ชื่อผลงาน การพัฒนาสื่อและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทย ด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ผู้เสนอผลงาน นางสาวจุฑาทิพ กาญจนประดิษฐ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนวัดหนองพันท้าว(พรประชาวิทยาคาร)
สังกัด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
โทรศัพท์มือถือ 061-5361499
E-mail : 
ID Line : 
จุดเน้นของสื่อ
 ด้านการบริหารจัดการ
 ด้านกระบวนการการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1.
ความสำคัญ/ความเป็นมาของผลงาน
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเป็นการจัดการเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองต่อการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจำเป็นที่จะต้องลดบทบาทของผู้สอน แต่เพิ่มบทบาทของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำและได้คิดในสิ่งที่ทำลงไปเพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้เกิดขึ้น แก่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครูด้วยการลงมือทำกิจกรรมร่วมกันทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน จากนั้นก็สร้างองค์ความรู้ขึ้นจากสิ่งที่ได้ลงมือทำนั้นผ่านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การอภิปรายและการสะท้อนคิดเพื่อสร้างความหมายกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ (พิมพ์พรลภัส ลักษณะวิเชียร ,2562)
กิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชานาฎศิลป์ ที่โดนกระแสนิยมและการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ส่งผลให้ความสำคัญและเนื้อหาของรายวิชาถูกลดบทบาทลงไป ผู้เสนอผลงานจึงมีแนวคิดในการออกแบบนวัตกรรม พัฒนาสื่อและการจัดการเรียนรู้ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทย จึงใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกหรือ Active Learning เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเนื้อหาและเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว (ถนอมพร ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง, 2541: 52-56)
จากความสำคัญและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูผู้สอนจึงได้มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาผู้เรียนตามกรอบแนวความคิดการจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้น Child Centered Learning ด้วยรูปแบบการพัฒนาสื่อและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะนาฏศิลป์ไทย ภายใต้กรอบการบริหารจัดการ ตามรูปแบบกระบวนการบริหารวงจรคุณภาพ PDCA NONGPANTAO Model โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มาครอบคลุมกระบวนการการทำงาน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนเป็นหลัก (Active Learning) ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ GPAS 5 Steps เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีแนวทางที่สามารถตอบโจทย์ของการจัดการศึกษาเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในการก้าว เข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 ได้เป็นอย่างดี (ผศ.อลิสา เลี้ยงรื่นรมย์, 2564)