ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนต้นแบบเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร)
ผู้วิจัย : นางรัชดาภรณ์ พรมจุ้ย
ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหาร โรงเรียนต้นแบบเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียน 2) เพื่อสร้าง รูปแบบการบริหารโรงเรียนต้นแบบเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนา นักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนต้นแบบ เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟัก อังกูร) และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนต้นแบบเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมใน สถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงผสาน วิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชากร ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ของลิเคอร์ท (Likert) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการหาค่า ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ส่วนการศึกษาข้อมูลเชิง คุณภาพ ด้วยการสังเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารโรงเรียนต้นแบบเสริมสร้าง
คุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียน พบว่า มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ ของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการบริหาร 4) แนวทางการจัดกิจกรรม 5) ผลลัพธ์ และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนต้นแบบเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมใน สถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหารโรงเรียนต้นแบบเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมด้วย กระบวนการ SPDCA Model มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพบริบท (SWOT Analysis : S) ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนงาน (Planning : P) ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินงานตามแผนงาน(Doing : D) ขั้นตอนที่ 4 การติดตามประเมินผล (Checking : C) และ ขั้นตอนที่ 5 การปรับปรุง พัฒนา (Acting : A) องค์ประกอบที่ 4 แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ตามแนวทาง LACC Model มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) แกนนำอาสาต้นกล้าความดี (Leader : L)
2) วิเคราะห์ถ้วนถี่ แยกแยะสถานการณ์ (Analysis : A) 3) ห้องเรียนเบิกบาน สำราญสุขใจ (Classroom : C) 4) จัดค่ายวัยใส แรลลี่คุณ ธรรม (Camp : C) องค์ประกอบที่ 5 ผลลัพธ์ ประกอบด้วย 1) คุณธรรมพื้นฐาน 5 ปะการ ของนักเรียน 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
3) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการปฏิบัติตามรูปแบบฯ และองค์ประกอบที่ 6 เงื่อนไขความสำเร็จ สำหรับผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนต้นแบบเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมใน สถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า รูปแบบฯ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่าน เกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนต้นแบบเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) พบว่าครูมีความเห็นว่าสามารถ ปฏิบัติตามรูปแบบฯได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนต้นแบบเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบ ร้อยละของผลการประเมินคุณธรรมพื้นฐาน 5 ประการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) ก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า คุณธรรมพื้นฐาน 5 ประการ ของนักเรียน ในปีการศึกษา 2566 สูงกว่าในปีการศึกษา 2565 2) ผล การเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) ก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่าคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทุกข้อ ในปีการศึกษา 2566 สูงกว่าในปีการศึกษา 2565
3) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารโรงเรียนต้นแบบ เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟัก อังกูร) อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด