๑) ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา (๒๐คะแนน)
ดนตรีเป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้มาพร้อมๆ กับชีวิตมนุษย์โดยที่มนุษย์เองไม่รู้ตัว ดนตรีเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีความสุข สนุกสนานรื่นเริง ช่วยผ่อนคลายความเครียด ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดนตรีเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ให้มีความเบิกบานหรรษา ให้เกิดความสงบและพักผ่อน กล่าวคือในการดำรงชีพของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ดนตรีมีความเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อาจสืบเนื่องมาจากความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ โดยตรงหรืออาจเกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ (คมสันต์ วงค์วรรณ์, ๒๕๕๑ : ๑) ซึ่งดนตรีมีอิทธิพลที่สามารถก่อให้เกิดสุนทรียรสในการฟัง การจิตนาการ ดนตรีสามารถก่อให้เกิดความสุข ความปลื้มปิติ ความพึงพอใจหรือแม้กระทั่งความทุกข์โทมนัสให้แก่มนุษย์ได้ และไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ชนชาติใดภาษาใดก็ตาม ต่างก็สามารถรับรู้อรรถรสของดนตรีได้โดยใช้เสียงเป็นสื่อได้เหมือนกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า ดนตรีนับว่าเป็นภาษาสากลของมวลมนุษยชาติเลยทีเดียว เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อทั้งร่างกายและจิตใจของมนุษย์อย่างเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ดังที่ สุกรี เจริญสุข (๒๕๕๐ : ๖๒) กล่าวไว้ว่า เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อร่างกาย เมื่อร่างกายสัมผัสต่อเสียงดนตรี จังหวะดนตรีมีอิทธิพลทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว ขยับตามจังหวะ เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อจิตใจ ทำให้เกิดความรู้สึกถึงความเป็นปัจจุบัน ทำให้นึกถึงอดีต ทำให้คิดถึงอนาคต ดนตรีทำให้อารมณ์เปลี่ยนไปตามมิติของกาล อาจจะเป็นอารมณ์ที่หวนรำลึกถึงอดีต อาจจะเป็นการสร้างอารมณ์ปัจจุบันและอาจจะสร้างให้เกิดจินตนาการได้ เสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อจิตใจ เสียงใสใจสะอาด เป็นอิทธิพลที่เกี่ยวกับเสียงโดยตรง เนื่องจากเสียงออกมาจากจิตใจเมื่อใจรู้สึกเป็นอย่างไรก็จะถ่ายทอดเป็นเสียงออกมาเป็นอย่างนั้นในขณะเดียวกันเสียงที่ออกมาจากจิตใจ ความสุขและความทุกข์ได้อาศัยเสียงระบายออกมาภายนอกซึ่งทำให้จิตใจผ่อนคลาย ลงได้โดยธรรมชาติดนตรีจึงเป็นหุ้นส่วนของชีวิตและจิตใจ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เป็นกลุ่มสาระทีมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริมสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชม ความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่ การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ หรือประกอบอาชีพได้ (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๕๑ : ๒) ตามโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ แบ่งสาระการเรียนรู้ออกเป็น ๓ สาระ คือ สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์ สาระที่ ๒ ดนตรี สาระที่ ๓ นาฏศิลป์ สำหรับการจัดการเรียนการสอนสาระดนตรีนั้น มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบดนตรีแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล ร้องเพลง และเล่นดนตรีในรูปแบบต่าง ๆ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประเพณีวัฒนธรรม และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. ๒๕๕๑ : ๑)
การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ คือ การจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ถือได้ว่า เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังที่ ทิศนา แขมมณี (๒๕๕๗ : ๑๒๑) กล่าวว่า หากครูผู้สอนสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทีส่งเสริมให้ผู้เรียนมีบทบาทสําคัญในการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ภายใต้กิจกรรมที่ผู้เรียน ได้เคลื่อนไหวปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ได้ใช้ความคิดได้มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น และเกิดอารมณ์ความรู้สึก อันจะช่วยให้การเรียนรู้มีความหมายต่อผู้เรียน การเรียนรู้ดังกล่าวจะเป็นปัจจัยส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง
ในส่วนของครูควรศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อปรับปรุง แก้ไข และนามาปรับใช้ในการพัฒนาทักษะทางดนตรี ให้เหมาะสมกับนักเรียน สำหรับการจัดการเรียนรู้ในวิชาดนตรี แนวคิดทฤษฎีจากนักวิชาการที่นิยมนามาใช้นั้นมาจากนักวิชาการ ๔ ท่าน คือ ๑.โซลตาน โดดาย มีหลักการสอนดนตรี โดยจัดลาดับเนื้อหาและกิจกรรมดนตรีให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก โดยมีขั้นตอนจากง่ายไปหายาก ๒. เอมิล ชาคส์ ดาลโครซ มีหลักการสอนดนตรี โดยใช้การเคลื่อนไหวจังหวะเพื่อตอบสนองต่อเสียงดนตรี ๓. คาร์ล ออฟ มีหลักการสอนดนตรี โดยจัดลาดับเนื้อหาและกิจกรรมดนตรีให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก โดยการรวมเอาดนตรี การเคลื่อนไหว และการพูดเข้าไว้ด้วยกัน และ ๔. ชินอิชิ ซูซูกิ มีหลักการสอนดนตรีเช่นเดียวกับเด็กที่เรียนรู้ภาษาแม่ โดยเกิดจากการฟังและการเลียนแบบ (ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์, ๒๕๕๗)
กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง ๕ ขั้นตอน ๕ STEPs Collaborative Learning Process เรียกสั้นๆ คือ CO-๕STEPs เป็นแนวการสอนที่มีการดัดแปลงมาจากกระบวนการเรียนรู้ ๕ ขั้นตอนโดยเพิ่มเติมการทำงานกลุ่มแบบรวมพลังเพื่อให้มีการจัดการเรียนรู้บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์อีกทั้งเน้นการให้นักเรียนร่วมมือกันทำงานช่วยเหลือกันเด็กเก่งช่วยเด็กเรียนช้าเด็กถนัดกว่าช่วยเด็กถนัดน้อย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเสมอภาค กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง ๕ ขั้นตอนเป็นแนวการสอนหนึ่งของการเรียนรู้เชิงรุก เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งประยุกต์ความรู้ได้ บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์นักเรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมแบบทำงานกลุ่มโดยทุกคนร่วมด้วยช่วยกัน บทบาทของผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ (Learner) บทบาทของครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator)เป็นแนวการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งประยุกต์ความรู้ได้ บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์นักเรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมแบบทำงานกลุ่มโดยทุกคนร่วมด้วยช่วยกัน เด็กเก่งช่วยเด็กเรียนช้ากว่า เด็กถนัดกว่าช่วยเด็กถนัดน้อย เพื่อให้มีความสุขในการเรียน และผู้เรียนจะมีความรู้ในเนื้อหาสาระที่เรียน
การจัดการเรียนรู้ดนตรีตามแนวคิดของซูซูกิ (Suzuki Method) เป็นการสอนดนตรีรูปแบบหนึ่งที่มีความน่าสนใจกับการนำมาประยุกต์ใช้การสอนทักษะการปฏิบัติทางดนตรี โดย ดร.ชินอิชิ ซูซูกิ ได้ให้ทัศนะไว้ว่านักร้องที่ดีต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงในการฝึกฝนการเปล่งเสียงร้อง (Vocalizations) เพื่อที่จะพัฒนาให้เสียงที่ร้องมีความไพเราะทุกตัวโน้ต (ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์, ๒๕๕๕) วิธีการจัดการเรียนรู้นี้ ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน (สุกรี เจริญสุข, ๒๕๔๒, น.๑๓ - ๑๗) คือ
ขั้นที่หนึ่ง การฟัง (Listening) คือ การฟังเพลงแบบซ้ำๆ
ขั้นที่สอง เลียนแบบ (Imitation) คือ การสังเกตและจดจำจากครูที่เป็นต้นแบบ
ขั้นที่สาม ทำซ้ำ (Reiteration) คือ การฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ฝึกซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเป็นธรรมชาติ
ขั้นที่สี่ จดจำฝังใจ (Memorize) คือ สามารถปฏิบัติดนตรีโดยเสียงไม่เพี้ยน ถูกต้องและเหมาะสม
จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว ผู้รายงานเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีความสนใจที่จะทำ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลตามแนวทางการสอนดนตรีของซูซูกิร่วมกับการจัดการเรียนรู้ CO ๕ STEPs โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดคูยาง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ซึ่งเอกสารประกอบการเรียนเป็นสื่อการเรียนที่ผลิตขึ้นได้ง่าย ไม่มีความซับซ้อนในการผลิต และสามารถเพิ่มเติมเนื้อหา ตามความเหมาะสมของบริบทของผู้เรียนและสถานศึกษา เหมาะสมกับการเรียนรู้ทฤษฎีดนตรีดังกล่าว ง่ายต่อการเรียนรู้ มีกิจกรรมแบบฝึกที่หลากหลาย ตลอดจนมีแบบทดสอบเพื่อให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบและประเมินความสามารถของตนเอง อันเป็นการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพิ่มพูนทักษะและความรู้ของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในยุคข้อมูลข่าวสาร และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาศิลปะ (สาระดนตรี) ยิ่งขึ้นต่อไป
๒) วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน (๑๐ คะแนน)
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถอ่านโน้ตดนตรีสากลได้ถูกต้องตามหลักวิชาการทางดนตรี
๒. เพื่อส่งเสริมความสามารถสามารถด้านทักษะดนตรีด้านการขับร้องและบรรเลงเครื่องดนตรี
๓. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้เรื่องการอ่านโน้ตดนตรีไปใช้ในการขับร้องและบรรเลงดนตรี
ตามความถนัด
๔. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดี ตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของดนตรีสากล
๕. เพื่อส่งเสริมทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้ด้วยตนเอง
๖. เพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
เป้าหมาย
ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ทุกคน
เชิงปริมาณ
๑. ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ร้อยละ ๘๐ มีความรู้ความเข้าใจอ่านโน้ตดนตรีสากลได้ ถูกต้องตามหลักวิชาการทางดนตรี
๒. ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ร้อยละ ๘๐ มีทักษะดนตรีด้านการขับร้องและบรรเลงเครื่องดนตรี
๓. ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ร้อยละ ๘๐ สามารถนำความรู้เรื่องการอ่านโน้ตดนตรีไป ใช้ในการขับร้องและบรรเลงดนตรีตามความถนัดและร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียนได้
๔. ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ร้อยละ ๘๐ มีเจตคติที่ดี ตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของโน้ตดนตรีสากล
๕. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ร้อยละ ๙๐ มีทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้ด้วยตนเอง
๖. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ร้อยละ ๙๐ มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
เชิงคุณภาพ
๑. ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีความรู้ความเข้าใจอ่านโน้ตดนตรีสากลได้ถูกต้องตาม หลักวิชาการทางดนตรี
๒. ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ทักษะดนตรีด้านการขับร้องและบรรเลงเครื่องดนตรี
๓. ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ สามารถนำความรู้เรื่องการอ่านโน้ตดนตรีไปใช้ในการขับร้องและบรรเลงดนตรีตามความถนัดและร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียนได้
๔. ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีเจตคติที่ดี ตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของโน้ตดนตรีสากล
๕. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ค้นคว้าองค์ความรู้ด้วยตนเองได้
๖. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
๓) ขั้นตอนการดำเนินงาน (๒๕ คะแนน)
๑. วิเคราะห์หลักสูตรและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี)
๒. วิเคราะห์บริบทของสถานศึกษา
๓. ศึกษาปัญหาทักษะวิชาดนตรี
๔. ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิทยาการสอนดนตรี
๕. ศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้แบบ Active Learning Co ๕ STEPs
๕. ศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของซูซูกิ
๖. จัดทำแผนการเรียนรู้แบบ Active Learning Co ๕ STEPs ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนดนตรีของซูซูกิ
๗. จัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลตามแนวทางการสอนดนตรีของซูซูกิร่วมกับการจัดการเรียนรู้ CO ๕ STEPs โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดคูยาง
๘. ติดตาม ตรวจสอบ วัดผลและประเมินผล
๙. สรุปรายงานผล การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลตามแนวทางการสอนดนตรีของซูซูกิร่วมกับการจัดการเรียนรู้ CO ๕ STEPs โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดคูยาง
เพื่อใหบรรลุผลลัพธที่สําคัญและจําเปนตอทักษะทางดนตรีที่สำคัญตัวผู้เรียนอยางแทจริงมุงไปที่ใหผู้เรียนศึกษาและสรางองคความรูดวยตนเอง นำไปสูการทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ครูเป็นเพียงเปนผูออกแบบการเรียนรู และอํานวยความสะดวกในการเรียนรูใหผู้เรียนเรียนรูจากการค้นคว้าและลงมือทําโดยมีประเด็นคําถาม เปนตัวกระตุ้นและสรางแรงบันดาล ใจใหอยากเรียน ที่จะนําไปสูการกระตือรือรนที่ในการเรียนวิชาดนตรีสามารถนำทักษะที่ได้ไปพัฒนาต่อยอด มีทักษะในการรวบรวมความรูจากแหลงตางๆ มาสนับสนุน แลกเปลี่ยนหรือโตแยง อภิปรายกันเพื่อสรุปองค์ความรู้ และมีการทบทวนขอสมมติฐานและแนวคิดโดยการปฏิบัติโดยใช้ หลักการสังเกตและจดจำจากครูที่เป็นต้นแบบ การฝึกซ้อมและทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ฝึกซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเป็นธรรมชาติ สร้างทักษะและความเข้าใจให้สามารถปฏิบัติดนตรีโดยเสียงไม่เพี้ยน ถูกต้องและเหมาะสมซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะทางด้านดนตรีอย่างถูกต้อง
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลตามแนวทางการสอนดนตรีของซูซูกิร่วมกับการจัดการเรียนรู้ CO ๕ STEPs โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดคูยาง มีปัจจัยที่ทำให้วิธีการประสบผลสำเร็จขึ้นได้เนื่องจากมีกระบวนการขั้นตอนและวิธีในการดำเนินงานในรูปแบบของ PDCA เข้ามาร่วมด้วยในการจัดกิจกรรมดังนี้
P : Plan (วางแผนการทำงาน)
๑) วิเคราะห์หลักสูตรและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) วิเคราะห์บริบทของสถานศึกษา ศึกษาปัญหาทักษะด้านดนตรีและส่งเสริมทักษะด้านดนตรีของผู้เรียน
๒) วางแผนการดำเนินงาน มีการวางแผนการจัดกิจกรรม ความร่วมมือร่วมใจของผู้บริหารและคณะผู้สอนในโรงเรียน
๓) กำหนดรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอน และจัดการสอนที่เหมาะสมกิจกรรมในครั้งนี้
D : Do (ลงมือปฏิบัติ)
๔) จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลร่วมกับการจัดการเรียนรู้ CO ๕ STEPs และแนวคิดการสอนดนตรีของซูซูกิโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดคูยางดำเนินงานตามรูปแบบที่กำหนดไว้โดยมีผู้สอนรับผิดชอบและ มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบของกิจกรรม ทุกขั้นตอนของกิจกรรม และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลตามแนวทางการสอนดนตรีของซูซูกิร่วมกับการจัดการเรียนรู้ CO ๕ STEPs โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดคูยาง
C : Check (ตรวจสอบ)
๕ ) มีการนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ วัดผลและประเมินผล โดยผู้บริหาร ผู้สอน ผู้เกี่ยวข้อง และมีการประเมินผลพัฒนาการผู้เรียนให้ครบทุกทักษะด้านดนตรีจากการจัดกิจกรรม และร่วมมือกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องในการดำเนินกิจกรรม สรุปรายงานผล การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลตามแนวทางการสอนดนตรีของซูซูกิร่วมกับการจัดการเรียนรู้ CO ๕ STEPs โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดคูยาง
A : Action (ปรับปรุง พัฒนา)
๖) นำผลการประเมินผู้เรียนที่ครบทุกด้านจากการจัดกิจกรรม มาวิเคราะห์ข้อมูล ร่วมมือกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อบกพร่อง
๗) ปรับปรุงการดำเนินงานจากปัญหาและข้อบกพร่องที่ได้รับ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพงาน ผู้รับผิดชอบและชุมชน โดยมีการรายงานผลให้ผู้บริหาร หน่วยงานและสาธารณชนได้รับทราบ
๔) ผลสำเร็จของการดำเนินงาน (๒๐ คะแนน)
๑. ผู้เรียนสามารถอ่านโน้ตดนตรีสากลได้ถูกต้องตามหลักวิชาการทางดนตรี
๒. ผู้เรียนมีความสามารถสามารถด้านทักษะดนตรีด้านการขับร้องและบรรเลงเครื่องดนตรีในรูปแบบแสดงเดี่ยวและรวมวง
๓. ผู้เรียนได้นำความรู้เรื่องการอ่านโน้ตดนตรีไปใช้ในการขับร้องและบรรเลงดนตรี
๔. ผู้เรียนมีเจตคติที่ดี ตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของดนตรีสากล
๕. ผู้เรียนมีทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้ด้วยตนเอง
๖. ผู้เรียนมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นในการร้องและบรรเลงเพลงร่วมกันในกิจกรรมหน้าเสาธงทุกเช้า
การวัดและประเมินผลสามารถกระทำได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น เช่น การประเมินพัฒนาการ ของผู้เรียนในชั้นเรียน การพูดคุยถามตอบ การวัดและประเมินผ่านกิจกรรม การวัดและประเมินผล ไม่ควรมีแค่การทดสอบผ่านกระดาษเพียงเท่านั้น ผู้เรียนแต่ละบุคคลมีพัฒนาการในการเรียนรู้ที่ต่างกัน หากผู้สอนสามารถวัดและประเมินผลได้ถูกจะสามารถช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ได้อย่างดี ทั้งนี้ผู้เรียน ควรสามารถวัดแลประเมินผลตนเองได้้เพื่อที่จะได้แก้ไขและพัฒนาตนเองได้ต่อไป
ผู้สอนทำการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับจุดประสงค์กับเนื้อหาการเรียน การสอนให้ผู้เรียนได้เข้าใจสาระเนื้อหา หรือสามารถปฏิบัติและนำไปใช้ได้รวมถึงให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด วิเคราะห์จากสิ่งที่ได้เรียนมา โดยจะปรับรูปแบบการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับเนื้อหาของรายวิชา ในวิชาที่เป็นภาคของทฤษฎีจะใช้รูปแบบที่เป็นการเขียน วิชาที่เป็นภาคของการปฏิบัติจะใช้รูปแบบของการปฎิบัติจริง และอาจมีการทดสอบในภาคทฤษฎีบ้างในบางกิจกรรม โดยการกำหนดการสอบจะไม่มีการกำหนดเป็นมาตรฐาน ผู้สอนมีอิสระในการออกแบบการทดสอบได้ตามความเหมาะสม โดยส่วนมากจะใช้การทำแบบฝึกหัดเป็นการเก็บคะแนนรวมถึงการสอบย่อย เพื่อวัดความเข้าใจของผู้เรียนเพิ่มเติมจากการสอบตามตัวชี้วัด ประเมินผู้เรียนแบบรายบุคคล ดูความเข้าใจและพัฒนาการเรียนของผู้เรียนในชั้นเรียน ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เข้าใจจุดเด่นและจุดด้อยของผู้เรียนแต่ละคน ทำให้สามารถซ่อมเสริมผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
๑) ผู้เรียนสามารถอ่านโน้ตดนตรีสากลได้ถูกต้องตามหลักวิชาการทางดนตรี จากการรูปแบบแสดงเดี่ยวและรวมวง มีความกระตือรือร้น เพื่อปรับและพัฒนาการเรียน การอ่านโน้ตดนตรีอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สร้างแรงจูงใจนักเรียนสามารถพัฒนาการอ่านโน้ตดนตรีของตนเองได้ ด้วยวิธีการเรียนรู้ตามแนวทางของซูซูกิคิดเป็นร้อยละ 90.50 ซึ่งได้มาจากผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบไว้
๒) ผู้เรียนมีความสามารถสามารถด้านทักษะดนตรีด้านการขับร้องหรือบรรเลงเครื่องดนตรี มีการฝึกร้องโน้ต ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีที่ตัวเองสนใจอย่างมุ่งมั่น อย่างสนุกสนานกับกลุ่มเพื่อนที่ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานเพลงในรูปแบบของ การบรรเลงแบบเดี่ยวและการบรรเลงแบบวงด้วยการการขับร้องเพลงมาร์ชโรงเรียนวัดคูยางร่วมกันทุกเช้าในกิจกรรมหน้าเสาธง และวงเมโลดิก้าได้บรรเลงเพลงชาติและเพลงมาร์ชหน้าเสาธงทุกวัน
๓) ผู้เรียนได้นำความรู้เรื่องการอ่านโน้ตดนตรีไปใช้ในการขับร้องและบรรเลงดนตรีตามความถนัด ผู้เรียนได้พัฒนาต่อยอดไปเล่นเครื่องดนตรีสากลในประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้วยการการขับร้องเพลงมาร์ชโรงเรียนวัดคูยางร่วมกันทุกเช้าในกิจกรรมหน้าเสาธง และวงเมโลดิก้าได้บรรเลงเพลงชาติและเพลงมาร์ชหน้าเสาธงทุกวัน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมทองเหลือง เครื่องเป่าเมโลดิกา เครื่องตี กิจกรรมวงโยธวาฑิต วงเมโลดิก้า วงเครื่องลมและการขับร้องเพลง และกิจกรรมการประกวดดนตรีของทางโรงเรียนหรือหน่วยงานอื่นๆที่จัดขึ้น
๔. ผู้เรียนมีเจตคติที่ดี ตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของดนตรีสากลได้ใช้เวลาว่างหรือกิจกรรมที่ทางโรงเรียนฝึกซ้อมพัฒนาต่อยอดในเครื่องดนตรีอื่นๆ มาร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนและกิจกรรมชุมชนที่ขอความร่วมมือในการนำนักเรียนไปร่วมแสดงกิจกรรม รวมทั้งสร้างโอกาสในการศึกษาต่อโดยใช้โควต้าความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี
๕. ผู้เรียนเรียนมีทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยการศึกษาค้นคว้าจากสื่อในแหล่งต่างๆแล้วผ่านกระบวนการสรุปความรู้ แลกเปลี่ยน อภิปราย เสนอแนะ หาข้อสรุปของความรู้ร่วมกันภายในกลุ่มของตนเองเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
๖. ผู้เรียน มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้แบบ Co ๕ STEPs เป็นกระบวน การทำงานกลุ่มแบบรวมพลังเพื่อให้มีการจัดการเรียนรู้บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์อีกทั้งเน้นการให้นักเรียนร่วมมือกันทำงานช่วยเหลือกันเด็กเก่งช่วยเด็กเรียนช้าเด็กถนัดกว่าช่วยเด็กถนัดน้อย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเสมอภาค กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง ๕ ขั้นตอนเป็นแนวการสอนหนึ่งของการเรียนรู้เชิงรุก เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งประยุกต์ความรู้ได้ บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์นักเรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมแบบทำงานกลุ่มโดยทุกคนร่วมด้วยช่วยกัน บทบาทของผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ (Learner) บทบาทของครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator)
๕) แนวทางการนำนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จไปใช้ และแนวทางการพัฒนาต่อยอด (๒๐ คะแนน)
๑. การปรับปรุงแนวทางการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(สาระดนตรี) ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำทฤษฏีดนตรีมาสู่การปฏิบัติดนตรีสากลตามความถนัดได้จริง
๒. วางแผนการจัดการเรียนรู้ดนตรีสากลเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านดนตรี ( Music Skill )ของผู้เรียน
๓. ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลตามแนวทางการสอนดนตรีของซูซูกิร่วมกับการจัดการเรียนรู้ CO ๕ STEPs โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดคูยาง
๔. วัดผลและประเมินผล การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลตามแนวทางการสอนดนตรีของซูซูกิร่วมกับการจัดการเรียนรู้ CO ๕ STEPs โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดคูยาง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะทางดนตรี (Music skill)
๕. รายงานผล การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลตามแนวทางการสอนดนตรีของซูซูกิร่วมกับการจัดการเรียนรู้ CO ๕ STEPs โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดคูยาง เพื่อการติดตามและรับข้อเสนอแนะมาใช้ในการปรับปรุง
การจัดการเรียนรู้เรียนรูได้มีการออกแบบให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยมีการศึกษาตามขั้นตอนและหลักการทางดนตรีอย่างถูกต้องตามลำดับเนื้อหา ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สรุปความรู้และความคิดรวบยอดของตนเอง มีการทำงานเป็นทีม ได้แลกเปลี่ยน รับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น และได้ทดลองปฏิบัติซ้ำๆจนเกิดความเข้าใจและพิสูจน์ของเท็จจริงในการทำกิจกรรมเกิดการสั่งสมประสบการณทําใหเกิดความคิดเชิงกระบวนทัศนที่ ชัดเจน และเกิดการเรียนรูเชิงกระบวนทัศนใหมได มีความสามารถในการรับรูขอมูล และนํามาสังเคราะหเปนความรู้ที่ชัดเจนและถูกต้องตารมหลักวิชาการทางดนตรีและสามารถนำความรู้ไปต่อยอดเพื่อใช้ในการขับร้องหรือบรรเลงเครื่องดนตรีตามความถนัดได้
ผู้สอนมีการเตรียมการเรียนการสอนโดยวางแผนหัวข้อเนื้อหาที่สอนในแต่ละสัปดาห์ จากนั้นจะดูลำดับการเรียนการสอนก่อน-หลัง เพื่อความเหมาะสมและความสอดคล้องของเนื้อหาเก่าและเนื้อหาใหม่ ลำดับการเรียนการสอนจะใช้หลักการทางดนตรีเพื่อลำดับเนื้อหาให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับกระบวนการและแนวคิดที่นำมาใช้ เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน
ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนที่ผู้สอนพบเจอจะเป็นสิ่งพบ เกิดขึ้นจากผู้เรียน ซึ่งจะเป็นเรื่อง ทั่วไป เช่น ผู้เรียนไม่ตั้งใจเรียน ไม่สนใจในรายวิชา ไม่ฝึกปฏิบัติกิจกรรม รวมถึงมีพื้นฐานที่ีไม่เท่ากัน ผู้สอนจึงใช้การ พูดคุย ปรับทัศนคติของผู้เรียน ทำความเข้าใจผู้เรียนและช่วยเหลือผู้เรียนให้ได้มากที่สุด ผู้สอนจะมีความใกล้ชิดกับผู้เรียนทุกคน ทำให้ผู้สอนสามารถปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนให้เข้ากับผู้เรียนได้อย่างดี
ในการจัดกิจกรรมการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีสากลตามแนวทางการสอนดนตรีของซูซูกิร่วมกับการจัดการเรียนรู้ CO ๕ STEPs โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวัดคูยาง
แนวทางการสอนดนตรีของซูซูกิ ๔ ขั้น
ขั้นที่หนึ่ง การฟัง (Listening) คือการรับรู้แบบซ้ำๆ
เป็นการเน้นย้ำความรู้ด้านทฤษฎีดนตรีเพื่อความเข้าใจในหลักการทางดนตรีอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น การค้นคว้าหาความรู้ การอ่านจากใบความรู้ การฟังการอธิบายจากครูผู้สอน หรือศึกษาจากแหล่งอื่น แล้วนำความรู้ที่ได้มาสรุปและยืนยันความถูกต้อง
ขั้นที่สอง เลียนแบบ (Imitation) คือ การสังเกตและจดจำจากครูที่เป็นต้นแบบ
ในส่วนของการฝึกปฏิบัติการอ่านและเขียนโน้ต ครูจะเชื่อมโยงกับความรู้ขั้นที่หนึ่ง นำมาสาธิตให้นักเรียนสังเกต เนื่องจาก วิชาดนตรีเป็นวิชาที่มีกฎเกณฑ์มากมาย บังคับไปด้วยเครื่องหมาย และสัญลักษณ์ต่างๆทางดนตรี ครูจึงต้องเป็นผู้เชื่อมโยงความรู้ที่ถูกต้องและสาธิตด้วยกระบวนการที่ถูกต้องและให้นักเรียน
ขั้นที่สาม ทำซ้ำ (Reiteration) คือ การฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ฝึกซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเป็นธรรมชาติ
เป็นการให้นักเรียนได้ฝึกอ่านและ ฝึกเขียนตัวโน้ต ซ้ำๆ จนเกิดการเรียนรู้ และลำดับขั้นตอนในการอ่าน การเขียนที่ถูกต้องผ่านใบงานและแบบฝึกหัดที่ครูกำหนดให้ทำซ้ำๆหลายๆรอบเพื่อเน้นย้ำให้เกิดความเข้าใจ
ขั้นที่สี่ จดจำฝังใจ (Memorize) คือ สามารถปฏิบัติได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม
นักเรียนสะท้อนความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการทางดนตรี กระบวนการอ่านถูกต้องกระบวนการเขียนถูกต้อง ตามลำดับขั้นตอน โดยแบบทดสอบ หรือการให้นักเรียนปฏิบัติให้ดูอย่างถูกลำดับขั้นตอน ในส่วนของทักษะกระบวนการศึกษาค้นคว้าแบบกลุ่มจะใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง ๕ ขั้นตอน ๕ STEPs Collaborative Learning Process เรียกสั้นๆ คือ CO-๕STEPs ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง ๕ ขั้นตอน มีรายละเอียด ดังนี้
กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง ๕ ขั้นตอน Co ๕ STEPs
ขั้นเสนอสิ่งเร้าและระบุคำถามสำคัญ (Stimulating and Key Questioning Collaboratively) ครูนำเสนอสิ่งเร้าที่ เช่น วัตถุสิ่งของ วิดีทัศน์ รูปภาพ การตั้งคำถาม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตั้งคำถามได้ทั้งคำถามง่ายและคำถามยาก ให้ผู้เรียนคาดคะเนคำตอบอาจเป็นรายบุคคล หรือทีมด้วยการใช้วิธีต่าง ๆ
1.ขั้นแสวงหาสารสนเทศและวิเคราะห์อย่างรวมพลัง (Searching and Analyzing Collaboratively) ผู้เรียนทำกิจกรรมศึกษาค้นคว้าตามสื่อการเรียนรู้ที่ครูเตรียมไว้ในเวลาที่กำหนดผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูล/สารสนเทศที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้
2.ขั้นรวมพลังอภิปรายและสร้างความรู้ (Discussing and Constructing Collaboratively) ครูให้แต่ละกลุ่มผู้เรียนนำเสนอ ผู้เรียนร่วมกันอภิปราย ผู้เรียนแต่ละกลุ่มแก้ไข ปรับปรุงข้อมูล/สารสนเทศให้มีสาระความรู้ที่ถูกต้องและชัดเจน
3.ขั้นสื่อสารและสะท้อนคิดอย่างรวมพลัง (Communicating and Reflecting Collaboratively) ผู้เรียนเตรียมนำเสนอผลงานความรู้ที่ผ่านการแก้ไขปรับปรุงแล้ว ด้วยวิธีการบอกเล่า สะท้อนกระบวนการ เรียนรู้การทำงาน ข้อเด่น ข้อด้อย จนได้บทเรียน
4.ขั้นรวมพลังประยุกต์และตอบแทนสังคม (Applying and Serving Collaboratively) ผู้เรียนช่วยกันนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้ไปปรับใช้ในการเรียนรู้ร่วมกับสาระอื่นๆหรือปรับใช้ในการดำเนิชีวิตประจำวัน เช่น การบอกเล่า การถ่ายวิดีทัศน์ การเขียนบทความ การทำโครงงาน
กรอบแนวคิดการใช้กระบวนการ Co- ๕ Steps ร่วมกับแนวการสอนดนตรีของซูซูกิ
เมื่อผู้เรียนผ่านกระบวนการขั้นตอนที่ผู้สอนได้กำหนดไว้ทั้งหมดจนจบกระบวนการจะทำให้ผู้เรียนมีทักษะทางดนตรีที่จำเป็นและทักษะในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และสามารถเพิ่มศักยภาพและความสามารถของตนเอง เกิดความมั่นใจ มีความรู้ที่ถูกต้อง มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าด้วยและสรุปความรู้ตนเอง มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะดนตรี (Musical Skill)
ทักษะทางดนตรีที่ผู้เรียนดนตรีต้องมี
ในปัจจุบันการเรียนดนตรีนั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนเสริมเพื่อเล่นเป็นงานอดิเรก หรือการเรียนในระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้สอนสอนดนตรี ศิลปิน นักแต่งเพลงหรืออื่นๆ ในการเรียนดนตรีนั้น หากมีทักษะที่ไม่ดีจะส่งผลต่อการเอาตัวรอดเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเล่น การฟัง หรือทักษะอื่นๆ ที่สามารถนำดนตรีไปประยุกต์ใช้งานได้ เชื่อว่า ๖ ทักษะต่อไปนี้คือทักษะที่ผู้เรียนดนตรีต้องมี
1. การเล่นที่ดี
แน่นอนว่าในการเรียนดนตรีนั้น ทักษะที่ควรมีเป็นอันดับแรกเลยคือทักษะการเล่นที่ดี โดยเฉพาะเครื่องที่ผู้เรียนเรียนอยู่นั้น ควรจะเป็นเครื่องดนตรีที่ผู้เรียนเล่นได้ดีที่สุด เว้นเสียแต่อนาคตคุณอยากที่จะเป็นนักวิชาการดนตรีมากกว่าผู้เล่น แต่จะดีแค่ไหนถ้าคุณเล่นดี และเก่งวิชาการด้วย
2. การฟังที่ดี
ด้วยความที่ดนตรีนั้นสื่อสารให้ผู้ฟังด้วยเสียง เพราะฉะนั้นผู้เรียนดนตรีก็ควรจะมีทักษะการฟังที่ดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฟังโน้ต ฟังทำนอง เพื่อที่เวลาที่ต้องการแต่งเพลง หรือการเล่นดนตรีนั้นจะช่วยให้คุณสามารถทำได้ง่ายขึ้น
3. การอ่านที่ดี
ทักษะการอ่านโน้ตถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะนอกจากจะทำให้เราเรียนรู้บทเพลงได้เร็วแล้ว ยังทำให้
เราอ่านโน้ตได้แม่นยำถูกต้องตั้งแต่แรก ตัดปัญหาการอ่านโน้ตผิดซึ่งจะแก้ไขได้ยากหลังฝึกซ้อมเพลงไปแล้ว
4. ความรู้ทฤษฎีดนตรีที่ดี
เรื่องของทฤษฎีนั้นเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันว่าจำเป็นต้องเก่งไหมก็ในเมื่อเล่นเก่งอยู่ บางครั้งคุณอาจจะต้อง
สื่อสารกับคนในวงเรื่องเพลง อาจสร้างความเข้าใจในสิ่งที่คุณเล่น ซึ่งจริง ๆ แล้วบอกเลยว่าทฤษฎีดนตรีจำเป็นมากครับในยุคนี้
5. การรวมวงที่ดี
การเล่นรวมวงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะต่อให้ผู้เรียนจะเล่นได้ทุกเทคนิคบนโลกนี้ก็ไม่ได้แปลว่าผู้เรียนจะเล่นรวมวงได้ดี สิ่งที่ควรทำคือ ทำความเข้าใจการเล่นของวง ทักษะของคนในวง แนวเพลงที่เล่น เพื่อให้คุณได้เข้าใจว่า คุณจะต้องเล่นอะไร อย่างไร เพื่อให้สิ่งที่คุณเล่นออกมาเข้ากับวงมากขึ้น และเป็นการรู้จักปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นบนพื้นฐานของกติกาในการอยู่ร่วมกัน
6. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ดี
สำหรับการเรียนดนตรี การบรรเลงดนตรี บอกเลยว่าในวิชาดนตรีไม่มีแบบไหนที่ไม่เจอปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเด็กไม่เข้าใจ หรือดื้อขณะคุณสอน สิ่งที่คุณควรมีคือ การแก้ปัญหาให้สามารถบรรเลงหรือขับร้องให้ผ่านไปได้อย่างราบราน
ความสำเร็จในการนำนวัตกรรมไปใช้
ด้านผู้เรียน
๑. ผู้เรียนมีความตั้งใจ สนใจ กระตือรือร้น กับการเรียนมากขึ้น กล้าคิด กล้าถาม และกล้าแสดงออก มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ และมีความสุขในการร่วมกิจกรรมเกิดทัศนคติที่ดี
๒. ผู้เรียนมีความสามารถด้านดนตรีตามความถนัด
๓. ผู้เรียนมีสุนทรียภาพด้านดนตรี
๔. ผู้เรียนสามารถต่อยอดโดยการสร้างโอกาสทางการศึกษาด้วยใช้โควตาความสามารถพิเศษด้านดนตรี
๕.ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้และสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
๖.ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น แลกเปลี่ยน อภิปราย หาข้อสรุปกับผู้อื่นได้โดยยึดประโยชน์และความถูกต้องเป็นสำคัญ
ด้านครูผู้สอน
๑. ผู้สอนมีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอน ใช้เทคนิคใหม่ จัดหาสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ในการจัดการเรียนรู้ สามารถจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
๒. ผู้สอนได้มีประสบการณ์ในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
๓. ผู้สอนได้นำข้อบกพร่องที่ได้มาพัฒนาการจัดการเรียนรู้
๔. ผู้สอนได้ทบทวนบทบาทการเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนอย่างแท้จริง
ด้านสถานศึกษา
๑. โรงเรียนมีการจัดการเรียนรู้เชิงรุกให้กับผู้เรียน
๒. โรงเรียนมีการประกันคุณภาพระดับห้องเรียน
๓. โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
๔. โรงเรียนส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑
๕. โรงเรียนมีความเป็นเลิศทางด้านกิจกรรมดนตรี
๖) การเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา (๑๐ คะแนน)
ระบุข้อมูลที่ทำให้เห็นร่องรอยหลักฐานการเผยแพร่นวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จ
และการยกย่องชมเชย
โรงเรียนวัดคูยางดำเนินการจัดกิจกรรมในรูปแบบกระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง ๕ ขั้นตอน ๕ STEPs อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะกระบวนการดนตรีโดยเน้นกระบวนการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากการได้ลงมือปฏิบัติ ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาระหว่างการปฏิบัติกิจกรรม ส่วนการจัดรูปแบบของกิจกรรมจะมีการพัฒนาขึ้นมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น จากการได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ และนำประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ในบางกิจกรรมเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักการเรียนรู้สู่สังคมที่กว้างขึ้นและมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนในระดับชั้นต่อไป มีการเผยแพร่การจัดการเรียนรู้ ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ และนิทรรศการการแสดงผลงานของโรงเรียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชุมชนทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสอทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจากการดำเนินการตามกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะดนตรี ได้ส่งเสริมต่อยอดจากชั้นเรียน โดยการจัดตั้งเป็นชุมนุมดนตรีสากลเพื่อส่งเสริมนักเรียนตามกลุ่มสนใจและได้รับการยกย่องชมเชย ต่อไปนี้