ความสำคัญของผลงาน หรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ด้านการส่งเสริมการอ่านด้วยแบบฝึกการอ่าน ทฤษฎีสีดำ แดง น้ำเงิน (เป็นนวัตกรรมที่เคยมีและเกิดขึ้นมาก่อน)
ความเป็นมาและสภาพปัญหา
จากเหตุการณ์โรคระบาดเกิดขึ้นในปัจจุบันคือ ไวรัสโคโรนา(โควิด-๑๙) ทำให้ทั่วโลกและประเทศไทยต้องมีการดำเนินการตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเร่งด่วน ส่งผลให้ภาคธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ มีผลกระทบกันอย่างต่อเนื่องและแพร่หลาย รวมถึงการศึกษาที่ต้องมีการสั่งปิดโรงเรียนเป็นกรณีพิเศษทำให้นักเรียนขาดโอกาสในการเรียนรู้ โรงเรียนอนุบาลวังม่วง ซึ่งอยู่ในจังหวัดสระบุรี จึงได้มีนโยบายในการจัดการเรียนการสอน On Hand ,On Line และOn Demand ให้กับนักเรียนเพื่อการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและสร้างโอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียน
ครูผู้สอนพบปัญหาคือผู้เรียนที่ยังขาดทักษะภาษาไทย ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากในการอ่านออกเสียงภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักการ ผู้เรียนขาดทักษะพื้นฐานสำคัญในการอ่านออกเสียง และการเขียนคำส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถจับประเด็นสำคัญของเนื้อความต่าง ๆ ได้ ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมยังไม่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร เนื่องจากบริบทของสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงสื่อเทคโนโลยีของผู้เรียน ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียนยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะทาภาษาไทยดีขึ้น ครูผู้สอนจึงใช้วิธีการประยุกต์จากเทคโนโลยีด้วยบทเรียนสำเร็จรูป โดยใช้ความรู้ความเข้าใจเนื้อหาที่นักเรียนเรียนในเนื้อหาวิชา เพื่อให้กิจกรรมมีความหลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะได้ทุกเวลา ซึ่งทำให้กิจกรรมน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
แนวทางแก้ปัญหาและพัฒนา
ครูผู้สอนใช้หลักการสอนที่ทำให้นักเรียนอ่านออกและเขียนได้ รักภาษาไทย คือการสอนให้ตรงกับธรรมชาติและความต้องการที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน จึงหาวิธีแก้ไขปัญหาจากการอ่านที่ทำให้นักเรียนสามารถจดจำได้ง่ายขึ้น นำไปสู่ นวัตกรรมการใช้แบบฝึกการอ่านด้วยทฤษฏีสีดำ แดง น้ำเงิน เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกต มีความเข้าใจ และเกิดการจดจำแบบถาวร การแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องในขณะทำการสอน จนค้นพบ เทคนิคและวิธีการสอนอ่านด้วยอักษร 3 สี ที่กำหนดให้ใช้สี 3 สีอะไรก็ได้ และใช้สีที่เลือกนั้น กำหนดลงบนตัวอักษรที่เป็นส่วนประกอบของคำแบบตายตัวตลอดการเรียนรู้ คือที่มาของวิธีการแก้ปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกของนักเรียน การพัฒนาการสอนอ่านด้วยการใช้อักษร 3 สี ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 25 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านกฤษณา
เป้าหมาย
กลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน โรงเรียนบ้านกฤษณา
การออกแบบเพื่อพัฒนาห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนคุณภาพนั้น ครูผู้สอนได้ดำเนินการพัฒนาตามขั้นตอนการออกแบบสื่อการสอนเทคโนโลยี ซึ่งประยุกต์มาจากวิธีการที่มีการยอมรับมากที่สุดเพื่อนำไปพัฒนาเป็นขั้นตอนการออกแบบห้องเรียนคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ฝึกอ่านทุกวัน ในช่วงพักกลางวันเพื่อความต่อเนื่อง โดยใช้แบบฝึก ทฤษฎีสีดำ แดง น้ำเงิน
ขั้นที่ 2 ฝึกการอ่านควบคู่กับการเขียน โดยใช้อักษรไทย คำ เขียนตามคำบอก
ขั้นที่ 3 การฝึกคัดลายมือ นอกจากทำให้ลายมือสวยงามแล้ว ยังเป็นการช่วยในการจดจำรูปคำต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย
ขั้นที่ 4 การวาดรูป ประกอบคำ ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสนุกไปกับงาน โดยมีการจำแนกคำออกมาเพื่อให้นักเรียนเข้าใจการผสมคำมากขึ้น
ขั้นที่ 5 การนำคำมาแต่งเป็นประโยคสื่อสารรูปหรือเหตุการณ์จริง เช่น ใคร + ทำอะไร, +กับใคร
ขั้นที่ 6 การเขียนคำตามภาพวาด โดยให้นักเรียนมีอิสระตามความคิดของนักเรียนเอง โดยกระบวนการ 6 ขั้นนี้ นักเรียนจะต้องผ่านไปทีละขึ้น โดยเมื่อครบ 6 ขั้นแล้ว ก็เริ่มสอนขั้นที่ 1 - 6 ใหม่ ทำอย่างนี้ทำให้เห็นผลงานที่ออกมามองเห็นนักเรียนมีความภูมิใจในตัวเองเพราะการอ่านออกเขียนได้
การดำเนินงานตามกิจกรรม
กำหนดขั้นตอนเป็น 3 ระยะ 7 ขั้นตอน
ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ ปัญหาความ ต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาการอ่าน
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการและ ความจำเป็นในพัฒนาการอ่าน
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดปัญหาในการสร้างนวัตกรรม
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดกรอบกิจกรรมในการพัฒนาทักษะ การอ่าน การเขียน ของนักเรียน
เมื่อนักเรียนอ่านหนังสือแทบจะต้องถามถึงพยัญชนะ สระ ปรากฏว่า นักเรียนสะกดไม่ได้ จึงต้องหาวิธีการสอนทำอย่างไรให้นักเรียนเรียนภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ซึ่งพบว่า หลักการสอนที่ทำให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้และรักภาษาไทย คือการสอนให้ตรงกับธรรมชาติ และความต้องการที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน จึงหาวิธีแก้ไขปัญหาจากการอ่านที่ทำให้นักเรียนสามารถจดจำได้ง่ายขึ้น นำไปสู่นวัตกรรมการใช้แบบฝึกการอ่านด้วยทฤษฏีสีดำ แดง น้ำเงิน เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกต มีความเข้าใจ และเกิดการจดจำแบบถาวร
ระยะที่ 2 การดำเนินการการพัฒนา ทักษะการอ่าน การเขียน และ การคิดของนักเรียน
ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการพัฒนาทักษะการอ่านออกและการเขียนของนักเรียนโดยใช้กิจกรรม สร้างสรรค์ตามศักยภาพ 4 ลักษณะ
 กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน ทุกคน (ป.1-6 )
 กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน กลุ่มเก่ง
 กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน กลุ่มปานกลาง
 กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน กลุ่มอ่อน
ระยะที่ 3 การประเมินผล การพัฒนาการอ่านของนักเรียน
ขั้นตอนที่ 5 ประเมินผลทักษะการอ่านของนักเรียน
ขั้นตอนที่ 6 วิเคราะห์ผลการประเมิน
ขั้นตอนที่ 7 การสรุป
จากประสิทธิภาพของการนำทฤษฎีสีมาจัดการเรียนการสอนทำให้ข้าพเจ้าได้เลือกออกแบบนวัตกรรมรายวิชาภาษาไทยเพื่อใช้จัดการเรียนการสอนและแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องในขณะทำการสอนจนค้นพบเทคนิคและวิธีการสอนอ่านด้วยอักษร 3 สี ที่กำหนดให้ใช้สี 3 สีอะไรก็ได้และใช้สีที่เลือกนั้นกำหนดลงบนตัวอักษรที่เป็นส่วนประกอบของคำแบบตายตัว ตลอดการเรียนรู้คือที่มาของวิธีการแก้ปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกของนักเรียนด้วย การพัฒนาการสอนอ่าน ด้วยการใช้อักษร 3 สี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6โรงเรียนบบ้านกฤษณา มีประสิทธิภาพต่อไป