทฤษฎีการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ในส่วนของสาระเทคโนโลยี วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นั้น มีเนื้อหาหลาย ๆ เรื่อง ล้วนเกี่ยวข้องกับการใช้งานสื่อเทคโนโลยี สื่อออนไลน์ ข้อมูลออนไลน์ แอปพลิเคชัน การเขียนโปรแกรมด้วยด้วยโปรแกรมสแคช เป็นอีกหนึ่งเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนรู้ และการเลือกใช้งานสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่จะอำนวยความสะดวกให้นักเรียน มีเนื้อหามากมายให้เลือก สามารถเข้าถึงและเลือกศึกษาในเรื่องที่ตนเองสนใจอยากจะเรียนรู้ ได้จากทุก ๆ ที่ และหากสถานการณ์โรคระบาดที่มีลักษณะเดียวกับ โควิด19 เข้ามาอีก ก็ยังใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนได้
ซึ่งโปรแกรมสแคช เป็นโปรแกรมภาษาแบบ block programming (แบบลาก-วาง) เพื่อให้ตัวละครสนทนา เคลื่อนที่ และวาดรูปได้ โดยจัดเรียงคำสั่งตามลำดับขั้นตอน เป็นสื่อหนึ่งที่สร้างภาพให้เห็นการทำงานเป็นขั้นตอนและวิธีการคิดแก้ปัญหาที่เป็นระบบผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานได้อย่างง่าย เช่นนิทานที่สามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ ภาพเคลื่อนไหว เกมดนตรี ศิลปะ และเมื่อสร้างเป็นชิ้นงานเสร็จแล้วสามารถนำชิ้นงานที่สร้างสรรค์นี้แสดง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นบนเว็บไซต์ได้ และการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา(Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558)
ครูผู้สอนเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงพัฒนาสื่อประกอบการเรียนวิชา วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมสแคช บนระบบคลังสื่อ OBEC Content Center มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งคลิปวีดีโอจะสามารถดึงดูดนักเรียนได้ทุกคนทุกวัย สามารถกระตุ้นความสนใจของนักเรียนได้ โดยผู้พัฒนาสื่อ หวังว่าจะช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีและจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ในเรื่องอื่นๆ ต่อไป
2.วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
2.1วัตถุประสงค์
๑. เพื่อออกแบบสื่อนวัตกรรมในการแก้ปัญหานักเรียนที่มีทักษะการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch
๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน
2.2 เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองพาลุกากรภูมิ ในภาคเรียนที่ 1/2567 จำนวน 6 คน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch สูงขึ้น
3.ลำดับการพัฒนาสื่อ
๓.๑ขั้นตอนการพัฒนาสื่อดังนี้
๓.๑.1 วางแผนการดำเนินการ เพื่อแก้ปัญหานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมสแคช บนระบบคลังสื่อ OBEC Content Center มี ๔ ขั้นตอน ต่อไปนี้
ขั้นที่ ๑ วางแผน
๑. ศึกษาเอกสาร ตำราและงานวิจัย การปัญหาการจัดการชั้นเรียน
๒. วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยวัดความรู้จากการทำแบบทศสอบก่อนก่อนเรียน
๓. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
๔. สร้างสื่อนวัตกรรมบทเรียนออนไลน์
ขั้นที่ ๒ ดำเนินงาน
๕. ให้ความรู้นักเรียน โดยจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน
๖. นักเรียนเรียนรู้เนื้อหาด้วยตนเองผ่านบทเรียนออนไลน์
ขั้นที่ ๓ ติดตามประเมินผล
๗. ครูติดตามทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน
๘. ประเมินนักเรียนเป็นระยะ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เนื้อหาที่เรียนร่วมกัน
๙. ประเมินผลการเรียนรู้ โดยทำแบบทดสอบหลังเรียน
ขั้นที่ ๔ สรุปผล
๑๐. สรุปผลการดำเนินงาน
๑๑. นำผลไปปรับปรุงพัฒนา