แนวคิด หลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลงานหรือนวัตกรรม
จากวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560)/ หลักการบริหารจัดการศึกษาและผนวกกับบริบทของโรงเรียน ทางโรงเรียนบ้านแม่ตีบได้ดำเนินการจัดการเรียน การสอนโดยการบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่น (การทำนาข้าวอินทรีย์) ที่ทางโรงเรียนมีชื่อเฉพาะเรียกกิจกรรมว่า โรงเรียนชาวนา โดยมีการดำเนินการในรูปแบบ ดังนี้
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์ (เศรษฐกิจพอเพียง) ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยการบูรณาการเข้ากับหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดการเรียน การสอนบูรณาการกิจกรรมการทำนาข้าวอินทรีย์ จำนวนอย่างน้อย 1 แผนการเรียนรู้ ในหน่วยการเรียนรู้ ที่เกี่ยวข้องและสามารถบูรณาการได้ โดยผู้สอนวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเชื่อมโยงสู่หลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย 3 ห่วง คือ มีความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน / 2 เงื่อนไข คือ มีคุณธรรม นำความรู้ และสมดุล 4 มิติ คือ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม และให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้ โดยยึดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนรู้
2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้ง่ายต่อการวัดผลประเมินผลและมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด ให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญทั้ง 5 สมรรถนะ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และสอดคล้องกับคุณลักษณะ 5 ประการ ของโรงเรียนสุจริต คือ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ
. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์
เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่น (การทำนาข้าวอินทรีย์) เข้าสู่หลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้กิจกรรม โรงเรียนชาวนา สู่การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพและมุ่งพัฒนาสถานศึกษาให้มีความยั่งยืน
เป้าหมายการดำเนินงาน
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. โรงเรียนมีการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์ (เศรษฐกิจพอเพียง) ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2. นักเรียนร้อยละ 80 มีทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และทักษะอาชีพ ด้านการทำนาข้าวอินทรีย์
ทักษะวิชาการ
- นักเรียนมีความรู้/ทักษะในการทำนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ทักษะวิชาชีพ
- นักเรียนสามารถใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ/อุปกรณ์ในการทำนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวได้
- นักเรียนสามารถคิดคำนวณต้นทุน กำไร จากการทำนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเพื่อจำหน่ายได้
- นักเรียนเห็นคุณค่าของการทำนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง
ทักษะชีวิต
- นักเรียนมีความรับผิดชอบ ความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน
- นักเรียนมีความอดทน มีความสุขในการทำงาน และมุ่งมั่นในการทำงานตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจอาชีพ ภูมิปัญญาการทำนาของท้องถิ่น เกิดความรักภาคภูมิใจเห็นคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง และสามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. นักเรียนมีทักษะการร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม และรู้จักหาวิธีแก้ปัญหาในการทำงาน และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากข้าวเพื่อจำหน่ายได้
3. นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ สามารถนำความรู้จากการเรียนและประสบการณ์มาฝึกปฏิบัติ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองในด้านการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม
ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน
ผลสำเร็จของการดำเนินงานที่เกิดจากกระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงานที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน
มีดังนี้
1. นักเรียนได้เรียนรูจากการลงมือปฏิบัติจริง โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา และหลักการทรงงาน 23
ประการมาใช้
2. นักเรียนเกิดความสามัคคี รูจักการทำงานร่วมกัน
3. นักเรียนรูจักอดทดและเสียสละ และไม่ย่อท้อต่อความลำบาก
4. นักเรียนเกิดทักษะ กระบวนการคิด การแสวงหาความรู สามารถสร้างองค์ความรู้ ในเรื่องการทำนาข้าวอินทรีย์
5. นักเรียนเห็นคุณค่า มีจิตสํานึกรักสิ่งแวดลอม และเห็นความสำคัญของศาสตร์พระราชา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ครูมีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย สามารถนํา กิจกรรมทำนาอินทรีย์ มาการพัฒนาองคความรูของตนเองและการจัดกระบวนการเรียนรูบูรณาการในรายวิชาที่สอน และบูรณาในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2. ชุมชนและทุกภาคส่วน เขามามีสวนร่วมในการจัดการเรียนรูร่วมกับร่วมกันพัฒนานักเรียน และดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่มีในชุมชนใหคงอยู่ต่อไป