3. ความสำคัญของ นวัตกรรม หรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
วิชาประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตนเอง ทำให้รู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับขอบเขตของตนเอง รวมทั้งเข้าใจสังคมของมนุษย์โดยส่วนรวมเข้าใจในมรดก วัฒนธรรมของมนุษยชาติ ความรู้ ความคิด ทันเหตุการณ์ ทันสมัย และสามารถเข้าใจคุณค่าสิ่งต่างๆ ในสมัยของตนได้ วิชาประวัติศาสตร์ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความระมัดระวัง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความละเอียดเพียงพอที่จะเข้าใจปัญหาที่สลับซับซ้อน เช่น เหตุการณ์ในอดีตที่มนุษย์สามารถนำมาเป็นบทเรียนให้แก่ปัจจุบันหรืออนาคต และประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ปัญหาและวิฤกตการณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักจริยธรรม คุณธรรม ทั้งนี้เพื่อความสันติสุขและพัฒนาการของมนุษย์ และทำให้เกิดความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ ในตระกูลและในความเป็นชาติประเทศที่ก่อให้เกิดความรักชาติ
จากความสำคัญดังกล่าว วิชาประวัติศาสตร์นั้นมีเนื้อหาและเหตุการณ์มากมายเพราะเป็นเรื่องราวในอดีตและเมื่อนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ครูต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการสอนที่จะต้องทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ในด้านต่างๆ ให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจเกิดความสนใจ รู้และเข้าใจ ลำดับเหตุการณ์และเชื่อมโยงสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้
โรงเรียนวัดควนลังมิตรภาพที่ 11 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง จึงมีการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย มุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตบนพื้นฐานของการวิพากษ์วิเคราะห์หลักฐานเอกสารต่างๆ โดยใช้วิธีการสืบค้นอย่างเป็นระบบที่เรียกว่าวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนซึ่งก็คือเด็กและเยาวชนของชาติ ศึกษาอดีตเพื่อรู้ปัจจุบัน เข้าใจปัจจุบันเพื่อทำให้อนาคตดีขึ้น รวมถึงตระหนักและเห็นคุณค่าในความเป็นไทย เข้าใจวัฒนธรรมของตนและสังคมอื่นๆ มีน้ำใจ เสียสละ สามัคคี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เกิดความตระหนักที่จะร่วมกันปกป้องรักษาชาติและความเป็นไทยสืบต่อไป โดยเฉพาะวิธีการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ที่นำเสนอในครั้งนี้เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ย้อนรอยอดีตผ่านแหล่งเรียนรู้ในชุมชนถึงบุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดีที่น่าเคารพยกย่อง ด้วยการสืบสานคำสอน แบบอย่างที่ดี ของหลวงพ่อแปลง วัดควนลัง (พระครูวิศาลธรรมคุณ) เป็นพระเถระที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัดในศีลสมาธิสังวรอยู่ตลอด จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน
๔ . วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการดำเนินงาน
4.1 วัตถุประสงค์
4.๑ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีความรู้ความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : คำสอน แบบอย่างที่ดีของหลวงพ่อแปลงแห่งวัดควนลัง โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งการเรียนรู้ชุมชน
4.๒ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบในการศึกษาค้นคว้าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : คำสอน แบบอย่างที่ดี ของหลวงพ่อแปลงแห่งวัดควนลัง
4.๓ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมตามคำสอนของหลวงพ่อแปลงแห่งวัดควนลัง และค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ เห็นคุณค่าในความเป็นไทย เกิดความตระหนักที่จะร่วมกันปกป้องรักษาชาติและความเป็นไทยสืบต่อไป
4.2 เป้าหมาย
4.2.1 เชิงปริมาณ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดควนลังมิตรภาพที่ 11 ได้เรียนรู้และมีความรู้ความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : คำสอนและแบบอย่างที่ดีของ หลวงพ่อแปลงแห่งวัดควนลัง โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งการเรียนรู้ชุมชน ไปในทิศทางที่ดีตามที่โรงเรียนต้องการ ร้อยละ 70
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดควนลังมิตรภาพที่ 11 มีทักษะในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบในการศึกษาค้นคว้าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : คำสอน แบบอย่างที่ดีของ หลวงพ่อแปลง วัดควนลัง ไปในทิศทางที่ดีตามที่โรงเรียนต้องการ ร้อยละ 70
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดควนลังมิตรภาพที่ 11 ได้รับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามคำสอน แบบอย่างที่ดีของหลวงพ่อแปลงแห่งวัดควนลัง และค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ ไปในทิศทางที่ดีตามที่โรงเรียนต้องการ ร้อยละ 70
4.2.2 เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดควนลังมิตรภาพที่ 11 มีความรู้ความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มากขึ้น
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดควนลังมิตรภาพที่ 11 มีทักษะในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบในการศึกษาค้นคว้าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นดีขึ้น
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดควนลังมิตรภาพที่ 11 มีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามคำสอน แบบอย่างที่ดี ของหลวงพ่อแปลงแห่งวัดควนลัง และค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ
5. ขั้นตอนการดำเนินงาน
โรงเรียนวัดควนลังมิตรภาพที่ 11 เป็นโรงเรียนขนาดกลาง อยู่ในชุมชนที่เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ตั้งอยู่ในเขตบริเวณวัดควนลัง ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้านที่มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับเจ้าอาวาสหลวงพ่อแปลง (พระครูวิศาลธรรมคุณ) พระเถระที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัดในศีลสมาธิสังวรอยู่ตลอด จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านในอดีต อนุสรณ์แห่งคุณงามความดียังคงเป็นที่เคารพนับถือกราบไหว้บูชา ณ วัดควนลัง
จึงได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้ชุมนุมประวัติศาสตร์เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ด้วยนวัตกรรม 5 ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
นวัตกรรม KL Model ย้อนรอยอดีต วัดควนลัง สืบสานคำสอนหลวงพ่อแปลง 5 ขั้นตอน ทางประวัติศาสตร์ ดังนี้
KL : Khuanlang โรงเรียนวัดควนลังมิตรภาพที่ 11
ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ ๒ วางแผนการเก็บข้อมูลอย่างมีกระบวนการ
ขั้นตอนที่ ๓ การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
ขั้นตอนที่ ๔ การสรุปและเชื่อมโยงข้อเท็จจริง
ขั้นตอนที่ 5 การเรียบเรียงและนำเสนอตามวิธีการทางประวัติศาสตร์
แนวคิดสำคัญในการออกแบบนวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) : KL- Model ย้อนรอยอดีตวัดควนลัง สืบสานคำสอนหลวงพ่อแปลง 5 ขั้นตอนทางประวัติศาสตร์