รายละเอียดเอกสารการนำเสนอผลงานนวัตกรรม
ความสำคัญของผลงานนวัตกรรมที่นำเสนอ
ปัจจุบันประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลาและเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ทำให้ประชาชนในชาติเกิดการแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอดและสร้างความมั่นคงให้กับตนเอง
สภาพของสังคมไทยโดยรวมจึงเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยมีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาพฤติกรรมของคนในสังคมตามมาคือ การหย่อนในศีลธรรม จริยธรรมขาดระเบียบวินัย ขาดความรับผิดชอบ เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันของคนในสังคม ส่งผลให้วิถีชีวิตและค่านิยมดั้งเดิมที่ดีงามของคนไทยเริ่มจางหายไปพร้อม ๆ กับการล่มสลายของสถาบันครอบครัว ชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่น (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2563 : 8) "จริยธรรม" จึงเป็นเรื่องที่ได้รับการกล่าวถึงมากเรื่องหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้สภาพสังคมที่สับสน วุ่นวาย ขาดความสงบสุข อันเนื่องมาจากสมาชิกในสังคมประพฤติหรือปฏิบัติไม่เหมาะสมเพราะคนในปัจจุบันด้อยหรือไร้จริยธรรม (สงบ ลักษณะ 2562 : 30) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จริยธรรม ด้านความรับผิดชอบ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2563 : 3) ได้จัดลำดับความสำคัญเกี่ยวกับความรับผิดชอบไว้เป็นอันดับหนึ่งร่วมกับการพึ่งตนเองและความขยันหมั่นเพียรและจากผลการวิจัยของ ธวัชชัย ชัยจริยฉายากุล (2560 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับค่านิยม พื้นฐานทางจริยธรรมของไทยอย่างละเอียด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปลูกฝังจริยธรรมแก่เยาวชนโดยดำเนินการจัดลำดับความสำคัญของค่านิยมพื้นฐานทางจริยธรรม 10 ลำดับ ได้ผลสอดคล้องกันว่า ความรับผิดชอบเป็นค่านิยมพื้นฐานทางจริยธรรมที่สำคัญ และควรเร่งปลูกฝังให้กับคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง และจากโครงการศึกษาศักยภาพ
ของเด็กไทยของกองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ (2561ก : บทนำ) พบว่า การพัฒนาศักยภาพ
ของเด็กไทยด้านความรับผิดชอบและมีวินัยในตนเองควรมีการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพให้เกิดขึ้นกับเด็ก
ให้มีคุณลักษณะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ความรับผิดชอบจึงนับเป็นค่านิยมพื้นฐาน
ทางจริยธรรมที่มีความสำคัญและจำเป็นมากที่สุด (ไพฑูรย์ สินลารัตน์ 2524 : 33-34) ทั้งนี้เนื่องจาก
เมื่อบุคคลมีความรับผิดชอบหากจะต้องปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ก็ย่อมสามารถทำงานได้สำเร็จเป็นที่น่าเชื่อถือ
และนำมาซึ่งความสำเร็จของชีวิตการทำงานในที่สุด ความรับผิดชอบยังเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นผู้มี
วุฒิภาวะด้านอุปนิสัยและเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งหากทุกคนในสังคม
รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่าง ๆ อย่างดีแล้ว ก็ย่อมทำให้เกิดสันติ ตลอดจนความเจริญงอกงามขึ้นในสังคม
(วารี ศิริเจริญ 2562 : 3)
ความรับผิดชอบ จึงเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่จะส่งผลการพัฒนา เพื่อเป็นพลเมืองที่ดีและสำคัญ
อีกอย่างหนึ่ง ความรู้สึกรับผิดชอบ เปรียบได้กับนิสัยและทัศนคติของบุคคล ซึ่งเป็นเครื่องผลักดันให้เกิด
การปฏิบัติตามระเบียบ เคารพสิทธิของผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเองและมีความรับผิดชอบที่มีต่อตนเองและส่วนร่วม อันจะช่วยให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปด้วยความราบรื่น สงบสุข ฉะนั้น ความรับผิดชอบจึงเป็นปัจจัยคุณธรรม ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนนั้นได้ทราบหน้าที่อันพึงปฏิบัติในการอยู่ร่วมกับคนในสังคมต่อไป
ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike.1874-1949) นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวอเมริกาผู้ให้กำเนิดทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ที่เชื่อในเรื่อง
ของทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) ธอร์นไดค์ ได้ศึกษาเรื่อง การเรียนรู้ของสัตว์
และต่อมาได้กลายมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ทั่วไปโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในนามทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงในเรื่องนี้ นอกจากธอร์นไดค์จะได้ย้ำในเรื่องการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำแล้ว เขายังให้ความสำคัญของการให้รางวัลหรือการลงโทษ ความสำเร็จหรือความผิดหวังและความพอใจหรือความไม่พอใจแก่นักเรียนอย่างทัดเทียมกันด้วย ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เน้นที่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) ที่ชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการที่มนุษย์หรือสัตว์ได้เลือกเอาปฏิกิริยาตอบสนองที่ถูกต้องนั้นมาเชื่อมต่อเข้ากับสิ่งเร้าอย่างเหมาะสม หรือการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ โดยการสร้างสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เรียกทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ว่า ทฤษฎีเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับตอบสนอง (S-R Bond Theory) หรือทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionisms Theory) จากการทดลองและแนวความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ดังกล่าวมาข้างต้น เขาได้เสนอกฎการเรียนรู้ที่สำคัญขึ้นมา 3 กฎ อันถือว่าเป็นหลักการเบื้องต้นที่นำไปสู่เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนกฎทั้ง 3 ได้แก่
1. กฎแห่งการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ (The Law of Exercise or Repetition) ชี้ให้เห็นว่า การกระทำซ้ำหรือการฝึกหัดนี้ หากได้ทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะทำให้การกระทำนั้น ๆ ถูกต้องสมบูรณ์และมั่นคง
2. กฎแห่งผล (The Law of Effect) เป็นกฎที่มีชื่อเสียงและได้รับความสนใจมากที่สุด ใจความสำคัญของกฎนี้ก็คือรางวัลหรือความสมหวัง จะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้นมากขึ้น
แต่การทำโทษหรือความผิดหวังจะลดอาการแสดงพฤติกรรมนั้นลง
3. กฎแห่งความพร้อม (The Law of Readiness) กฎนี้หมายถึงความพร้อมของร่างกาย ในอันที่จะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมา
จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และกิจกรรมต่างๆทั้งในและนอกห้องเรียนให้กับนักเรียนทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน พบว่าเด็กนักเรียนมีการขาดความรับผิดชอบและขาดระเบียบวินัยในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน ได้แก่ การเข้าเรียนไม่ตรงเวลา การนำงานอื่นที่ไม่เกี่ยวของกับการเรียนขึ้นมาทำขณะครูสอน ส่งงานไม่ทันภายในเวลาที่กำหนด ไม่นำอุปกรณ์การเรียนมาตามที่ได้รับมอบหมาย ชอบพูดคุยกันเวลาครูสอน การไม่ติดตามงานและแก้ไขงานให้ถูกต้อง พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียน ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และทำให้เกิดปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาต่อตนเอง คือเรียนไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่มุ่งหวังเอาไว้และยังเป็นปัญหาในครอบครัวอีกด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ควรที่จะได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อให้นักเรียนมีนิสัยรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่นให้ได้มากที่สุด ซึ่งคุณครูได้แก้ปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น โดยการพูด เตือนเน้นย้ำซ้ำๆ ฝึกปฏิบัติซ้ำๆ เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนหรือทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งผลที่เกิดทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดของธอร์นไดร ในกฎการเรียนรู้ที่สำคัญขึ้นมา 3 กฎ
ด้วยเหตุผลข้างต้น ผู้ศึกษาในฐานะครูผู้สอนและครูที่ปรึกษานักเรียน จึงได้คิดค้นนวัตกรรม สร้างเด็กดี มีคุณธรรม เน้นทำซ้ำ นำเกิดผล แห่งความพร้อม มีความรับผิดชอบด้วยการใช้รูปแบบ B^2DONSAI MODEL โดยนำแนวของธอร์นไดค์ ด้วยมาบูรณาการ เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะคุณธรรมด้านความรับผิดชอบ ขึ้น ประการหนึ่งเพื่อส่งเสริม พัฒนาให้นักเรียนโรงเรียนบ้านดอนทรายให้มีความรับผิดชอบในการเรียนตามความคาดหวังของผู้ปกครอง อีกประการหนึ่งก็เพื่อปลูกฝังคุณธรรม ด้านความรับผิดชอบซึ่งสอดคล้องกับคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนบ้านดอนทรายให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลก่อเกิดความยั่งยืนสืบไป ซึ่งจะได้นำไปใช้กับนักเรียนในที่ปรึกษา นักเรียนในรายวิชา กิจกรรมที่รับผิดชอบ และขยายผลสู่นักเรียนทั้งโรงเรียนต่อไป
จุดประสงค์และเป้าหมาย
จุดประสงค์
เพื่อพัฒนาคุณธรรมด้านความรับผิดชอบของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนทราย ตามแนวคิดของธอร์นไดค์ โดยการใช้รูปแบบ B^2DONSAI MODEL ด้วยนวัตกรรม สร้างเด็กดี
มีคุณธรรม เน้นทำซ้ำ นำเกิดผล แห่งความพร้อม มีความรับผิดชอบ
เพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนทราย โดยการใช้รูปแบบ B^2DONSAI MODEL ด้วยนวัตกรรม สร้างเด็กดี มีคุณธรรม เน้นทำซ้ำ นำเกิดผล แห่งความพร้อม มีความรับผิดชอบ
เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงปริมาณ : นักเรียนโรงเรียนบ้านดอนทรายจำนวน 160 คน ปีการศึกษา 2566
เป้าหมายเชิงคุณภาพ : นักเรียนโรงเรียนบ้านดอนทราย จำนวน 160 คน ปีการศึกษา 2566 มีคุณธรรมด้านความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นด้วยรูปแบบ B^2DONSAI MODEL