๒. ความสำคัญและความเป็นมา
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ การจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนต้องวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด (ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นคุณธรรม จริยธรรม นั้นทางเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา อาจเพิ่มเติมขึ้นได้ ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนต้องจัดกระบวนการที่หลากหลาย และจากผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหัวนา ปีการศึกษา ๒๕๖๕ คะแนนการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (Reading Test : RT) แบ่งออกเป็น ๒ สมรรถนะ ได้แก่ การอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่อง พบว่า คะแนนการอ่านออกเสียง ร้อยละ ๗๗.๕๐ และคะแนนการอ่านรู้เรื่อง ร้อยละ ๗๕.๒๕ คะแนน ซึ่งมีคะแนนอยู่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ที่โรงเรียนตั้งไว้ จึงทำให้เด็กในวัยแรกเริ่มในการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะด้านการอ่านการเขียนของชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะถ้านักเรียนมีความบกพร่องด้านการอ่านและการเขียนแล้ว จะทำให้กระบวนการเรียนรู้และเข้าใจในบทเรียนทุก ๆ วิชานั้นมีปัญหาและทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย ไม่กระตือรือร้นที่จะเรียน ข้าพเจ้าจึงมีการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนขึ้นเพื่อที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ให้นักเรียนสามารถการอ่านออกของผู้เรียน (Reading Test : RT) ให้สูงกว่าร้อยละ ๘๐ ที่โรงเรียนตั้งไว้
จากสภาพปัญหาและความต้องการของนักเรียนข้างต้น ทำให้ข้าพเจ้าได้เกิดแนวคิดในการที่จะแก้ปัญหาในเรื่องการพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ซึ่งครูผู้สอนต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลเพราะนักเรียนซึ่งใช้การคัดกรองประเมินผล SDQ/EQ แต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป โดยความแตกต่างนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ คือ เกิดขึ้นมาตั้งแต่เกิด และหลังได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้นักเรียนมีความแตกต่างในการพัฒนาด้านร่างกาย ๖ ด้าน คือ ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์และด้านสังคม มีความรู้และคุณธรรม ประสานกับต้องให้ความสำคัญกับจริยธรรมและวัฒนาธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือหัวใจหรือความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒ (มาตรา ๖ หน้า ๓) ข้าพเจ้าจึงได้คิดค้นพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบ SQ4R ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูป และเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๔ เล่ม เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านออกและเขียนได้และยกระดับผลสัมฤทธิ์การประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (Reading Test : RT) ให้มากกว่าร้อยละ ๘๐ ตามที่โรงเรียนได้กำหนดและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาอื่น ๆ ได้สูงขึ้น และใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้การอ่านและการเขียนคำ สร้างความรู้ ความคิด ให้เกิดขึ้นอีกขั้น เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ในการส่งเสริมการอ่านและการเขียนคำให้เข้าใจได้ดี สามารถคาดเดาเข้าใจแนวคิด จดจำเรื่องที่อ่านได้รวดเร็ว เรื่องที่อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาการอ่าน การเขียน คิดวิเคราะห์ได้ดี มีนิสัยรักการอ่าน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบ SQ4R ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูป และเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ของครูผู้สอน และสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑
๒. เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบ SQ4R ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูป และเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๓. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบ SQ4R ประกอบชุดกิจกรรม การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูป และเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๓.๑. เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบ SQ4R ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูป และเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๓.๒ เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบ SQ4R ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูป และเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๔. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบ SQ4R ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูป และเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ภายหลังสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๔. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ ห้องเรียน ห้อง ป.๑/๑ ที่เรียนอยู่โรงเรียนบ้านหัวนา ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๘ คน โดยการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เป้าหมายเชิงปริมาณ
๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๘ คน ปีการศึกษา ๒๕๖๖ สามารถพัฒนาด้านการอ่าน ด้านการเขียน และมีเจตคติที่ดีในการอ่านและการเขียน เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๘๐ ในแต่ละด้าน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
๑. ร้อยละ ๘๐ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๘ คน ปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่าน ด้านการเขียน และมีเจตคติที่ดีในการอ่านและการเขียนที่สูงขึ้น
๕. ขั้นตอนการดำเนินงาน/กระบวนการพัฒนาสื่อหรือนวัตกรรมการสอนภาษาไทย
การพัฒนานวัตกรรม รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบ SQ4R ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูป และเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยมีกระบวนการพัฒนา ดังนี้
1. ระยะที่ ๑ สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ มีขั้นตอน ดังนี้
1. ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบ SQ4R ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูป และเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ของครูผู้สอน
2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแผนการจัดการเรียนรู้และชุดกิจกรรมการเรียนรู้
๓. วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหัวนา สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา และ ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (Reading Test : RT) ปีการศึกษา 2565
๔. ศึกษาความคิดเห็นด้านเนื้อหาสาระที่เหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้และชุดกิจกรรม การเรียนรู้จากครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ในเขตอำเภอเมืองสรวงและผู้เชี่ยวชาญ ด้านการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้
2. ระยะที่ ๒ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบ SQ4R ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ มีขั้นตอน ดังนี้
๑. ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและนำผลมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ แล้วนำแผนการจัดการเรียนรู้ เสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแก้ไขแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปทดลองใช้สอน หาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ (E1/E2) ทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านหัวนา ปีการศึกษา 256๕ แล้วปรับปรุงแก้ไข
๒. การคัดกรอง เป็นการคัดกรองด้วยวิธีการทดสอบโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประเมินเพื่อคัดกรองนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์ มีจำนวน 4 ชุด ถ้าผลการทดสอบมีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ ตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไป ถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์
๓. ระยะที่ ๓ ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบ SQ4R ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูป และเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ด้วยแบบแผน One Group Pretest - Posttest Design โดย 1) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้น 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้น และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้น จากปัญหาดังกล่าวจึงทำให้ครูหาวิธีการจัดการเรียนการสอนหรือรูปแบบการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน
8. ผลสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนาสื่อหรือนวัตกรรมการสอนภาษาไทยและประโยชน์ที่ได้รับ
8.1 ผลที่เกิดกับโรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านหัวนา เป็นโรงเรียนที่ปลอดการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
8.2 ผลที่เกิดกับครู คือ ได้รับรางวัล วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การนำหลักสูตรสถานศึกษา สู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ประสบผลสำเร็จ ด้านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รางวัลครูผู้สอนยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประเภทประถมศึกษาขนาดเล็ก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 และนวัตกรรมนี้สามารถนำไปพัฒนาวิชาชีพในระดับที่สูงขึ้นได้
8.3 ผลที่เกิดกับนักเรียน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คะแนนการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) สูงกว่าปีการศึกษา 2565 ซึ่งมีคะแนนสูงกว่าระดับสังกัดและระดับประเทศ รวมไปถึงพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ รายวิชาอื่นๆ อยู่ในระดับที่สูงขึ้น เป็นที่น่าพอใจของผู้บริหาร คณะครู และผู้ปกครองเป็นอย่างมาก รวมไปถึงนักเรียนก็มีความสุขในการเรียน
๘.๔ ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสถานศึกษา โดยบุคลากรมีการปรับเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับการนำสื่อหรือนวัตกรรมมาใช้ในพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น มีการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ความจริงจังในการปฏิบัติงาน การทำงานเป็นทีม เสียสละ การอุทิศตนของ บุคลากร
๒. เมื่อความสำเร็จสู่เป้าหมาย เกิดความภาคภูมิใจในการทำงานก็ เป็นที่ยอมรับของผู้บริหาร บุคลากรในโรงเรียน และผู้ปกครอง