บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การวิจัย รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
ผู้วิจัย นายเกษม แลวงค์นิล
ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านหัวดง
ปีการศึกษา 2566
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 มีวัตถุประสงค์ของ การวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 (2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียน บ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 (3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 และ (4) ประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอน 1 ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ประชากร ได้แก่ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 จำนวน 104 โรงเรียน รวมครูทั้งสิ้นจำนวน 1,173 คน และ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ครูวิชาการของโรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 104 คน ขั้นตอน 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน ขั้นตอน 3 ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ประชากร ได้แก่ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 จำนวน 104 โรงเรียน รวมครูทั้งสิ้นจำนวน 1,173 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่สมัครใจเข้าร่วมทดลองนำร่อง โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครู เป็นครูโรงเรียนบ้านหัวดง จำนวน 6 คน และครูโรงเรียนบ้านก้อ จำนวน 7 คน และโรงเรียนบ้านป่าแหย่ง จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 19 คน ขั้นตอน 4 ประเมิน รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ประชากร ได้แก่ ครู ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 จำนวน 104 โรงเรียน รวมครูทั้งสิ้นจำนวน 1,173 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่สมัครใจเข้าร่วมทดลองนำร่อง โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครู เป็นครูโรงเรียนบ้านหัวดง จำนวน 6 คน และครูโรงเรียนบ้านก้อ จำนวน 7 คน และโรงเรียนบ้านป่าแหย่ง จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 19 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์สถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ผู้วิจัยได้นำประเด็น ที่ค้นพบจากการสรุปผล 4 ประเด็น ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 พบว่า สภาพที่เป็นจริงของสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ดังนี้ 2.1) ยกร่างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ประกอบด้วย (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) ระบบงานและกลไกของรูปแบบ (4) วิธีดำเนินงานของรูปแบบ และ (5) แนวการประเมินรูปแบบ 2.2) ตรวจสอบร่างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ดังนี้ ความเป็นไปได้ (Feasibility) อยู่ในระดับมาก ความเป็นประโยชน์ (Utility) อยู่ในระดับมาก ความเหมาะสม (Propriety) อยู่ในระดับมาก และความถูกต้องครอบคลุม (Accuracy) อยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ดังนี้ 3.1) ศึกษาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3.2) ศึกษาความพึงพอใจของครู ต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ดังนี้ 4.1) สรุปได้ว่าผลสัมภาษณ์ครูโรงเรียนบ้านหัวดง ครูโรงเรียนบ้านก้อ และโรงเรียนบ้านป่าแหย่ง โรงเรียนละ 3 คน พบว่า สมควรจะให้ครูเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการจัดการเรียนรู้ของครู เพราะจะเกิดประโยชน์มากที่สุด ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูมีสภาพการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อการสอนยังน้อย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น จัดทำแผนพัฒนาความรู้และทักษะ การจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อ ซ่อมบำรุง อุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ให้มีมากขึ้น ได้เทคนิค และวิธีการจากโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ แล้วจะนำไปเขียนลงในแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีความมั่นใจความรู้ความเข้าใจ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ควรได้รับการฝึกอบรมบ่อยๆ มีกำลังใจ มีคนสนใจในกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดรู้สึกว่าเราสอนดี เป็นตัวอย่างของคนอื่นได้ ภูมิใจที่ผลการจัดการโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้จนประสบความสำเร็จและจะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ และ 4.2) ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ดังนี้ ความเป็นไปได้ (Feasibility) อยู่ในระดับมาก ความเป็นประโยชน์ (Utility) อยู่ในระดับมาก ความเหมาะสม (Propriety) อยู่ในระดับมาก และความถูกต้องครอบคลุม (Accuracy) อยู่ในระดับมาก