ที่มาและความสำคัญ
ในสภาวะสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคการศึกษา และการเรียนรู้ไร้พรมแดน อีกทั้งรัฐบาลยังมุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษาจึงมีความสำคัญเพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยผลิตทรัพยากรบุคคลที่สามารถประกอบอาชีพได้ดี และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สถานศึกษาจึงมีภารกิจที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างระบบการผลิตเยาวชนของชาติที่มีประสิทธิภาพ เป็นบุคคลที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งกลไกในการผลักดันใหการจัดการศึกษามีคุณภาพที่ดีได้นั้น ยอมขึ้นอยู่กับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นสำคัญ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เพื่อใหนักเรียนเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ และสามารถนำความรูที่ได้ไปสร้างสรรค์ พัฒนาประเทศใหเจริญก้าวหน้า มั่นคง และทัดเทียมกับนานาชาติได้อย่างภาคภูมิใจ
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกสำคัญที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพตามมาตรฐาน ผู้ที่จบการศึกษามีคุณภาพตามที่คาดหวัง มีความรู ความสามารถ มีทักษะ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา
กำหนด ดังนั้น ผู้เรียนจึงเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่สถานศึกษา ต้องคำนึงถึงตลอดเวลา ไม่วาจะคิดทำกิจกรรมใดหรือโครงการใดก็ตาม ผู้เรียนจะตองได้รับผลหรือประโยชน์ที่เกิดขึ้นทั้งโดยตรง และโดยออม เพื่อใหผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพตามที่คาดหวัง กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา จึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาในปจจุบัน และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาเพื่อให้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป็นวิธีการประกันวาสถานศึกษาจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยสถานศึกษาทุกแห่งต้องจัดทำรายงานประจำปเสนอหน่วยงานตนสังกัดและเปิดเผยตอสาธารณชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา ที่มีความสอดคลองกับการที่กระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ที่กำหนดระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นหลักในการเทียบเคียงในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2561 : 87)
ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจึงเปรียบเหมือนแผนที่ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งตองอาศัยหลักการร่วมมือจากผู้มีสวนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่จะต้องให้ความสำคัญ และช่วยกันกำหนดแนวทางการพัฒนาสถานศึกษา ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำในการบริหารจัดการคุณภาพ สงเสริมและประสานใหบุคลากรมีสวนในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อใหเกิดความมั่นใจแกทุกฝ่ายว่าการจัดการศึกษาทุกระดับมีคุณภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา สร้างความมั่นใจต่อผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม วาสถานศึกษาจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตทางการศึกษา มีประสิทธิภาพตามเป้าประสงคและเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยเชื่อวาการประกันคุณภาพการศึกษาจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษาใหมีคุณภาพ อย่างแท้จริงได้ เพราะความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการศึกษา ตลอดจนการขยายตัวทางด้านขนาดของโรงเรียนทำใหนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากมาย ดังนั้น การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจึงมีความสำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สามารถทำใหศักยภาพที่มีอยู่ในตัวคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ ทำให้เป็นคนที่รู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักแก้ปญหา รูจักเรียนรู้ ด้วยตนเองมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจริยธรรม คุณธรรม สามารถพึ่งพาตนเอง และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ทั้งนี้ทุกสถานศึกษาตองพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการศึกษาปกติของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงหลักการและกระบวนการสำคัญ ได้แก่ 1) หลักการมีสวนร่วมแบบร่วมแรงร่วมใจในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของทุกคนในสถานศึกษา 2) หลักการร่วมรับผิดรับชอบในผลการจัดการศึกษาอย่างตรวจสอบได้ คือ มีร่องรอยสำหรับอธิบายคุณภาพต่อสาธารณชนที่สามารถตรวจสอบได้ และ 3) หลักการประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของทุกคน ในสถานศึกษาที่ต้องรับผิดชอบและร่วมลงมือดำเนินการทุกขั้นตอนของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยอาศัยกระบวนการดำเนินการพัฒนาคุณภาพด้วยวงจรคุณภาพแบบ PDCA คือ มีกระบวนการวางแผนกำหนดเป้าหมายคุณภาพ (Plan) ดำเนินการตามแผนควบคูกับการติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพระหว่างดำเนินงาน (Do & Check) กระบวนการนำผลการประเมินมาเป็นฐานการตัดสินใจพัฒนาหรือยกระดับคุณภาพใหสูงขึ้นต่อเนื่องตามลำดับ (Act) (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2563 : 3- 4)
สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จากผลการดำเนินงานของโรงเรียนปีที่ผ่านมาโดยรวม พบว่า การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายังดำเนินการ โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงเรียนค่อนข้างน้อย ไม่มีรูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ชัดเจน มีผู้ที่รับผิดชอบ เพียงคนเดียวขาดการทำงานร่วมกันของครูทุกคนในโรงเรียน ครูที่ขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน ส่วนใหญ่จะเป็นการดำเนินการโดยผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้กำหนดขั้นตอน และวิธีการดำเนินงาน แล้วมอบหมายให้ครูผู้รับผิดชอบ และในการปฏิบัติงาน ประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนยังเกิดความสับสน ไม่เข้าใจในหลักการปฏิบัติ บุคลากรยังขาดความรู้ความเขาใจเกี่ยวกับระบบการประเมินคุณภาพภายใน การปฏิบัติงานการประกันคุณภาพภายใน จึงขาดประสิทธิภาพ ส่งผลใหการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนไม่บรรลุเป้าหมาย จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ซึ่งจะสะทอนกระบวนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและบทสรุปสำหรับผู้บริหารที่กล่าวถึงการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ครูควรเข้าใจถึงความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายในโรงเรียน และส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน (โรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม, 2563 : 38)
จากสภาพปัญหาดังกล่าว จะเห็นว่าการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ยังขาดกระบวนการ และรูปแบบที่จะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาทำให้การพัฒนางานการประกันคุณภาพภายในยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นแนวทางให้ครู และบุคลากร มีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ภายใต้กรอบและนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพตอไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
2. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
๔. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
วิธีดำเนินการวิจัย
การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม คณะผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed -Method) โดยออกแบบการวิจัย (Research Design) และวิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) แบ่งเป็น ๔ ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือม
พิทยาคม
การดำเนินการในระยะนี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด ทฤษฎีการประกันคุณภาพการศึกษา
1.1 แหล่งข้อมูล ผู้วิจัยศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัยเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
1.2 ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ องค์ประกอบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 8 ด้าน คือ
1.2.1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
1.2.2 การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
1.2.3 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
1.2.4 การดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
1.2.5 การติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
1.2.6 การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
1.2.7 การจัดทำรายงานประเมินคุณภาพภายในประจำปี
1.2.8 การพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
1.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล
1.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล รวบรวมข้อมูลด้วยการบันทึกเอกสาร ตำรา งานวิจัยเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา นำมาบันทึกลงในแบบบันทึกข้อมูล และสรุปประเด็นเกี่ยวกับองค์ประกอบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
1.5 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
2. ศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม
2.1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน ๑ คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน ๑ คน และคณะครู จำนวน ๒๗ คน รวม 29 คน ในโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
2.๒ ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม
๒.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม
๒.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล รวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยประเด็นที่นำมาสนทนากลุ่มเป็นประเด็นสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม ซึ่งประเด็นการสนทนานี้จัดอยู่ในวาระอื่น ๆ ตามระเบียบวาระการประชุมประจำเดือนของสถานศึกษา
๒.5 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนานวัตกรรมรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือม พิทยาคม
การดำเนินการในระยะนี้ประกอบด้วย ๒ ขั้นตอน ดังนี้
๑. การยกร่างรูปแบบการการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม
๑.1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน ๑ คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน ๑ คน ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน ๑ คน ครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน ๑ คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน ๑ คน รวมทั้งหมด ๕ คน ในโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
๑.๒ ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ องค์ประกอบของรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ หลักการ กลไกการดำเนินงาน วิธีการดำเนินการ และการประเมินผล
๑.3 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกการร่างรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม
๑.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
๑.๔.1 คณะผู้วิจัยประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) การสังเคราะห์องค์ความรู้ (Content Synthesis) ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม นำข้อมูลมาวิเคราะห์จัดทำเป็นกรอบในการยกร่างรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม
๑.๔.๒ นำร่างรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม ที่สร้างขึ้นเสนอต่อกลุ่มเป้าหมาย 5 คนตรวจสอบองค์ประกอบของรูปแบบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมและการใช้ภาษา และนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
๑.5 การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มมารวบรวมและจัดกลุ่มประเด็นสำคัญที่ได้จากการเสนอแนะ ข้อปรับปรุง แก้ไขร่างรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการแก้ไข ปรับปรุงร่างรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์
2. การตรวจสอบร่างรูปแบบการการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม
โดยการนำร่างรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบโดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และยืนยันความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบ โดยดำเนินการ ดังนี้
๒.1 ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ ได้แก่
ผู้วิจัยใช้กระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ประกอบด้วย
2.1.1 ผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑ คน
2.1.2 ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา จำนวน ๑ คน
2.1.3 ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 5 ปี ขึ้นไป จำนวน ๑ คน
2.1.4 ผู้ที่มีผลงานดีเด่นเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายการศึกษาในสถานศึกษา จำนวน ๑ คน
2.1.5 ผู้ที่มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาโททางด้านการบริหารการศึกษา จำนวน ๑ คน
๒.2 ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม
๒.3 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) โดยกำหนดค่าน้ำหนักของคะแนนแบบสอบถามเป็น 5 ระดับ ตามแนวคิดของ Likert (1967, pp. 90-95) ได้แก่ ระดับมากที่สุด ระดับมาก ระดับปานกลาง ระดับน้อย และระดับน้อยที่สุด โดยกาหนดค่าคะแนน ดังนี้
5 หมายถึง ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด
4 หมายถึง ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก
3 หมายถึง ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบฯ อยู่ในระดับปานกลาง
2 หมายถึง ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบฯ อยู่ในระดับน้อย
1 หมายถึง ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบฯ อยู่ในระดับน้อยที่สุด
๒.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลด้วยการให้ผู้ทรงคุณวุฒิตอบแบบประเมินความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม
๒.5 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์จากการตอบแบบประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ในการแปลผลใช้เกณฑ์การวิเคราะห์ข้อมูลของ บุญชม ศรีสะอาด (2554, น. 70-71) ดังนี้
4.51 - 5.00 หมายถึง ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด
3.51 - 4.50 หมายถึง ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก
2.51 - 3.50 หมายถึง ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบฯ อยู่ในระดับปานกลาง
1.51 - 2.50 หมายถึง ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบฯ อยู่ในระดับน้อย
1.00 - 1.50 หมายถึง ความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบฯ อยู่ในระดับน้อยที่สุด
ระยะที่ 3 การทดลองใช้นวัตกรรมรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม
๑. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน ๑ คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน ๑ คน และคณะครู จำนวน ๒๗ คน รวม 29 คน ในโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
2. ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ผลการใช้รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓. เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม
๔. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยนำคู่มือการใช้รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม ไปทดลองใช้เพื่อให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ระยะที่ ๔ การประเมินนวัตกรรมรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม
๑. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน ๑ คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน ๑ คน และคณะครู จำนวน ๒๗ คน รวม 29 คน ในโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
2. ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓. เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม
๔. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยนำแบบประเมินผลการใช้รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ SMILE MODEL ของโรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม ไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย
5. การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)