1.ความเป็นมาและความสำคัญ
ผู้จัดทำเป็นครูผู้สอน วิชา แนะแนว ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนนั้นยังไม่สามารถระบุได้ว่า ตนเองนั้นมีลักษณะบุคลิกภาพ ความชอบ ความถนัดอะไรบ้าง ทำให้ไม่สามารถเลือกอาชีพที่ตนเองนั้นอยากจะประกอบอาชีพได้ อีกทั้งยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นทำให้เกิดอาชีพใหม่ขึ้นมากมาย และนักเรียนนั้นยังขาดความรู้เกี่ยวกับอาชีพ ว่าสนองความต้องการของตนหรือไม่ ตนจะได้อะไรจากการประกอบอาชีพนั้น และตนจะให้อะไรแก่อาชีพนั้นบ้าง ผู้จัดทำจึงได้จัดทำสื่อการสอนนี้ขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนนั้นได้เรียนรู้อาชีพที่หลากลายว่า มีลักษณะเป็นอย่างไร สอดคล้องกับบุคลิกภาพอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ทราบถึงอาชีพที่สนใจหรือต้องการจะประกอบอาชีพ โดยการเรียนเรียนรู้ผ่านการเล่นเกม
ดังนั้นแล้วผู้จัดทำจึงได้สนใจที่จะนำการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game-based Learning) มาใช้ในการออกแบบสื่อการสอนนี้เพื่อให้นักเรียนนั้นได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะของชีพต่าง ๆ และบุคลิกภาพที่สอดคล้องกับอาชีพนั้น ๆ ผ่านการเล่นการ์ดเกม
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน
2.1 การกำหนดวัตถุประสงค์
- นักเรียนบอกอาชีพที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตนเองได้
- นักเรียนสามารถบอกลักษณะของบุคลิกภาพและอาชีพที่เกี่ยวข้องได้
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอน
2.2 การกำหนดเป้าหมายของผลงาน
เป้าหมายเชิงปริมาณ - นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 39 คน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ - นักเรียนร้อยละ 80 สามารถบอกอาชีพที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตนเองได้
- นักเรียนร้อยละ 80 สามารถบอกลักษณะของบุคลิกภาพและอาชีพที่เกี่ยวข้องได้
- นักเรียนมีร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อสื่อการสอน
3.แนวทางการจัดกิจกรรม
- ผู้จัดทำกล่าวถึงที่มาของทฤษฎีการเลือกอาชีพ ของ John L. Holland เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องของการเลือกอาชีพให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพ และอธิบายว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร พร้อมทั้งยกตัวอย่างอาชีพ
- นักเรียนทำ แบบวัดบุคลิกภาพ Holland Code (RIASEC) ซึ่งแบบทดสอบบุคลิกภาพนี้แบ่งอาชีพต่าง ๆ ตามบุคลิกภาพและความสนใจออกเป็น 6 กลุ่ม
- นักเรียนเล่นเกมการ์ด UNO อาชีพสไตล์ Holland Code (RIASEC) แต่ละคนได้รับการ์ดคนละ 5 ใบ เริ่มเล่นจากคนที่อยู่ทางขวาของคนแจก โดยจะผลัดกันวางการ์ดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหมด ซึ่งการ์ดที่จะลงได้นั้นต้องมีสีเดียวกันหรือมีลักษณะบุคลิกภาพตรงกัน ก่อนที่จะลงการ์ดนั้นนักเรียนต้องบอกว่าเป็นการ์ดอาชีพอะไร มีลักษณะอาชีพเป็นอย่างไร ตรงกับบุคลิกภาพประเภทไหน
- เมื่อใครเหลือการ์ดใบสุดท้ายให้พูดว่า Uno จากนั้นเมื่อถึงคิวต่อไปที่ได้ลงการ์ดจนหมดจะถือเป็นผู้ชนะ
4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์ / ผลสัมฤทธิ์ของงาน
เป้าหมายเชิงปริมาณ - นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 39 คน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ - นักเรียนร้อยละ 80 สามารถบอกอาชีพที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตนเองได้
- นักเรียนร้อยละ 80 สามารถบอกลักษณะของบุคลิกภาพและอาชีพที่เกี่ยวข้องได้
- นักเรียนมีร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อสื่อการสอน
4.3 ประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อการสอน
- นักเรียนได้ความรู้ความเข้าใจ เรื่องการประกอบอาชีพ โดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำไปประกอบการพิจารณาวางแผนและตัดสินใจเลือกอาชีพ/เลือกศึกษาต่อได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตรงตามความรู้ความสามารถความสนใจ บุคลิกภาพและความถนัดของตนเอง
- นักเรียนได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ระหว่างการเรียน ช่วยให้ผ่อนคลายจากรายวิชาหลักได้
5. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
บุคลิกภาพได้รับจากการทำกิจกรรมเป็นการช่วยลดทอนตัวเลือกอาชีพให้น้อยลง ซึ่งดูจากความเป็นไปได้ว่านักเรียนเหมาะสมกับอาชีพไหนจากบุคลิกภาพา ซึ่งไม่ได้หมายความว่า นักเรียนจะไม่สามารถทำงานในสายอื่นได้และในปัจจุบันอาชีพมากมายที่ผสมผสานบุคลิกภาพในแต่ละกลุ่มรูปแบบเอาไว้ (เช่น นักดนตรีบำบัด อาจมีบุคลิกภาพทั้งด้าน Artistic และ Social หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนั้น สามารถใช้เป็นแนวทาง แต่ไม่ใช่ตัวกำหนดเส้นทางชีวิต เพราะ คนที่กำหนด คือ ตัวนักเรียนที่สามารถพัฒนาได้เสมอ