๑.๑ ชื่อนวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้แบบ TALK & E Model ร่วมกับ เทคนิคการตั้งคำถาม R C A บูรณาการทักษะชีวิตด้วยกระบวนคิดการทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาตสร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) โดยใช้ขั้นตอนการสอน ดังนี้
๑.๒ มูลเหตุจูงใจในการสร้างนวัตกรรม
การวางแผนเป้าหมายชีวิต เป็นการตั้งเป้าหมายชีวิตของบุคคลที่ได้วางแผนไว้ด้วยวิธีการที่
เหมาะสมเพื่อนำตนเองไปสู่ความสำเร็จในชีวิต หากระหว่างทางต้องเผชิญปัญหาอุปสรรคก็สามารถแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีโอกาสอภิปรายแสดงความรู้สึก นึกคิด ก่อน ระหว่างการเรียนการสอนหรือสิ้นสุดกระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามเนื้อหาสาระในหลักสูตรตามปกติแล้ว การจัดการเรียนรู้แบบ TALK & E Model ร่วมกับ เทคนิคการตั้งคำถาม R C A บูรณาการทักษะชีวิตด้วยกระบวนคิดการทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาตสร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) เป็นการกระตุ้นให้ ผู้เรียนได้เปิดเผยตนเองผ่านการตอบคำถามหรือกิจกรรมที่สะท้อนความรู้สึกหรือมุมมองของตนเอง ได้คิดเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ส่งผลให้ผู้เรียนได้สะสมประสบการณ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จนผู้เรียนได้แสดงออกทางอย่างมีเหตุผลและยั่งยืน
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
เพื่อสร้างนักเรียนให้มีทักษะที่ครบพร้อมในโลกศตวรรษที่ ๒๑ (๓R๘C) เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในลักษณะการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรม (Active) บูรณาการทักษะชีวิตเข้ากับกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษปีที่ ๑ เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เปิดเผยตนเองผ่านการตอบคำถามหรือกิจกรรมที่สะท้อนความรู้สึกหรือมุมมองของตนเอง ได้คิดเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ส่งผลให้ผู้เรียนได้สะสมประสบการณ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จนผู้เรียนได้แสดงออกอย่างมีเหตุผลและยั่งยืน ตลอดจนมีการนำความรู้ที่ตนได้ศึกษาค้นคว้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนได้เติมเต็มความรู้ซึ่งกันและกัน สร้างทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการประเมินผลที่มีคุณภาพตามสภาพจริง
๑.๓ กระบวนการในการออกแบบและสร้างนวัตกรรม
ขั้นที่ ๑ แจ้งจุดมุ่งหมาย (T : Target) ผู้สอนต้องแจ้งจุดมุ่งหมายหรือตัวชี้วัดในการเรียนให้นักเรียนทราบ
ขั้นที่ ๒ กระตุ้นการเรียนรู้ด้วยสิ่งเร้า (A : Arouse) เป็นกระตุ้นการเรียนรู้นักเรียนด้วยสิ่งเร้าต่าง ๆ
ขั้นที่ ๓ เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ (L : learning by doing) นักเรียนเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ
ขั้นที่ ๔ สรุปความรู้ (K : Knowledge Summarize) นักเรียนสรุปความรู้จากการเรียนรู้และจากการลงมือปฏิบัติ
ขั้นที่ ๕ ประเมินการเรียนรู้ (E : Exit Ticket) เป็นการประเมินการเรียนรู้ของตนเองในชั่วโมงนั้น ๆ
นอกจากนั้นได้ใช้เทคนิคการตั้งคำถาม R C A ซึ่งเป็นการตั้งคำถามที่สะท้อนประสบการณ์
ของนักเรียนหลังจากทำกิจกรรมในเเต่ละครั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนดึงประสบการณ์หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่ทำเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะชีวิต (Life Skill) เช่น การเห็นคุณค่าในตัวเองและผู้อื่น (Self-Esteem and Empathy) การจัดการอารมณ์ตัวเอง (Self-Control) การคิดวิเคราะห์ (Analysis) การตัดสินใจ (Decision-making) และการคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creativity)
โดยใช้ คำถาม R = Reflect (การสะท้อน) คือคําถามเพื่อให้นักเรียนสะท้อนความรู้สึกหรือมุมมองของตนที่เกิดขึ้นในขณะร่วมกิจกรรม ตัวอย่างคำถาม (มักเริ่มด้วย ขณะที่....)
- ขณะที่เล่นกับเพื่อนรู้สึกอย่างไรบ้าง
- ขณะที่ทำงานเป็นทีมมีปัญหาอะไรบ้าง และเเก้ไขสถานการณ์อย่างไร
- ขณะที่ทำกิจกรรมเกิดมีความเห็นไม่ลงรอยกัน เรามีวิธีจัดการอย่างไร
- ขณะที่เล่นกีฬากับเพื่อน มีความรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นเพื่อนแพ้
คำถาม C = Connect (การเชื่อมโยง) คือคำถามเพื่อให้นักเรียนได้คิดเชื่อมโยงระหว่าง
ประสบการณ์ที่เจอมาในอดีตกับสิ่งที่พบเจอในกิจกรรมที่พึ่งสิ้นสุดลง ตัวอย่างคำถาม (มักเริ่มด้วย ที่ผ่านมา....)
- ที่ผ่านมาเคยมีประสบการณ์เล่นเเบบนี้ไหม การเล่นครั้งนี้แตกต่างจากครั้งที่เเล้วหรือไม่
อย่างไร
- ที่ผ่านมาเคยมีความรู้สึกแบบนี้หรือไม่ แล้วจัดการกับมันอย่างไร
- ที่ผ่านมาคิดว่าเราจัดการปัญหาด้วยวิธีเหมือนๆ กับครั้งนี้ไหม
และคำถาม A = Apply (การปรับใช้) คือคำถามเพื่อการปรับใช้ในการเผชิญสถานการณ์
ต่างๆ ในอนาคต ตัวอย่างคำถาม (มักเริ่มด้วย ในอนาคต....)
- ในอนาคตหากเกิดสถานการณ์เเบบนี้ จะทำอย่างไรให้เราไม่รู้สึกเเย่
- ในอนาคตหากทะเลาะกับเพื่อน มีวิธีรับมืออย่างไรที่ไม่ทำให้เสียเพื่อน
- ในอนาคตจะทำอย่างไรให้ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๑.๔ การนำนวัตกรรมสู่การปฏิบัติ
การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทักษะที่ครบพร้อมในโลกศตวรรษที่ ๒๑ เป็นการออกแบบ
การจัดการเรียนรู้ในลักษณะการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรม (Active) บูรณาการทักษะชีวิตเข้ากับกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษปีที่ ๑ ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ในครั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญในการนำมาพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เปิดเผยตนเองผ่านการตอบคำถามหรือกิจกรรมที่สะท้อนความรู้สึกหรือมุมมองของตนเอง ได้คิดเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ได้นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ส่งผลให้ผู้เรียนได้สะสมประสบการณ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จนผู้เรียนได้แสดงออกอย่างมีเหตุผลและยั่งยืน ตลอดจนมีการนำความรู้ที่ตนได้ศึกษาค้นคว้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนได้เติมเต็มความรู้ซึ่งกันและกัน สร้างทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการประเมินผลที่มีคุณภาพตามสภาพจริง
แนวการนำนวัตกรรมสู่การปฏิบัติของครูผู้พัฒนาคือการนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ประเมินผลการใช้กิจกรรม ปรับปรุงสื่อการสอน อุปกรณ์ และกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนตามช่วงวัยและความสามารถที่แตกต่างของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม และนำนวัตกรรมที่ปรับปรุงแล้วมาใช้ซ้ำเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับผู้เรียนตามบริบทของโรงเรียนให้มากที่สุด และเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล กิจกรรมจึงมีสื่ออุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อทางเลือกที่เหมาะสมกับผู้เรียนให้มากที่สุด และเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้ครูประเมินสรุปผลรายงานสะท้อนกลับ
โรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) มีกรอบแนวทางการบริหารโรงเรียนโดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาชาติ และพัฒนาจุดเน้นตามทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้โดยสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
๑.๕ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
๑. การจัดการเรียนรู้แบบ TALK & E Model ร่วมกับ เทคนิคการตั้งคำถาม R C A บูรณา
การทักษะชีวิตด้วยกระบวนคิดทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาตสร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) ผลที่ได้จากการใช้นวัตกรรมแล้ว พบว่า ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยรวมก่อนเรียนและคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน มีประสิทธิภาพ E๑/E๒ = ๔๑.๙๗/๘๑.๓๒ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (E๑/E๒ = ๘๐/๘๐) เนื่องจากการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้นี้ ได้ผ่านขั้นตอนในการจัดทำอย่างมีระบบ และวิธีการเขียนแผนการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม โดยศึกษาจากหลักสูตร เนื้อหา เทคนิควิธีการ จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ และได้ผ่านการตรวจสอบ แก้ไขข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญในการหาความสอดคล้องของจุดประสงค์กับเนื้อหา แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขทั้งในด้านเนื้อหา ภาษา เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และผ่านการทดลองปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้จริง
๒. คะแนนพัฒนาการ (หลังเรียน-ก่อนเรียน) ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
รายวิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การลำเลียงในพืช การแพร่ การออสโมซิส เรียน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๓๔ คะแนนพัฒนาการในการเรียนรู้ อยู่ในระดับ ปานกลาง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยทั่วไปเกณฑ์ที่ใช้กำหนดการแปลผลความกาวหน้าของผลการเรียนรู้ (หลังเรียน-ก่อนเรียน) กำหนดไว้ที่ ร้อยละ ๒๐ หรือ ๒๕ ขึ้นไป (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, ๒๕๔๙: ๗๘-๗๙) ในที่นี้ผู้สอนได้กาหนดเกณฑ์ไว้ที่ร้อยละ ๒๕ เป็นผลเนื่องมาจากกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ TALK & E Model ร่วมกับ เทคนิคการตั้งคำถาม R C A บูรณาการทักษะชีวิตด้วยกระบวนคิดทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาตสร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เป็นการส่งเสริมทักษะในการเสาะแสวงหาความรู้ เปิดโอกาสให้กับผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกโรงเรียน ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ นักเรียนสามารถจัดการปัญหาในการเรียนร่วมกับเพื่อนในกลุ่มได้ดี เรียนและสนุกไปกับกิจกรรมการสอนอย่างมีความสุข
๑.๖ สรุปผลการจัดทำนวัตกรรม
การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ TALK & E Model มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้าง
นักเรียนให้มีทักษะที่ครบพร้อมในโลกศตวรรษที่ ๒๑ เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในลักษณะการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรม (Active) ด้วยการฝึกกระบวนการแสวงหาความรู้ บนพื้นฐานการเลือกรับแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อ มีสามารถในการใช้สื่อ เทคโนโลยี ตลอดจนมีการนำความรู้ที่ตนได้ศึกษาค้นคว้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนได้เติมเต็มความรู้ซึ่งกันและกัน สร้างทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการประเมินผลที่มีคุณภาพ ตามสภาพจริง สรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ TALK & E Model
ร่วมกับ เทคนิคการตั้งคำถาม R C A บูรณาการทักษะชีวิตคิดวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาตสร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) เป็นพื้นฐานที่เชื่อมโยงกันและกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณได้เป็นอย่างดีทำให้นักเรียนสามารถสรุปและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองและเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ดียิ่งขึ้น
๑.๗ ประโยชน์ที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมต่อการจัดการเรียนรู้
๑. ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อครูผู้สอน
๑.๑ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นเป็นไปตามเป้าหมายของสถานศึกษา
๑.๒ ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านวัดผล ประเมินผล
การเรียนที่เสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ สามารถใช้ความรู้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
๑.๓ ครูผู้สอนได้พัฒนาทักษะ และนำแนวทางที่ได้ใช้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่มี
ประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหา/พัฒนาผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ ภายใต้ความเหมาะสมของผู้เรียนใน ยุคศตวรรษที่ ๒๑ รวมถึงสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติผ่านการทำกิจกรรม
๑.๔ ครูผู้สอนได้ปรับเปลี่ยนวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้การประเมินเพื่อ
การเรียนรู้ (Assessment for Learning) และประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ผสมผสานวิธีการประเมินโดยใช้เครื่องมือ ดังนี้ การทดสอบ, การสังเกตุพฤติกรรม, การประเมินจากชิ้นงาน/ผลงาน, ประเมินทักษะปฏิบัติ
๒. มีผลการเรียนรู้ที่สะท้อนพัฒนาการหลังจากการใช้นวัตกรรม และผลการแก้ปัญหา และ/
หรือ การพัฒนา มีการเผยแพร่ผลงาน/ชิ้นงาน จนเป็นที่ยอมรับหรือได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ (เป็นผลที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมที่ได้ส่งในการคัดเลือกในครั้งนี้)
ข้าพเจ้าได้พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ TALK & E Model ร่วมกับ เทคนิคการตั้งคำถาม R C A บูรณาการทักษะชีวิตคิดวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาตสร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) มาใช้อย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้จริง ดังนั้นจะเห็นได้จากผลการผลการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนก่อนและหลังใช้นวัตกรรม นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ มีความสุขในการเรียน เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น สามารถทำงานเป็นทีมได้เหมาะสม มีคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐ นักเรียนได้รับการยอมรับและมีเกียรติบัตรรับรองหลังการจัดการเรียนรู้