ชื่องานวิจัย การพัฒนานักเรียนสมาธิสั้น ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
ชื่อผู้วิจัย นางวาสินี สอดห่วง
กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมสร้างสรรค์
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อ นางวาสินี สอดห่วง
ชื่อเรื่อง การพัฒนานักเรียนสมาธิสั้นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
สภาพปัญหา นักเรียนในชั้นเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองบัว
มีนักเรียน ทั้งหมด 16 คน มีนักเรียนทีมีสมาธิสั้น 2 คน
1. ด.ช. ปิยพงษ์ เดินริบรัมย์ อายุ 5 ปี 3 เดือน
2. ด.ช. อัครเดช ขวัญเมือง อายุ 4 ปี 11 เดือน
ความเป็นมา
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 2 คน มีพฤติกรรมไม่ค่อยนิ่งในขณะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ต้องให้นั่งใกล้ๆครู เพื่อคอยกระตุ้นในการฟัง การพูด และการตอบคำถาม ลักษณะการพูด การตอบคำถามของนักเรียนจะพูดทวนคำถามก่อนจึงจะตอบ และไม่นิ่งในขณะร่วมกิจกรรมการระบายสีภาพต่างๆ จะขีดเขียน แค่สอง สาม ครั้งแล้วจะเลิก ไม่ทำต่อ และ เปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นอย่างไม่หยุดนิ่ง ถึงแม้จะเป็นกิจกรรมที่หน้าสนใจ เช่น ฟังนิทาน ฯลฯ ครูประจำชั้นจึงมีความสนใจจะศึกษานักเรียนทั้ง 2 คน เพื่อนำกิจกรรมสร้างสรรค์มาฝึกปฏิบัติ เพื่อปรับพฤติกรรมในการพัฒนาความสามารถของนักเรียนทั้ง 2 คน ที่มีสมาธิสั้น ให้ปรับพฤติกรรมในขั้นพื้นฐานได้เหมาะสมกับวัย
ทางเลือกที่คาดว่าจะแก้ปัญหา
1. การวาดภาพตามจินตนาการ
2. ระบายสีภาพอิสระ
3. ปั้นดินน้ำมัน
4. ฉีกปะภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความสามารถของ นักเรียนที่มีสมาธิสั้นในการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้กิจกรรม
สร้างสรรค์
2. เพื่อสร้าง และ พัฒนานวัตกรรมในการศึกษาสมาธิให้กับนักเรียนทั้งสอง
ระยะเวลาการดำเนินงาน ก.ค. 2566 ส.ค. 2566
ขั้นตอนในการดำเนินงาน
1. ให้นักเรียนทำกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างอิสระ
2. สนทนาตกลงกติกาในการทำงานสร้างสรรค์
3. ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างสม่ำเสมอ
4. สังเกตหลังจากปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้ นวัตกรรม
5. นำผลงานก่อนการทดลอง และหลังการทดลองมาปรับ นวัตกรรม
6. สรุปผล และเสนอแนะ
ชื่องานวิจัย การพัฒนานักเรียนสมาธิสั้นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
ชื่อผู้วิจัย นางวาสินี สอดห่วง
กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมสร้างสรรค์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาสมาธินักเรียนในระดับก่อนประถมศึกษา ซึ่งอยู่ในวัย 4 5 ปี เป็นวัยแห่งการเรียนรู้จะสนใจเรียน ประมาณ 15 20 นาที จากการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมในภาคเรียนที่ 1 พบว่าในห้องเรียนอนุบาล 2 ที่มีสมาธิในการเรียนรู้ได้น้อยอยู่ 2 คน ผู้วิจัยจึงได้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ มาช่วยในการทำงานวิจัย โดยผ่านกระบวนการวาดภาพตามจินตนาการ ฉีก ปะภาพ ระบายสีภาพ และปั้นดินน้ำมัน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีสมาธิในการเรียนเพิ่มมากขึ้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชั้นพื้นฐานได้เหมาะสมกับวัย
การพัฒนาเด็กสมาธิสั้นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
ความสำคัญ และ ที่มา
นักเรียนวัย 4 5 ปี ต้องมีการพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจสังคม และสติปัญญา จากการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมถึงพัฒนาการตลอดจนการเรียนรู้ที่เหมาะสมจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับพ่อแม่ เด็กกับครู เด็กกับครูพี่เลี่ยง เพื่อพัฒนาเด็กทั้ง 4 ด้าน ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างสมดุลและเต็มศักยภาพ ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เนื่องจาก เด็กชายปิยะพงษ์ เดินริบรัมย์ และ เด็กชายอัครเดช ขวัญเมือง มีพัฒนาการที่ล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัยในด้านการร่วมกิจกรรมที่ครูจัดมีความสนใจในระยะสั้น ทำให้การดำเนินกิจกรรมในแต่ละครั้งไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ไม่เป็นไปตามศักยภาพเด็กตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
เนื่องจากการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม และการทดสอบประเมินผลพัฒนาการในภาคเรียนที่ 1 นักเรียนมีพัฒนาการไม่เหมาะสมกับวัย ครูจึงสนใจที่จะทำวิจัย เพื่อพัฒนาการให้
เด็กชายปิยพงษ์ เดินริบรัมย์ และ เด็กชายอัครเดช ขวัญเมือง ให้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ซึ่งมี การวาดภาพตามจินตนาการ การระบายสีภาพ การฉีกปะติดภาพ และการปั้นดินน้ำมัน เพื่อพัฒนาการให้นักเรียนมีศักยภาพที่ดีขึ้น
จุดประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความสามารถของ เด็กชายปิยพงษ์ เดินริบรัมย์ และ เด็กชายอัครเดช ขวัญเมือง ที่มีสมาธิสั้นให้มีการพัฒนาได้เหมาะสมกับวัย
2. เพื่อพัฒนานวัตกรรมในการฝึกสมาธิให้กับนักเรียนที่มีสมาธิสั้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น
กิจกรรมสร้างสรรค์ในด้านวาดภาพตามจินตนาการ การระบายสีภาพ การฉีก ปะ ติดภาพ
และปั้นการนดินน้ำมัน
ตัวแปรตาม
การพัฒนาสมาธิในการเรียนรู้ของเด็ก
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลจากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูที่จะจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ในวัย 4 5 ปีให้ได้ผลตามจุดประสงค์ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุง หรือพัฒนาการเรียน การสอนให้นักเรียนเกิดการพัฒนา และเกิดประสิทธิภาพสำหรับนักเรียนปฐมวัย
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เด็กชายปิยะพงษ์ เดินริบรัมย์ อายุ 5 ปี 3 เดือน และ เด็กชายอัครเดช ขวัญเมือง อายุ 4 ปี 11 เดือน กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในโรงเรียนบ้านตาปรก
วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เด็กชายปิยะพงษ์ เดินริบรัม อายุ 5 ปี 3 เดือน และ เด็กชายอัครเดช ขวัญเมือง อายุ 4 ปี 11 เดือน อยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในโรงเรียนบ้านตาปรก ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ หวัดศรีสะเกษ
โดยมีวิธีดำเนินงานด้วยการวิจัยดังนี้
ที่ วัน/เดือน/ปี กิจกรรม หมายเหตุ
1
2
5 ก.ค. 2566
12 ก.ค. 2566
19 ก.ค. 2566
26 ก.ค. 2566
9 ส.ค. 2566
16 ส.ค. 2566
24 ส.ค. 2566
30 ส.ค. 2566
วาดภาพตามจินตนาการ
ระบายสีภาพ
ฉีก ปะภาพ
ปั้นดินน้ำมัน
วาดภาพตามจินตนาการ
ระบายสีภาพ
ฉีก ปะภาพ
ปั้นดินน้ำมัน
ปฏิบัติตามกิจกรรมทุกวันพุธของสัปดาห์ วันที่ปฏิบัติกิจกรรมตรงกับวันหยุดจะเลื่อนปฏิบัติในวันอังคารของสัปดาห์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการทำวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย ได้ทำกิจกรรมดังนี้
1. การจัดกิจกรรม
2. การบันทึกข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากแบบบันทึกการพัฒนาสมาธิสั้นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนภายหลังจากการทำกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนแล้ว ผู้เรียนมีระดับคะแนะสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน ขั้นตอนตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ทำให้ เด็กชายปิยะพงษ์ เดินริบรัมย์ และ เด็กชายอัครเดช ขวัญเมือง มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
ภาคผนวก
แบบบันทึกการพัฒนาการสมาธิสั้นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
ครั้งที่ 1
เด็กชายปิยะพงษ์ เดินริบรัมย์
โรงเรียนบ้านตาปรก
ลำดับที่ รายการ ระดับคะแนน หมายเหตุ
2 1 0
1 วาดภาพตามจินตนาการ / 0 หมายถึงไม่มีสมาธิเลย
1 หมายถึงมีสมาธิบ้างครูต้องคอยกระตุ้น
2 หมายถึงมีสมาธิดี
2 ระบายสีภาพ /
3 ฉีก ปะภาพ /
4 ปั้นดินน้ำมัน /
รวม - 3 1
ค่าเฉลี่ย - 0.75 0.25
ค่าเฉลี่ยร้อยละ - 75 25
แบบบันทึกการพัฒนาการสมาธิสั้นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
ครั้งที่ 2
เด็กชายปิยะพงษ์ เดินริบรัมย์
โรงเรียนบ้านตาปรก
ลำดับที่ รายการ ระดับคะแนน หมายเหตุ
2 1 0
1 วาดภาพตามจินตนาการ / 0 หมายถึงไม่มีสมาธิเลย
1 หมายถึงมีสมาธิบ้างครูต้องคอยกระตุ้น
2 หมายถึงมีสมาธิดี
2 ระบายสีภาพ /
3 ฉีก ปะภาพ /
4 ปั้นดินน้ำมัน /
รวม - 4 -
ค่าเฉลี่ย - 1 -
ค่าเฉลี่ยร้อยละ - 100 -
แบบบันทึกการพัฒนาการสมาธิสั้นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
ครั้งที่ 3
เด็กชายปิยะพงษ์ เดินริบรัมย์
โรงเรียนบ้านตาปรก
ลำดับที่ รายการ ระดับคะแนน หมายเหตุ
2 1 0
1 วาดภาพตามจินตนาการ / 0 หมายถึงไม่มีสมาธิเลย
1 หมายถึงมีสมาธิบ้างครูต้องคอยกระตุ้น
2 หมายถึงมีสมาธิดี
2 ระบายสีภาพ /
3 ฉีก ปะภาพ /
4 ปั้นดินน้ำมัน /
รวม 2 2 -
ค่าเฉลี่ย 0.50 0.50 -
ค่าเฉลี่ยร้อยละ 50 50 -
สรุปผลว่า
จากการสังเกตการพัฒนาการสมาธิสั้นของผู้เรียนในแต่ละครั้งของ เด็กชายปิยะพงษ์ เดินริบรัมย์ ในระดับชั้นอนุบาล 2 พบว่า
ครั้งที่ 1 - ได้รับคะแนนในกิจกรรมสร้างสรรค์ได้ค่าเฉลี่ย 0.25 คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 25
- ได้รับคะแนนในกิจกรรมวาดภาพตามจินตนาการกิจกรรมระบายสีและกิจกรรมสร้าง
สรรค์ ได้ค่าเฉลี่ย 0.75 คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 75
ครั้งที่ 2 - ได้รับคะแนนในกิจกรรมวาดภาพตามจินตนาการ กิจกรรมระบายสีภาพ กิจกรรมฉีก
ปะ ติดภาพ และกิจกรรมปั้นดินน้ำมัน ได้ค่าเฉลี่ย 4 คิดเป็น ร้อยละ 100
ครั้งที่ 3 - ได้รับคะแนนในกิจกรรมฉีก ปะ ติดภาพ และกิจกรรมปั้นดินน้ำมัน ได้ค่าเฉลี่ย 0.50 คิด
เป็น ร้อยละ 50
- ได้รับคะแนนในกิจกรรมวาดภาพตามจินตนาการ และกิจกรรมระบายสีภาพ ได้
ค่าเฉลี่ย 0.50 คิดเป็นร้อยละ 50
แบบบันทึกการพัฒนาการสมาธิสั้นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
ครั้งที่ 1
เด็กชายอัครเดช ขวัญเมือง
โรงเรียนบ้านตาปรก
ลำดับที่ รายการ ระดับคะแนน หมายเหตุ
2 1 0
1 วาดภาพตามจินตนาการ / 0 หมายถึงไม่มีสมาธิเลย
1 หมายถึงมีสมาธิบ้างครูต้องคอยกระตุ้น
2 หมายถึงมีสมาธิดี
2 ระบายสีภาพ /
3 ฉีก ปะภาพ /
4 ปั้นดินน้ำมัน /
รวม - 2 2
ค่าเฉลี่ย - 0.5 0.5
ค่าเฉลี่ยร้อยละ - 50 50
แบบบันทึกการพัฒนาการสมาธิสั้นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
ครั้งที่ 2
เด็กชายอัครเดช ขวัญเมือง
โรงเรียนบ้านตาปรก
ลำดับที่ รายการ ระดับคะแนน หมายเหตุ
2 1 0
1 วาดภาพตามจินตนาการ / 0 หมายถึงไม่มีสมาธิเลย
1 หมายถึงมีสมาธิบ้างครูต้องคอยกระตุ้น
2 หมายถึงมีสมาธิดี
2 ระบายสีภาพ /
3 ฉีก ปะภาพ /
4 ปั้นดินน้ำมัน /
รวม - 3 1
ค่าเฉลี่ย - 0.75 0.25
ค่าเฉลี่ยร้อยละ - 75 25
แบบบันทึกการพัฒนาการสมาธิสั้นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์
ครั้งที่ 3
เด็กชายอัครเดช ขวัญเมือง
โรงเรียนบ้านตาปรก
ลำดับที่ รายการ ระดับคะแนน หมายเหตุ
2 1 0
1 วาดภาพตามจินตนาการ / 0 หมายถึงไม่มีสมาธิเลย
1 หมายถึงมีสมาธิบ้างครูต้องคอยกระตุ้น
2 หมายถึงมีสมาธิดี
2 ระบายสีภาพ /
3 ฉีก ปะภาพ /
4 ปั้นดินน้ำมัน /
รวม 1 2 1
ค่าเฉลี่ย 0.25 0.50 0.25
ค่าเฉลี่ยร้อยละ 25 50 25
สรุปผลว่า
จากการสังเกตการพัฒนาการสมาธิสั้นของผู้เรียนในแต่ละครั้งของ เด็กชายอัครเดช ขวัญเมือง ในระดับชั้นอนุบาล 2 พบว่า
ครั้งที่ 1 - ได้รับคะแนนในกิจกรรมฉีก ปะ ติดภาพ และ ปั้นดินน้ำมันได้ค่าเฉลี่ย 0.5 คิดเป็น
ค่าเฉลี่ย ร้อยละ 50
- ได้รับคะแนนในกิจกรรมวาดภาพตามจินตนาการ และ กิจกรรมระบายสี ได้
ค่าเฉลี่ย 0.5 คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 50
ครั้งที่ 2 - ได้รับคะแนนในกิจกรรมปั้นดินน้ำมัน ได้ค่าเฉลี่ย 0.25 คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 25
ครั้งที่ 3 - ได้รับคะแนนในกิจกรรมปั้นดินน้ำมัน ได้ค่าเฉลี่ย 0.25 คิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 25
- ได้รับคะแนนในกิจกรรมวาดภาพตามจินตนาการ และกิจกรรมฉีก ปะ ติดภาพ ได้
ค่าเฉลี่ย 0.50 คิดเป็นร้อยละ 50
- ได้รับคะแนนในกิจกรรมระบายสี ได้รับค่าเฉลี่ย 0.25 คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 25