ชื่อเรื่อง : การพัฒนาทักษะความสามารถเรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย : นางสาวกฤตินี เงินสมบัติ
ปีที่วิจัย : 2566
ที่มาของปัญหา
ในการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมานักเรียนเข้าใจความรู้ และองค์ประกอบอื่นๆ ในรายวิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ เช่น เครื่องดนตรีไทย วงดนตรีไทย การแสดงแต่ละภูมิภาค ท่านาฏยศัพท์ ภาษาท่า แต่เมื่อกล่าวถึงจังหวะดนตรี นักเรียนจะทราบเพียงจังหวะ ช้า ปานกลาง เร็ว ไม่สามารถอธิบายหรือปฏิบัติเครื่องดนตรีได้ การฟังบทเพลงไทยเดิมนักเรียนสามารถอธิบายได้เพียงผิวเผิน ไม่สามารถบอกได้ถึงทักษะที่ควรจะทราบในเรื่องของเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ และอัตราจังหวะดนตรีไทย ครูจึงหาวิธีให้นักเรียนเข้าใจถึงทักษะพื้นฐานในเรื่องของอัตราจังหวะดนตรีไทยที่ถูกต้องให้กับนักเรียนผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีคุณภาพตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์รวมถึงสมรรถนะการคิดและสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์รวมถึงสมรรถนะสําคัญของผู้เรียนดังที่กล่าวมาเพิ่มสูงขึ้น และผู้เรียนสามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างแท้จริง
จุดประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนบอกความสำคัญของเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ และอธิบายรูปแบบเพลงที่มีอัตราจังหวะสองชั้นได้
2. เพื่อให้นักเรียนบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบจังหวะตามเพลงอัตราจังหวะสองชั้นได้
3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาดนตรี มีความสนใจ ความพยายามในการเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อให้นักเรียนบอกความสำคัญของเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ และอธิบายรูปแบบเพลงที่มีอัตราจังหวะสองชั้นได้
2. เพื่อให้นักเรียนบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบจังหวะตามเพลงอัตราจังหวะสองชั้นได้
3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาดนตรี มีความสนใจ ความพยายามในการเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย
หลักการ/แนวคิด/ทฤษฎี
๑. การเสริมแรง
๒. การสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
๓. การเน้นกระบวนการเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนบ้านสวนหลวง(รัตนวิจิตรพิทยาคาร) ภาคเรียนที่ ๒/2566 จำนวน 38 คน
เครื่องมือในการฝึกปฏิบัติ
1. คลิปวิดีโอเรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย
2. เครื่องดนตรีประกอบจังหวะ และอุปกรณ์อื่นๆ
วิธีดำเนินการวิจัย
๑. จัดเตรียมแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน เรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย
๒. ให้นักเรียนฟังเพลง 2 เพลงและอธิบายความแตกต่างของบทเพลงในด้านต่างๆ
๓. จัดทำใบงานเรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย
๔. ตรวจสอบความก้าวหน้า
๕. รวบรวมและสรุปผลการวิจัยเพื่อนำเสนอ
ผลการวิจัย การสะท้อนผลและข้อเสนอแนะ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางที่ ๑ ตารางแสดงผลความก้าวหน้าการพัฒนาทักษะความสามารถเรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เลขที่ ชื่อ - นามสกุล ก่อนเรียน 10 หลังเรียน
10 ความก้าวหน้า หมายเหตุ
1 เด็กชายวรภัทร นาประจักร์ 5 7 2
2 เด็กชายบัญญวัต แสงจันทร์ 4 8 4
3 เด็กชายวรภูมิ ศรประสิทธิ์ 3 8 5
4 เด็กชายกฤตภัค เธียรศรี 3 9 6
5 เด็กชายจักริน แก้วกล้า 4 9 5
6 เด็กชายธีระนันท์ แหล่งสนาม 5 8 3
7 เด็กชายเจษฎา สังข์ใหม่ 2 8 6
8 เด็กชายการันต์ หิรัญกุล 5 9 4
9 เด็กชายไตรภูมิ วรรณทนาพร 4 10 6
10 เด็กชายวีรวัฒน์ บัวมาศ 3 10 7
11 เด็กชายมณฑารพ หนูอ้น 5 8 3
12 เด็กชายวชิรวิชย์ นิลเพ็ชร 3 8 5
13 เด็กชายวายุ นาทองถม 5 8 3
14 เด็กชายณัฐวิโรจน์ เข็มคุณ 3 9 6
15 เด็กชายธนะภัทร หอมพูลผล 2 9 7
16 เด็กชายปองพล ปทุมสูติ 5 7 2
17 เด็กชายพรภวิษย์ ฐิตยานุวัฒน์ 7 9 2
18 เด็กชายศรุต ราศรีดี 3 8 5
19 เด็กชายอนุวัฒน์ จันทพาหะ 4 7 3
20 เด็กชายนพรัตน์ ภวันคาม 2 10 8
21 เด็กชายเสฎฐวุฒิ นวลแจ่ม 5 9 4
22 เด็กหญิงเนตรดาว ที่รักษ์ 5 9 4
23 เด็กหญิงวรกมล มีเปรี่ยม 3 8 5
24 เด็กหญิงศุภานัน บู่สาลี 6 7 1
25 เด็กหญิงกายญวรรณ์ รองเมือง 3 6 3
26 เด็กหญิงพิมพ์ลภัส จังหาร 8 9 1
27 เด็กหญิงกุลจิรา ศรีเหรา 5 9 4
28 เด็กหญิงนันธิดา คุ้มใจ 2 8 6
29 เด็กหญิงพัณณิตา นมแสง 2 8 6
30 เด็กหญิงปุณยพร ไชยเวียงแก้ว 4 9 5
31 เด็กหญิงณัฐธิดา เนียมชาวนา 3 8 5
32 เด็กหญิงสายน้ำ ซีเมอร์ 5 7 2
33 เด็กหญิงนพินประภา บัวศรี 3 9 6
34 เด็กหญิงปาริสา ขยันกิจ 8 9 1
35 เด็กหญิงอนุสรา ชนะสิงห์ 7 9 2
36 เด็กหญิงอรพรรณ สุวรรณดา 6 8 2
37 เด็กหญิงอรวรรณ ภาคสิม 3 8 5
38 เด็กหญิงรวีนิภา ชนะภาต์ 5 7 2
รวม 160 316 156
เฉลี่ย 4.21 8.32 4.11
สรุปอภิปรายผล
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะความสามารถเรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน ๓8 คน โรงเรียนบ้านสวนหลวง(รัตนวิจิตรพิทยาคาร) ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางความสามารถเรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทย โดยการทำแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน ฟังบทเพลงและอภิปราย การทำใบงาน นักเรียนสามารถทำได้ดีขึ้นตามลำดับจนเป็นที่น่าพอใจและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ผู้เรียนสามารถฝึกทักษะความสามารถเรื่องอัตราจังหวะดนตรีไทยได้ถูกต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้
๑. ควรมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อจะได้พัฒนาทักษะทางด้านวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ให้ดีขึ้น
๒. ในการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการที่น่าสนใจ และสามารถดึงดูดสมาธิการให้นักเรียนให้เป็นไปตามขั้นตอน และกิจกรรมฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
๓. ขณะที่นักเรียนฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ครูควรมีการบันทึกพฤติกรรมการเขียนของนักเรียนรายบุคคลเพื่อจะได้ วิเคราะห์การเขียนเฉพาะรายบุคคลเพื่อการแนะนำพูดคุยต่อตัวนักเรียน และช่วยเสริมแรงในการฝึกเขียนครั้งต่อไป
๔. ควรมีการจัดทำชุดพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ในหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อการพัฒนาทักษะทางการเรียนดนตรีของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น